กระทรวงแรงงาน ไขข้อข้องใจ นายจ้างสั่งทำงานล่วงเวลา ไม่บอกกล่าว ผิดกฎหมายหรือไม่

09 ก.พ. 2564 | 10:29 น.

กระทรวงแรงงาน ห่วงลูกจ้าง ทำงานหนักก่อนวันหยุด ชี้กรณี นายจ้างสั่งทำงานล่วงเวลา ไม่บอกกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามก็ได้

นายณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์  อาจมีสินค้าบางชนิดที่ลูกค้ามีความต้องการเพิ่มมากกว่าปกติ นายจ้าง จึงมีความจำเป็นที่จะให้ลูกจ้างทำงาน ล่วงเวลาเพื่อเร่งผลิตสินค้านั้น

กรณีเช่นนี้ นายจ้างจะนำเหตุดังกล่าวให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลา หรือ จะอ้างความยินยอมของลูกจ้างในใบสมัครงาน หรือ ที่ระบุในสัญญาจ้าง ซึ่งลูกจ้างลงลายมือชื่อไว้แล้ว โดยมีคำสั่ง สั่งให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลา และ ไม่ได้ให้ลูกจ้างยินยอมอีกครั้งนั้น จะทำได้ หรือไม่

และหากลูกจ้างไม่มาทำงานจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ? คำตอบ ไม่ได้ เพราะในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้ มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพรบ. คุ้มครองแรงงานฯ  ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วง เวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ฉบับนี้

กระทรวงแรงงาน ไขข้อข้องใจ  นายจ้างสั่งทำงานล่วงเวลา ไม่บอกกล่าว ผิดกฎหมายหรือไม่

คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนหาได้ไม่ นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน นอกจากจะเข้าข้อยกเว้น ตามม.24 ว 1 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็น คราวๆ ไป หรือเข้าข้อยกเว้นเมื่อมีเหตุจำเป็น ตามม.24 ว2 

กรณีตาม ม.24 ว1 นั้น หมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์จะให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้สง โดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญ ครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว่ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้น หากนายจ้างจะออกคำสั่ง ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีก ก็ต้องให้สอดคล้องกับ ข้อตกลงดังกล่าวถ้าคำสั่งไม่สอดคล้องกับข้อตกลงต้อง ถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามก็ได้ 
 

ดังนั้น การที่นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม ขึ้นมากกว่าปกติในช่วงเทศกาลต่างๆ  ไม่ถือว่าเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าจะหยุดจะเสียหายแก่งาน เพราะสามารถวางแผนในการผลิตสิน ค้าโดยให้ลูกจ้าง ทำในเวลาทำงานปกติได้ และ มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจ คาดหมายได้ล่วงหน้าอันจะถือว่าเป็น งานฉุกเฉินที่นายจ้างจะสั่งให้ลูกจ้างมาทำงาน ล่วงเวลาได้โดยไม่ต้องได้รับความยิน ยอมจากลูกจ้าง

ทั้งจะถือเอาความยินยอมที่ทำไว้ล่วงหน้าตามใบสมัครงานหรือในสัญญาจ้างที่ลจ.ลงชื่อให้ความยินยอมไว้มาผูกพันลจ.ก็มิได้เพราะเป็นความยินยอมที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติใน ม.24 ว1,2 ฉะนั้น การที่ลูกจ้างไม่มาทำงานล่วงเวลาตามคำสั่งของนายจ้างจึงไม่ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ฏีกาที่ 5888/2530,4121/2543,2885-86/2543 และ 9015/2549