ชัยชนะรอบด้านของจีน ในการต่อสู้กับความยากจน (จบ)

04 มี.ค. 2564 | 11:10 น.

“สี จิ้นผิง”ชี้ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ประเทศจีนได้รับชัยชนะอย่างรอบด้านในการต่อสู้กับความยากจน

พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมระหว่างประเทศกล่าวถึงชัยชนะโดยรวมของจีนในการต่อสู้กับความยากจน (ตอนที่ ๒ - จบ) จากการที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมาธิการการทหารกลางของจีน กล่าวอย่างจริงจังในที่ประชุมสรุปการบรรเทาความยากจนแห่งชาติและการยกย่องชมเชย เมื่อวันที่ ๒๕ ก.พ.๖๔ ณ กรุงปักกิ่ง โดยเน้นว่าความพยายามร่วมกันของทั้งพรรคและประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ในช่วงเวลาสำคัญของวันครบรอบ ๑๐๐ ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ประเทศจีนได้รับชัยชนะอย่างรอบด้านในการต่อสู้กับความยากจน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 

๑. นาย Nigel Brett ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตรประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ IFAD (International Fund for Agricultural Development) กล่าวว่า การขจัดความยากจนโดยสมบูรณ์ของจีน ถือเป็นความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ และไม่มีประเทศใดในโลกที่สามารถทำได้เร็วขนาดนี้ โดยนาย Nigel Brett ได้ทำการศึกษาข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับประสบการณ์งานขจัดความยากจนในประเทศจีน โดยเห็นว่า ความสำเร็จในการขจัดความยากจนของจีน เป็นผลมาจากการรวมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่  

     ๑.๑ การยึดถือเกษตรกรและพื้นที่ชนบทเป็นศูนย์กลางของการกำหนดนโยบาย เพื่อบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนอย่างตรงจุดแม่นยำ  

     ๑.๒ การเน้นระบบการจัดการและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการขจัดความยากจน  

๑.๓ การลงทุนขนาดใหญ่ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทางหลวงในชนบท  ระบบชลประทานและเครือข่ายโทรคมนาคม เป็นต้น ได้เชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับตลาดอย่างใกล้ชิด 

 

๒. ผู้คนจากนานาประเทศ ต่างเชื่อว่าตัวอย่างความสำเร็จของจีนเกี่ยวกับการกำกับดูแลการลดความยากจนมีความสำคัญในการอ้างอิงสำหรับประเทศที่ประสบปัญหาความยากจนเช่นกัน อาทิ นาย Calvins Adhill นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเคนยา เห็นว่า ความสำเร็จในการบรรเทาความยากจนของจีนได้ปลดปล่อยทรัพยากรจำนวนมากซึ่งสามารถลงทุนได้ในชุมชนในแอฟริกาและโลกที่ควรค่าแก่การช่วยเหลือมากกว่านี้ รวมทั้งประเทศอื่น ๆ สามารถเรียนรู้ได้มากจากประสบการณ์ของจีนเพื่อการขจัดความยากจนและการพัฒนาที่เป็นประโยชน์
 
บทสรุป นาย Nigel Brett ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ประสบการณ์การลดความยากจนของจีนมีความสำคัญมากและได้มีการแบ่งปันอย่างกว้างขวางในระดับสากล ซึ่งสำนักงานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (IFAD) จะเสริมสร้างความร่วมมือกับจีนต่อไปในอนาคต 

และหวังว่าจะเป็นการยกระดับใหม่ของความร่วมมือกับจีน ทั้งนี้ จีนได้เข้าร่วมในกองทุนพัฒนาการเกษตรระหว่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ โดยองค์กรนี้เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งแรกที่ให้เงินกู้พิเศษและดอกเบี้ยต่ำแก่การพัฒนาการเกษตรของจีนในช่วงเวลานั้น 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :