รู้หรือยัง? ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ บนหนังสือรับรอง-สำเนานิติฯ มีผลทางกม.

26 ก.พ. 2564 | 05:14 น.

“พาณิชย์”ยืนยันลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ของนายทะเบียนบนหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล มีผลทางกฎหมาย ผู้ประกอบการมั่นใจได้เอกสารมีความถูกต้อง  เตรียมขยายใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์บนหนังสือรับรองในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อความสะดวก ลดการเดินทาง

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ ยืนยันว่าบริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล (DBD e-Service) โดยการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของนายทะเบียน ที่เปิดให้บริการในทุกช่องทางการบริการทดแทนการลงลายมือชื่อด้วยหมึกปากกาของนายทะเบียนมาตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.2564 โดยเริ่มนำร่องที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขต ในกรุงเทพมหานคร สามารถนำไปใช้ได้จริง มีผลทางกฎหมาย ตามมาตรา 9 และมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 เช่นเดียวกับลายมือชื่อบนกระดาษที่ใช้กันโดยทั่วไป ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชนที่มาขอไปใช้มั่นใจได้ว่าเอกสารมีความถูกต้องและตรวจสอบได้

รู้หรือยัง? ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์  บนหนังสือรับรอง-สำเนานิติฯ มีผลทางกม.
         
ทั้งนี้ การขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ที่ขอผ่านทางระบบ BDB e-Service สามารถขอรับเอกสารได้ 4 ช่องทาง คือ 1.รับด้วยตนเอง 2.รับที่ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ 3.รับทางไปรษณีย์ EMS และ 4.รับเป็นไฟล์เอกสาร (e-Certificate File) และกำลังจะเปิดให้บริการจัดส่งเอกสารแบบเดลิเวอรี่ หลังจากที่ปิดให้บริการไปช่วงโควิด-19 โดยผู้ขอใช้บริการจะมีค่าส่งตามระยะทาง  
         
“ตอนนี้ การขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ไม่ว่าจะขอผ่านทางออนไลน์ หรือมาขอที่กรมฯ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 แห่ง จะมีการลงลายชื่อนายทะเบียนเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งช่วยให้เกิดความรวดเร็ว ประหยัดเวลาของนายทะเบียน เพราะบางครั้ง มีคนขอทีเป็นร้อยเป็นพันแผ่น ก็เซ็นกันเหมื่อยไป โดยปีหนึ่งๆ มีการให้บริการออกหนังสือรับรองประมาณ 8 ล้านฉบับ”

ทั้งนี้ กรมฯ จะขยายการให้บริการด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนายทะเบียนขยายไปสู่ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะเร่งดำเนินการให้สำนักงานพาณิชย์ทั่วประเทศสามารถให้บริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล โดยใช้ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งกำหนดไว้ 2 ระยะ คือ ระยะแรกประมาณกลางปี 2564 จะให้บริการ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดในเขตปริมณฑล โดยจะทำการประเมินผล วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้การใช้งานมีความสมบูรณ์มากที่สุด หลังจากนั้น ระยะที่ 2 จะเปิดให้บริการ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะได้มีการประเมินผลเป็นระยะ
         
“ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชน ที่ต้องการขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ผ่านช่องทางออนไลน์ DBD e-Service เพื่อความสะดวกในการใช้บริการ ไม่ต้องเดินทางมาที่กรมฯ หรือสำนักงานเขต หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และยังช่วยรักษาระยะห่างทางสังคม ลดจำนวนผู้ใช้บริการที่ต้องเดินทางออกจากสถานที่ทำงานหรือที่พักเพื่อมารับบริการยังส่วนให้บริการ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคโควิด-19 โดยเอกสารที่ได้ แม้จะเป็นการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของนายทะเบียน แต่ก็มีความปลอดภัย ตรวจสอบได้ และมีผลทางกฎหมาย”นายทศพลกล่าว

“ตอนนี้ การขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ไม่ว่าจะขอผ่านทางออนไลน์ หรือมาขอที่กรมฯ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 แห่ง จะมีการลงลายชื่อนายทะเบียนเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งช่วยให้เกิดความรวดเร็ว ประหยัดเวลาของนายทะเบียน เพราะบางครั้ง มีคนขอทีเป็นร้อยเป็นพันแผ่น ก็เซ็นกันเหมื่อยไป โดยปีหนึ่งๆ มีการให้บริการออกหนังสือรับรองประมาณ 8 ล้านฉบับ”

ทั้งนี้ กรมฯ จะขยายการให้บริการด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนายทะเบียนขยายไปสู่ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะเร่งดำเนินการให้สำนักงานพาณิชย์ทั่วประเทศสามารถให้บริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล โดยใช้ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งกำหนดไว้ 2 ระยะ คือ ระยะแรกประมาณกลางปี 2564 จะให้บริการ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดในเขตปริมณฑล โดยจะทำการประเมินผล วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้การใช้งานมีความสมบูรณ์มากที่สุด หลังจากนั้น ระยะที่ 2 จะเปิดให้บริการ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะได้มีการประเมินผลเป็นระยะ
         

“ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชน ที่ต้องการขอหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ผ่านช่องทางออนไลน์ DBD e-Service เพื่อความสะดวกในการใช้บริการ ไม่ต้องเดินทางมาที่กรมฯ หรือสำนักงานเขต หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และยังช่วยรักษาระยะห่างทางสังคม ลดจำนวนผู้ใช้บริการที่ต้องเดินทางออกจากสถานที่ทำงานหรือที่พักเพื่อมารับบริการยังส่วนให้บริการ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคโควิด-19 โดยเอกสารที่ได้ แม้จะเป็นการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของนายทะเบียน แต่ก็มีความปลอดภัย ตรวจสอบได้ และมีผลทางกฎหมาย”นายทศพลกล่าว