"เราเที่ยวด้วยกัน" เดือด "สภาพัฒน์" จัดหนัก ไม่ไว้ใจ ททท.สกัดโกง

09 มี.ค. 2564 | 11:27 น.

เปิดสาเหตุครม.ตีตก โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน เฟส3" ดุเดือด "สภาพัฒน์" จัดหนัก ไม่ไว้ใจ ททท.สกัดโกง

รายงานข่าวจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ครม.ตีกลับ โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน เฟส3" ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กลับไปจัดทำรายละเอียดใหม่อีกครั้ง โดยหนึ่งในเหตุผลที่ตีตกนั้นเพราะปัญหาทุจริตในโครงการเราเที่ยวด้วยกันก่อนหน้านี้

วาระนี้เป็นวาระที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะที่เลขาธิการสศช.เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ฯ นำเสนอต่อครม. ซึ่งเป็นโครงการที่ททท. และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เสนอเข้ามาให้พิจารณา 

โดยก่อนหน้านี้ที่จะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมครม.นั้น นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทำหนังสือถึง นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสศช. เรื่อง รายงานผลสรุปโครงการกําลังใจ และการปรับปรุงรายละเอียดโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ในเอกสารมีการระบุถึงแนวทางป้องกันการกระทําอันอาจก่อให้เกิดการทุจริตในโครงการเราเที่ยวด้วยกันว่า

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. ได้จัดประชุมหารือแนวทางปรับปรุงเงื่อนไขโครงการ เราเที่ยวด้วยกันร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) สมาคมโรงแรมไทย Online Travel Agency (OTA) และสายการบินต่าง ๆ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางมาตรการป้องกัน การฉวยโอกาสที่จะก่อให้เกิดการทุจริต และทําให้กระบวนการทํางานรัดกุม โปร่งใสมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยในที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้ 

1.เพื่อป้องกันการใช้สิทธิห้องพักเกินจํานวนห้องพักจริง จึงให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สนับสนุนเรื่องระบบที่แสดงจํานวนห้องพักของแต่ละโรงแรมที่พัก หากมีการจองเกินจํานวนห้องพัก ที่แจ้งไว้ ระบบสามารถบล็อกการจอง (Booking) ได้ โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคม โรงแรมไทย สทท. สทน. สนับสนุนข้อมูลจํานวนห้องพักของโรงแรม เพื่อใช้ประโยชน์ในการดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ ททท. จะดําเนินการสํารวจข้อมูลความถูกต้องของจํานวนห้องพักตามที่โรงแรมที่พักได้แจ้งไว้ โดยมอบหมายให้ ททท. สํานักงานสาขาในประเทศเป็นผู้ดําเนินการ 

2.เพื่อป้องกันการขึ้นราคาห้องพักเกินจริง จึงเห็นควรให้มีการระบุใน consent ให้ชัดเจนว่า หากโรงแรมที่พักเจตนาขึ้นราคาห้องพักเกินจริง สามารถเอาผิด เรียกเงินคืนและระงับการจ่ายเงินได้ และหากมีการกระทําผิดเงื่อนไขของโครงการฯ ต้องได้รับโทษไปจนถึงการตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมทุกโครงการของรัฐบาล 

นอกจากนั้นแล้ว ททท. จะมอบหมายให้ ททท. สํานักงานสาขาในประเทศสํารวจเรื่อง Rate Plan ราคาห้องพัก ของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสําหรับการอ้างอิง และขอความร่วมมือจาก OTA ต่าง ๆ ในการสนับสนุนข้อมูลราคา Rate Plan ย้อนหลังเพื่อใช้ประโยชน์ในการดําเนินการควบคุมต่อไป 

3.เพื่อป้องกันการใช้บัตรประชาชนผู้อื่นสวมสิทธิ์ จึงจะให้มีระบบสแกนใบหน้าของผู้ใช้สิทธิ ในการเช็คอินเข้าที่พัก และการใช้ e-voucher ส่วนการยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารกรุงไทยเป็นทางเลือก ของผู้ใช้สิทธิ์ 

นอกจากนี้ รมว.ท่องเที่ยว ยังขอสศช.ปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ โดยขอขยายจํานวนสิทธิ และขยายระยะเวลาการดําเนิน โครงการฯ ดังนี้ 

ขณะนี้สิทธิโครงการฯ จํานวน 5 ล้านสิทธิ ได้มีการลงทะเบียนครบแล้ว แต่เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในระลอกใหม่ ทําให้อัตราการเดินทาง ท่องเที่ยวในช่วงปลายปี  2562 ถึงต้นปี 2564 ชะลอตัวลง ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหยุดชะงักลง ผู้ประกอบการธุรกิจการบิน มีการปรับลดจํานวนเที่ยวบิน บางธุรกิจต้องปิดกิจการถาวร 

ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นการเดินทาง หลังการคลายล็อกดาวน์ และส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมทั้งกระตุ้นการใช้จ่าย ในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จึงขอขยายจํานวนสิทธิเพิ่มอีก 2 ล้านสิทธิ และขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดําเนินโครงการเป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2564  และเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยใช้จ่ายจากวงเงินงบประมาณเดิม 

จากนั้น ฝ่ายเลขานุการฯของคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ นำข้อเสนอของ รมว.ท่องเที่ยวไปพิจารณา มีความเห็นต่อข้อเสนอแนวทางการป้องกันการทุจริตตามที่เสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวว่า "ยังขาดความชัดเจนในทางปฏิบัติ" พร้อมกับยกตัวอย่าง ถึงวิธีการที่ ททท. จะเปรียบเทียบข้อมูลการใช้สิทธิ์จํานวนและราคา ห้องพักจริงกับข้อมูล Rate Plan จํานวนและราคาห้องพักของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการที่ ททท. จะดําเนินการสํารวจข้อมูลเพิ่ม

ทั้งนี้ การเปรียบเทียบราคาห้องพักควรใช้ราคาปี 2562 ในช่วงเวลา เดียวกันเป็นเกณฑ์ เพื่อใช้กําหนดเป็นเพดานของระดับราคาห้องพัก ความพร้อมของธนาคารผู้ให้บริการ ทั้งในส่วนของแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะสามารถรองรับเงื่อนไขการสแกนใบหน้า รวมถึง การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้งานและผู้ประกอบการได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าว 

พร้อมกันนี้ ในอนุกรรมการฯ ได้มีกรรมการให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบการทุจริตโครงการฯ ว่า จากการสืบสวนของทางเจ้าหน้าที่ตํารวจพบว่า การทุจริตภายใต้โครงการฯ ที่มีมูลค่าความเสียหายสูง มีสาเหตุ ทุจริตประการหนึ่งมาจากการจองโรงแรมที่พักราคาถูก (คืนละ 200-300บาท) เพื่อที่จะให้ได้ E-Voucher (มูลค่า 600 หรือ 900บาท) ไปใช้กับร้านค้าที่ร่วมทุจริต 

"ดังนั้น ข้อเสนอที่เสนอให้ลดจํานวนเงินสนับสนุน จะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้มีการจองห้องพักในราคาต่ํามากขึ้น ถึงแม้จะปรับลดมูลค่า E-Voucher ที่ ได้รับจาก 600 หรือ 900 บาท เป็น 500 บาท ก็อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาทุจริตที่เกิดขึ้นได้ 

ซึ่งคณะกรรมการฯได้อภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นแนวทางการป้องกัน การทุจริตที่ ททท. กําหนดให้มีระบบสแกนใบหน้าของผู้ใช้สิทธิ์ในการเช็คอินเข้าที่พักและการใช้ E-Voucher รวมถึงให้ผู้ใช้สิทธิ์ต้องยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารกรุงไทยนั้น จําเป็นต้องพิจารณาใน ประเด็นความพร้อมของระบบและธนาคารกรุงไทยด้วย นอกจากนี้ การดําเนินการต่าง ๆ ตามข้อเสนอของ ททท. อาจจะทําให้การใช้สิทธิ์ภายใต้โครงการฯ มีความยุ่งยากและซับซ้อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่อาจจะยังไม่ สามารถลดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของโครงการฯ ไปในทางที่มิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

จากนั้นคณะกรรมการฯของ พิจารณาแล้ว มีความเห็นร่วมกัน ดังนี้

1. โครงการฯ มีส่วนช่วยสนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวและการใช้ จ่ายภายในประเทศ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่เนื่องจากการดําเนินโครงการฯ ที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับ การทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐจํานวนมาก ในขณะที่แนวทางการป้องกัน การทุจริตตามข้อเสนอของ ททท. ยังไม่สามารถทําให้เกิดความมั่นใจได้ว่าจะช่วยป้องกันการทุจริตที่จะ เกิดขึ้นในโครงการฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังจะทําให้การใช้สิทธิ์ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความซับซ้อนและยุ่งยากเพิ่มขึ้น 

2. คณะกรรมการฯ เห็นว่าปัญหาการทุจริตที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจ จากการนําเงินที่รัฐสนับสนุนในส่วน E-Voucher ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่ปัจจุบันรัฐบาล ได้ให้ความช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนโดยการให้เงินสนับสนุนที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับ การให้สิทธิ์ E-Voucher ของโครงการฯ ผ่านโครงการเราชนะ และโครงการ ม33 เรารักกัน รวมประมาณ 40 ล้านราย หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของจํานวนประชากรในประเทศแล้ว 

ดังนั้น จึงเห็นว่าในกรณีที่คณะรัฐมนตรี เห็นควรให้ ททท. ดําเนินโครงการฯ โดยขยายจํานวนการใช้สิทธิ์โครงการฯ เพิ่มเติมอีก 2 ล้านสิทธิ์ อาจจะ พิจารณาไม่สนับสนุนในส่วน E-Voucher หรือกําหนดมูลค่า E-Voucher ให้มีความเชื่อมโยงกับมูลค่าห้องพัก อาทิ ร้อยละ 40 ของราคาห้องพัก รวมทั้ง ททท. จําเป็นต้องพิจารณากําหนดแนวทางการป้องกันการทุจริต ที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และในกรณีที่จําเป็นต้องมีการ พัฒนาระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบสแกนใบหน้า จําเป็นต้องหารือและเตรียมความพร้อมกับธนาคารกรุงไทย ให้ชัดเจนทั้งในส่วนของกรอบระยะเวลาและแผนผังแสดงวิธีการใช้สิทธิ์โครงการ (Customer flowchart) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่จะใช้สิทธิ์โครงการฯ ให้มีความเข้าใจและป้องกันความสับสน 

3.ในกรณีที่ ททท. เห็นว่าไม่สามารถดําเนินการป้องกันการทุจริตของ โครงการฯ ได้ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ ททท. ดําเนินโครงการฯ เฉพาะในส่วนการเลื่อน การใช้สิทธิ์ที่พักและค่าโดยสารสําหรับผู้ที่ได้สิทธิ์โครงการฯ แล้ว ภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 และเร่ง ดําเนินคดีกับผู้ที่กระทําการทุจริตอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งพิจารณาจัดทําข้อเสนอโครงการที่จะสามารถช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสจากโครงการ ของภาครัฐในทางที่มิชอบได้ 

ทั้งนี้ การจัดทําข้อเสนอโครงการดังกล่าวควรกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับ ประโยชน์จากโครงการที่ชัดเจนและครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจในภาคท่องเที่ยวทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Synergy) และมีรูปแบบการดําเนินโครงการที่เรียบง่าย (Simplify) แต่จะต้องสามารถตรวจสอบและยืนยันการใช้สิทธิ์ ได้และการใช้สิทธิ์ของประชาชนก็จะต้องไม่ซับซ้อนและยุ่งยาก รวมถึงต้องกําหนดให้มีแนวทางและมาตรการ การตรวจสอบและป้องกันการทุจริตที่รัดกุมและสามารถปฏิบัติได้จริง รวมถึงในกรณีที่ ททท. มีข้อเสนอ โครงการมากกว่า ๑ โครงการ ก็ควรที่จะเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาในคราวเดียวกัน (Synchronize) 

4.นอกจากนี้ ในการดําเนินโครงการฯ ในระยะต่อไปทั้งในส่วนของ การขยายสิทธิ์และการดําเนินโครงการตามข้อเสนอโครงการใหม่ (ถ้ามี) เห็นควรให้ ททท. เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียว โดยไม่จําเป็นต้องให้ สศค. เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายแทนกัน รวมถึงให้กระทรวงการท่องเที่ยวเป็นผู้กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินตามโครงการฯ เพื่อให้การดําเนิน โครงการฯ มีความคล่องตัว
 

"มติคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้ว มีมติเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า เนื่องจากการดําเนินโครงการฯ ที่ผ่านมาได้ประสบ ปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตจากประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อภาครัฐ และขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนและดําเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่แนวทางการป้องกันการทุจริตตามข้อเสนอของ ททท. ยังไม่สามารถทําให้เกิดความมั่นใจได้ว่า จะช่วยป้องกันการทุจริตที่จะเกิดขึ้นในโครงการฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังจะทําให้การใช้สิทธิ์ ของโครงการฯ มีความซับซ้อนและยุ่งยากเพิ่มขึ้น"

ดังนั้น คณะกรรมการฯ เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณามอบหมายให้ ททท. ปรับปรุงหรือทบทวนโครงการฯ ดังนี้ 

1. ยกเลิกเงินสนับสนุนจากภาครัฐในส่วน e-Voucher หรือกําหนดมูลค่า E-Voucher ให้มีความเชื่อมโยงกับมูลค่าห้องพัก อาทิ ร้อยละ 40 ของราคาห้องพัก 

2. กําหนดแนวทางการป้องกันการทุจริตที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะ สามารถดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในกรณีที่จําเป็นต้องมีการพัฒนาระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบ สแกนใบหน้า จําเป็นต้องหารือและเตรียมความพร้อมกับธนาคารกรุงไทยให้ชัดเจนทั้งในส่วนของกรอบ ระยะเวลาและแผนผังแสดงวิธีการใช้สิทธิ์โครงการ (Customer flowchart) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ ให้กับประชาชนที่จะใช้สิทธิ์โครงการฯ ให้มีความเข้าใจและป้องกันความสับสน 

3. ยกเลิกเงื่อนไขที่มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสํานักงาน เศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินตามโครงการฯ และดําเนินการเบิกจ่ายเงินโดยวิธีเบิกจ่ายแทนกัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อให้การดําเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีเอกภาพ และช่วยให้ ททท. มีความคล่องตัวในการดําเนิน โครงการฯ เพิ่มขึ้น 

คณะกรรมการฯ ยังเสนอทางออกให้ครม.พิจารณาด้วยว่า  ในกรณีที่ ททท. ทบทวนโครงการฯ แล้วเห็นว่าอาจจะไม่สามารถดําเนินการ ป้องกันการทุจริตของโครงการฯ ได้ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ ททท. ดําเนินโครงการฯ เฉพาะในส่วนการเลื่อนการใช้สิทธิ์ที่พักและค่าโดยสารสําหรับผู้ที่ได้สิทธิ์โครงการฯ แล้วภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 และเร่งดําเนินคดีกับผู้ที่กระทําการทุจริตอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งพิจารณาจัดทํา ข้อเสนอโครงการที่จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกัน ไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสจากโครงการในทางที่มิชอบได้ 

ทั้งนี้ การจัดทําข้อเสนอโครงการดังกล่าว ควรกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการที่ชัดเจนและครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจใน ภาคท่องเที่ยวทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Synergy) และมีรูปแบบดําเนินโครงการที่เรียบง่าย (Simplify) โดย จะต้องสามารถตรวจสอบและยืนยันการใช้สิทธิ์ได้และการใช้สิทธิ์มีความไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก และต้อง กําหนดให้มีแนวทางและมาตรการการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตที่รัดกุมและสามารถปฏิบัติได้จริง รวมถึงในกรณีที่ ททท. มีข้อเสนอโครงการมากกว่า 1 โครงการ ก็ควรที่จะเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาในคราวเดียวกัน (Synchronize) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :