ศาลรธน.รับคำร้องไว้วินิจฉัยตั้ง ส.ส.ร.ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

18 ก.พ. 2564 | 07:15 น.

ศาลรธน.รับคำร้อง “ไพบูลย์-สมชาย”ไว้วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ปมตั้ง ส.ส.ร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ สั่ง "มีชัย-บวรศักดิิ์-สมคิด-อุดม"ยื่นชี้แจงใน 3 มี.ค. นัดประชุมต่อ 4 มี.ค.64

วันนี้ (18 ก.พ.64) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า วันนี้ ศาลรัฐธรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ  กรณี ประธานรัฐสภาขอให้ศาสรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐรรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) กรณีมีปัญหาเกี่ยวก้บหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ (๑) (เรื่องพิจารณาที่ ๔/๒๕๖๔) ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสมัญประจำปีครั้งที่สอง) วันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ พิจารณาญัตติด่วนกรณีที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้เสนอให้รัฐสภาพิจารณา มีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ หน้าที่และอำนาจของรัฐภาตามรัฐรมญ มาตรา ๒ค๐ วรรคหนึ่ง (๒)

โดยผลการลงมติในญัตติดังกล่าวว่าที่ประชุมรัฐภาเสียงข้างมาก มีมติเห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามญัตติ  ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ประธานรัฐสภา (ผู้ร้อง) ส่งเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจรณาวินิฉัยตามรัฐรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่ง ๒)

 

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่ (๒) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐนตรี หรือองค์กรอิสระ ซึ่งการยื่นคำร้องต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๔๔ ประกอบมาตรา ๗ (๒) คือ ต้องเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจที่เกิดขึ้นแล้ว

และในกรณีที่ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับหน่วยงานใด ให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าในคราวประชุมของรัฐสภาเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ที่ประชุมรัฐสภาเห็ว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาและมีมติโดยเสียงข้างมากให้ส่งปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่ง (๒)

 

กรณีจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่ง (๒) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจรณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๔ ประกอบมาตรา ๗ (๒) ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้ผู้เกี่ยวข้อง คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายสมคิด ลิศไพทูรย์ และนายอุดม รัฐอมฤต ทำความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่กำหนดโดยให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในวันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ และนัดประชุมครั้งต่อไปในวันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔

                                                               +++

 

ข่าวที่เก่ยวข้อง :