ศกพ. ลงพื้นที่ อุทัยธานี ลุยแก้ปัญหา อ้อยไฟไหม้ ลดฝุ่น PM2.5

13 ก.พ. 2564 | 08:51 น.

ศกพ. ลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ติดตามการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 จากโรงงานผลิตน้ำตาล และปัญหาอ้อยไฟไหม้

 

 

 

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พร้อมด้วย นายมงคลชัย สมอุดร ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรี นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และประธานศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) 

นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดี คพ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฏิบัติตามมาตรการลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของพื้นที่เกษตร ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ที่ บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ จำกัด และเยี่ยมชมกระบวนการผลิต 

ศกพ. ลงพื้นที่ อุทัยธานี  ลุยแก้ปัญหา อ้อยไฟไหม้ ลดฝุ่น PM2.5

โดยมี นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี นางไพรินทร์ กันทะวงษ์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี ดร.ณัฐพล อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ จำกัด และกลุ่มผู้แทนชาวไร่ ให้การต้อนรับ โดยบริษัทฯ ได้มีโครงการรับซื้อใบอ้อยสดในราคา ตันละ 1,000 บาท มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ส่งผลให้ในปี 2563 มีปริมาณอ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 30% (ปี 2562 70%) และในปี 2566 มีเป้าหมายรับซื้ออ้อยสด 100% ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่สำคัญของการบริหารจัดการด้านการลดฝุ่นละออง PM2.5 และการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 

นายธีรภัทร กล่าวว่า การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบกับสุขภาพของประชาชน ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ดี หากมีการขยายผลไปยังพื้นที่เกษตรอื่นๆ ก็จะช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 

ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมกันลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ลดการเผาวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้ และนำเศษวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทดแทนการเผา

ศกพ. ลงพื้นที่ อุทัยธานี  ลุยแก้ปัญหา อ้อยไฟไหม้ ลดฝุ่น PM2.5

นายอรรถพล กล่าวว่า จากการดำเนินงานของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พบว่า ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละออง PM2.5 ในภาพรวมของประเทศดีขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสรรค์ มีค่าฝุ่นละออง PM2.5 น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองแบบบูรณาการของทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และประชาชน และได้เน้นย้ำเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ข้าวโพด และข้าวให้ช่วยกันลดการเผาในที่โล่ง เมื่อฝุ่นละออง PM2.5 น้อยลงสุขภาพของประชาชนก็จะดีขึ้นด้วย 
 

นายณรงค์ กล่าว่า จังหวัดอุทัยธานีได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเผาวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้ เช่น พื้นที่นา พื้นที่ไร่อ้อย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง PM2.5 โดยมีการติดตามข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) พบว่า จุดความร้อนของปี 2563 ลดลงร้อยละ 85 จากปีที่แล้ว

ทั้งนี้ จังหวัดอุทัยธานีได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ประกอบด้วย มาตรการทางกฎหมาย มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร และการขอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการ และโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2562-2564 นอกจากนี้มีโครงการเพิ่มมูลค่าหรือใช้ประโยชน์จากใบอ้อยที่เหลือจากการตัดอ้อยสด เพื่อเป็นการจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยลดการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวและเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยอีกทางหนึ่ง

ศกพ. ลงพื้นที่ อุทัยธานี  ลุยแก้ปัญหา อ้อยไฟไหม้ ลดฝุ่น PM2.5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านเฮ !โรงงานนัำตาลอ.พิมาย ยอมแก้ไข ฝุ่นควัน คพ.ยุติแจ้งกล่าวโทษ

อธิบดีคพ. สั่งแจ้งกล่าวโทษโรงงานน้ำตาล อ.พิมาย ปล่อยมลพิษกระทบชาวบ้าน

“ขนส่ง”ตรวจควันดำรถ117,308 คัน ห้ามใช้ 1,074 คัน

ทส.ตรวจเข้มรถแท็กซี่ขยายอายุ 9 ปีเป็น 12 ปี ไม่ผ่าน 55%

ตรวจควันดำรถบรรทุก เข้มมาตรการลดฝุ่น PM 2.5

ทส.สั่งตรวจสอบโรงงานน้ำตาล อ.พิมาย ก่อมลพิษ