MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

18 ก.พ. 2564 | 11:00 น.

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟจากทุกโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ ฟื้นฟูธรรมชาติทางทะเลอย่างยั่งยืน

  วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2564) นายจุมภฎ หิมะเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยความคืบหน้าการปักเสาไฟฟ้าในทะเลเพื่อเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลว่า ตามที่ MEA ได้ร่วมมือกับฐานทัพเรือกรุงเทพ กองทัพเรือ ในโครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนและการทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง MEA’s Model อย่างต่อเนื่อง ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ จ.สมุทรปราการ ด้วยการนำเสาไฟฟ้าที่รื้อถอนจากโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในโครงการต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว รวมถึงเสาไฟฟ้าที่ชำรุด และยางรถยนต์เก่า นำมาทำเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ดักตะกอน เป็นระยะทางกว่า 1,700 เมตร พร้อมทั้งดำเนินการปักเสาฯ เพิ่มอีก 2 จุด ฝั่งเหนือ-ฝั่งใต้ จุดละ 250 เมตร รวมระยะทางกว่า 2,200 เมตร เพื่อปิดหัว-ท้ายของแนวปักเสาฯ เดิมนั้น ล่าสุดได้ดำเนินการปักเสาฯ ฝั่งเหนือเสร็จเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการปักเสาฯ ฝั่งใต้ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 

 

MEA ยังคงเดินหน้าดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่องในพื้นที่รับผิดชอบ และพร้อมส่งมอบเสาไฟฟ้าในทุกโครงการเพื่อนำมาใช้กันคลื่นกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเลให้ครอบคลุมชายฝั่งทะเลกรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน เป็นระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ต่อไป นอกจากนี้ MEA ยังได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อดำเนินการปักเสาใช้เป็นแนวป้องกันคลื่นทะเล รวมถึงสนับสนุนงบประมาณปลูกป่าชายเลนและบำรุงรักษาป่าชายเลนเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งให้แก่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ ตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี (จากการลงนามความร่วมมือระหว่าง MEA และฐานทัพเรือกรุงเทพ 4 ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ.2547-2551 พ.ศ.2552-2554 พ.ศ.2555-2557 และ พ.ศ.2561-2565) จำนวนเงิน 6,800,000 บาท รวมจำนวนเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 7,800,000 บาท อีกทั้งยังดำเนินการปรับปรุงอาคารนิทรรศการเปิดโลกป่าชายเลนและภูมิทัศน์โดยรอบให้มีสภาพสวยงาม เพื่อพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป

 

สำหรับคุณสมบัติเด่นของเสาไฟฟ้านั้น เนื่องจากเสามีลักษณะเป็นแท่งคอนกรีตที่มีความแข็งแรง อายุการใช้งานนานประมาณ 30 ปี ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเสาไม้ทั่วไปกว่า 30 เท่า อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นจากโครงสร้างลวดเหล็กภายในเสาไฟฟ้า ทำให้สามารถรับแรงดัดได้มากถึง 4.5 ตันเมตร หรือหักโค้งได้ประมาณ 7-8 เซนติเมตร ทำให้มีความแข็งแรงทนทานสามารถรองรับความรุนแรงของคลื่นทะเลที่มากระทบได้มากขึ้น และจากความร่วมมือระหว่าง MEA และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วพบว่า แนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งด้วยเสาไฟฟ้าสวมด้วยยางรถยนต์ ช่วยลดความแรงของกระแสน้ำทำให้มีปริมาณการสะสมของตะกอนหลังเขื่อนเพิ่มมากขึ้น ต้นกล้าและลูกไม้ ประเภทไม้โกงกาง รวมถึง พรรณไม้น้ำต่าง ๆ ที่อยู่หลังแนวป้องกันมีปริมาณหนาแน่นขึ้น รวมถึงมีการกลับมาของสัตว์น้ำนานาพันธุ์และนกนานาชนิด มีแนวโน้มการอยู่รอดเพิ่มขึ้น ส่วนยางรถยนต์ที่สวมอยู่กับเสาไฟฟ้าจากผลการศึกษาไม่พบการสลายตัวที่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม หรือส่งผลกระทบทางลบต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตและป่าชายเลนแต่อย่างใด ซึ่งจากผลสำเร็จการนำเสาไฟฟ้าที่รื้อถอนและไม่ใช้งานแล้วจากโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในโครงการต่าง ๆ มาปักเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ตามแนวทาง MEA’s Model นั้น ทำให้ MEA เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคหน่วยงานเดียวของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล Asia Responsible Entrepreneurship Awards 2018 ในสาขา Green Leadership ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของ MEA ได้เป็นอย่างดี

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ

MEA เดินหน้าส่งมอบเสาไฟ สร้างแนวป้องกันคลื่นชายฝั่งป้อมพระจุลฯ