โปรดระวัง...แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงสิ้นสุดลงแล้ว

13 ก.พ. 2564 | 01:25 น.

ผ่านไปแล้ว เดือนแรกของปี 2021 สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น ทั้งแนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชุดใหญ่ของรัฐบาลไบเดน การกระจายวัคซีนทั่วโลกที่คืบหน้า และการฟื้นตัวของการค้าโลก

ทาให้นักลงทุนเริ่มคาดหวังว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น จนเฟดอาจถอนมาตรการผ่อนคลาย QE และเข้าสู่วัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่เคยคาด และไทยก็จะได้อานิสงส์จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นเช่นกัน ดังนั้น เราจึงมองว่า แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงสิ้นสุดลงแล้วเช่นกัน แม้จะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ก็ตาม

เศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆ ฟื้นตัว คือ เครื่องบ่งชี้สาคัญว่า แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงของไทยอาจสิ้นสุดลงแล้ว ธปท.ก็ได้ชี้ชัดในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า การกลับมาระบาดของไวรัสรอบนี้ไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากเท่ารอบก่อน แม้การระบาดจะรุนแรงกว่า และรัฐก็ออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดด้วย

ขณะเดียวกัน ตลาดเริ่มคาดหวังว่าเงินเฟ้อไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยสูงขึ้น ที่ผ่านมา ธปท.ได้เลี่ยงการดาเนินนโยบายการเงินแบบเหวี่ยงแห และหันไปเน้นการลดภาระหนี้แบบเจาะจงกับภาคธุรกิจที่ประสบปัญหา ทำให้เราประเมินว่า ธปท. จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก แม้ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยยังสูง 

โปรดระวัง...แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงสิ้นสุดลงแล้ว

ตลาดการเงินโลกส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน นำโดยสหรัฐฯ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ สูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน พยายามผลักดันร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินสูงถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ (9% ของจีดีพี) ทาให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยืนเหนือระดับ 1.0% มาตั้งแต่ต้นปี (รูปที่ 1)

ขณะเดียวกันธนาคารกลางของหลายประเทศในเอเชียต่างก็มีแนวโน้มหยุดการลดดอกเบี้ยแล้วเช่นกัน เมื่อการส่งออกสินค้าเริ่มกลับมาขยายตัว โดยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทาให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ปรับสูงขึ้นเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม เรามองว่า ยังเร็วเกินไปที่ ธปท. จะปล่อยมือจากการพยุงเศรษฐกิจ เมื่อการระบาดของไวรัสรอบที่สองยังไม่สิ้นสุด และการกระจายวัคซีนในไทยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ยังต้องใช้เวลาอีกมาก นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและตรงจุดจึงยังมีความจาเป็น เพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจ แต่ด้วยข้อจากัดจากดอกเบี้ยของโลกเริ่มมีสัญญาณกลับทิศเป็นขาขึ้น

เราจึงมองว่า ธปท. อาจต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ ในการดำเนินนโยบายต่อจากนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การปรับลดอัตราส่วนของเงินสะสมเข้ากองทุน FIDF ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 0.23% ให้ต่าลง เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องแบกรับ และทาให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ให้เอกชนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

ขอขอบคุณ ทีมวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย สาหรับข้อมูล 

 

คอลัมน์ยังอีโคโนมิสต์

โดย : ธนธิป ตั้งเจตนาพร

สายงานธุกิจตลาดทุนธนาคาร กสิกรไทย

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,652 วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564