เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’

13 มี.ค. 2564 | 10:30 น.

เอาใจไปเลย! รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’ : คอลัมน์ทางออกนอกตำรา ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3661 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 14-17 มี.ค.2564 โดย... บากบั่น บุญเลิศ

 

ในระยะ 1 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมา 2 ระลอก

ระลอกแรก เป็นการประกาศของธานาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องหลักเกณฑ์ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ เพื่อช่วยลดภาระหนี้ สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน และลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 โดยกำหนดแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทยใน 3 เรื่อง ดังนี้...

เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’

1.การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นที่ผิดนัดจริง เท่านั้น

หลักเกณฑ์นี้ ธปท.จะไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระมาคิดรวมกันแล้วชาร์จจากลูกหนี้ แนวทางนี้ต่างจากแนวปฏิบัติจากของเดิมที่หากใครผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว ธนาคารเจ้าหนี้สามารถให้ผู้บริการทางการเงินหรือเจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ทำให้ให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินไป

เกณฑ์ใหม่นี้ จะทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากลูกหนี้ไม่สูงมากนัก สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากยิ่งขึ้น

เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’

2. ให้คิดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกขึ้นมาได้ไม่เกิน 3% จากเดิมที่มีการกำหนดชนเพดาน 15-18%

ผลที่ตามมาทำให้ลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้และผิดนัดถูกชาร์จดอกเบี้ยลดลง กล่าวคือ หากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ธนาคารผู้ให้บริการทางการเงินหรือเจ้าหนี้จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% โดยจะต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ผ่านมาด้วย

หลักเกณฑ์นี้ ต่างจากเดิมที่ธนาคารหรือเจ้าหนี้สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง เช่น กำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูดสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ 15% บางกรณีสูงถึง 18-22% ทำให้ภาระตกไปเป็นของลูกหนี้โดยทันที จนลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (affordability risk)

การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระหนี้พร้อมกบลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และในระยะยาวยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้น ส่งผลให้การฟ้องร้องจะลดลงในที่สุด

เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’

3. ให้ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรกก่อน ไม่ใช่นำมาตัดเฉพาะดอกเบี้ยที่ค้างชำระ โดยไม่นำมาตัดเงินต้น

หลักเกณฑ์นี้จะช่วยให้ลูกหนี้รับรู้ถึงลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน

กล่าวคือ เดิมนั้นเมื่อลูกหนี้จ่ายเงินเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมด ก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้น โดยไม่ได้สนใจเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน จนสุดลูกหนี้กลายเป็นหนี้เสียหันเต็มไปหมด เพราะดอกเบี้ยทบกันจนท่วมหัว

การปรับเกณฑ์แบบใหม่ จึงช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น ช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ ช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่อง

มาตรการทั้งหมดนั้นจะเริ่มใช้กันอย่างจริงจังในปีนี้ โดยการประกาศกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564

เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’

ขณะที่หลักเกณฑ์เรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เพราะธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานทั้งหมด

มาถึงวันที่ 9 มีนาคม 2564 คณะรัฐมนตรี “รัฐบาลลุงตู่” ก็สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการคิดดอกเบี้ยอีกระลอก เมื่อมีมติเห็นชอบให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ให้ปรับแก้การคิดอกเบี้ยผิดนัดชำระที่กำหนดไว้ 75%ต่อปี ที่ใช้บังคับมาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ.2468 ซึ่งถ้านับถึงปัจจุบันถือว่าใช้มานานถึง 96 ปี

มติครม.ครั้งประวัติศาสตร์นี้ มุ่งเน้นแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใน 3-4 เรื่องดังนี้

1.การคิดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้ก่อนหรือไม่ได้มีกฎหมายกำหนด ให้ปรับลดจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และให้กระทรวงการคลังทบทวน ทุก 3 ปี ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ

2.การอัตราดอกเบี้ยผิดนัด ปรับลดจากร้อยละ 7.5 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี

3.กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ใหม่ให้ล้อไปกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติ กล่าวคือเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดได้ เฉพาะจากเงินต้นของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น จากเดิมที่มาตรา 224/1 ไม่ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ค้างอยู่ทั้งหมด

ชัดเจนว่า มาตรการแก้ไขในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทั้ง 2 ระลอก ของรัฐบาลลุงตู่ช่วยลูกหนี้ได้มโหฬาร

เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’

ผมไปดูร่างกฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแล้ว เขาระบุดังนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ....

1. แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง โดยปรับจาก อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เป็น อัตราร้อยละสามต่อปี โดยอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

2. แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยผิดนัด โดยปรับจาก อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เป็น “อัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี” (เท่ากับอัตราร้อยละ 5 ต่อปี)

3. กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในหนี้ที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเป็นงวด โดยกำหนดให้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด เจ้าหนี้อาจคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น

4. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่จะมีผลให้ข้อตกลงที่กำหนดให้เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ค้างชำระทั้งหมดตกเป็นโมฆะทันที ที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

เจ๋งใช้มั้ยครับ ช่วยกันตามเชียร์ ช่วยกันตามไปที่การประชุมรัฐสภาเพื่อให้มีการเร่งทำคลอดกฎหมายฉบับนี้กันเถอะพี่น้องไทย!

เอาใจไปเลย รัฐบาลลุงตู่ ปฏิวัติ ‘การคิดดอกเบี้ย’