แชร์ลูกโซ่ ตำนานอาชญากล (ตอน1)

06 ก.พ. 2564 | 03:00 น.

แชร์ลูกโซ่ ตำนานอาชญากล (ตอน1) จากม้าปีกาซัส นางเมดูซ่า ถึงปาปัวนิวกินี

สามปีก่อนนี่เห็นดีเอสไอออกประกาศข่าว จับแชร์ลูกโซ่ทองคำม้าพีกาซัส 750 ล้าน แล้วก็ต้องอมยิ้มอยู่ในใจค่าที่คนส่งข่าวคือบุรุษเยาว์ผู้อยู่เบื้องหลังการจับกุม จ็อป_สามารถ เจนชัยจิตรวณิช ประธานสมาพันธ์ปราบแชร์ลูกโซ่ The Federation of Ponzi Scheme Demonetization (ชื่อตรงหรือเปล่าไม่ทราบ/เพราะเขียนตามความรู้สึก55) ซึ่งบัดนี้สมถะบารมีสั่งสมถึงที่ได้ตำแหน่งใหญ่เปนผู้ช่วยรัฐมนตรียุติธรรม

 

 

รูปวาดม้าบินปีกาซัส

ว่าแต่ใครเลยจะรู้หลังม่านความสัมพันธ์ระหว่างปีกาซัส กับ ชายหนุ่มที่มันต้องสยบ ซึ่งมาพ้องกันพอดีในวันนี้ ก็จำเปนจะต้องบันทึกปรากฏการณ์ไว้ อย่างว่าตำนานกงล้อประวัติศาสตร์มันหวนมาให้รฤกถึงปกรนัมสำคัญแต่โบราณอีกครั้ง

ปีกาซัส พีกาซัส (หรือจะพีกาซุส) ก็แล้วแต่ลิ้นคนออกเสียงจะเปื้อนน้ำมันมะกอกหรือเคลือบเนย ย่อมหาใช่สาระสำคัญในโลกของเราที่เต็มไปด้วยชาติพันธุ์หลากหลายใบนี้ ความถูกต้องไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว และความจริงหลายที่ก็มีความจริงที่มันยิ่งกว่าความจริง_อุย

ปีกาซัส นี่เปนม้าเทวดา กำเนิดมาจากนางเมดูซ่า_แน่ล่ะ นางที่หัวเปนงูเก็งกอยดูหยิกหยอกหยอยเปนฝอยฝานั่นเเล (แถวเขมรก็มี) เกิดมายังไง? ก็ประหลาดพิสดารอีก คือเกิดมาจากคอ_คอนางเมดูซ่า!

เมื่อเวลาถูกตัดหัวเธอขาด ม้าประหลาดทรงมหิธานุภาพก็พรวดพราดพุ่งออกมาจากลำคอกำเนิด_ใช่_ทะลักออกมาพร้อมเลือด!

ศิลปินไม่อาจวาดม้าให้ทะลักออกมาตามตำนานได้ จึงใช้รูปชายหนุ่มเปลือยอย่างทารกผุดออกมาเชื่อมระหว่างคอเมดูซ่ากับม้าปีกาซัส นัยยะว่าจิตวิญญาณแห่งมันก็เหมือนทารกนี่แล เพียงแต่ว่าเกิดมาสู่พิภพโลกาตอนโตแล้ว_พร้อมใช้งาน ว่างั้น

รูปจำลองสถานการณ์เปอเซอุสตัดหัวนางเมดูซ่า มีเศษผมเปนงูร่วงอยู่และเทวกำเนิดของม้าปีกแสดงด้วยรูปคนหนุ่ม

 

แล้วใครมาตัดหัวนางเมดูซ่า?

ก็ต้องบอกว่า เปอเซอุส_เปอเซอุสเปนคนทำ ซึ่งมีกระบวนการทำโดยความร่วมมือหลายฝ่าย เช่น เฮอมีส (ลิ้นเปื้อนเป็ดอัดว่า แอร์เมส) ให้ยืมปีกเพื่อเปอเซอุสบินได้ไกลๆ อะเธน่าให้ให้โล่โลหะเงา เปนต้น ข้อนี้เล่าเพื่อให้รู้กันว่าหาไม่มีหรอก ฮีโร่เเบบเดี่ยวๆข้ามาคนเดียว เก่งคนเดียว แน่อยู่คนเดียว 55 ใครๆที่ว่าแน่ๆเขาก็ล้วนมีลมใต้ปีกพัดหนุนกันอยู่ท้างน้าน

เพียงแต่ไม่มีใครรู้และไม่มีใครบอกใคร เช่น อเล็กซานเดอร์ ฮาร์มิลตัน _ ถ้าวอชิงตันเปนเจ้า _เขาก็คือสมุหราชองครักษ์ หรือ รองประธานาธิบดี เฉิน เฉิง เงาของเจียงไคเช็ค (ว่างๆค่อนเล่า เรื่องเงาคนดังของโลก) เราชาวบ้านก็หมิ่นประมาทคนเบื้องหลังกันเข้าไป๊

เปอเซอุสตัดตัวเมดูซ่าสำเร็จ

 

 

 

หัวเมดูซ่าคํ้าเสาในเมืองบาดาล อิสตัสบูล

ทีนี้ว่าหัวนางเมดูซ่าที่ว่าโดนตัดไปอยู่ไหน?

พูดกันขำๆ ก็คือว่าไปอยู่กะตา เวอร์ซาเช่ ดีไซเนอร์งานลิเกทองคำจิตรกรรมติดลำดับโลก_บนเสื้อผ้า _เปนตราโลโก้ แม้ตะแกจะตายดิ้นสิ้นชีพไปแล้ว แต่งานศิลปะอลังการยังคงอยู่ มีดอนน่าเตลล่า น้องสาวเข้ามารับช่วงพัฒนาต่อไป

พูดกันไม่น่าขำ ก็คือว่ากลิ้งไปอยู่ในเมืองบาดาล ที่ใต้กรุงอิสตันบูล โดนเขาทำฮวงจุ้ยกลับหัวเอาเสาโรมันตอกยันพื้นโลกไว้ จะได้ไม่ต้องมาถลึงตาใส่ประชาชาวโลกอีก

เวอร์ซาเซ่

 

เมืองบาดาลมีจริงไหม ?

    ก็ตอบว่าจริง มีอยู่ทั่วไปในรัฐมัธยประเทศก็มี ในคุชราจก็มี ในตุรกีก็เยอะ บาดาลจริงๆ เพราะสร้างเมืองให้น้ำอยู่ ( ว่างก็จะเล่าต่อไป และจะพาไปดูทั้งที่ตุรกี และอินเดีย)

 

เมืองบาดาลคุจราช

จบประเด็นเรื่องกำเนิดปีกาซัส

ต่อไปว่าเจ้าม้าเทพมหากาฬนี้ สีขาวยวง มีพละกำลังพยศไพศาลนัก ปีกขาวใหญ่บินได้ใครๆก็ปราบสยบมันไม่ลง ลำพังแค่วิ่งเหยียบน้ำก็มีฤทธานุภาพกระแทกส้นเข้าพื้นพสุธา เปนคลื่นพลังกำลังอัดน้ำใต้ดินต้องพุ่งทะลุขึ้นมาเปนน้ำพุให้คนบูชาชื่นชมก็แล้วกัน

อันประดาม้าทั้งหลายในโลกที่มีกำลังมากๆ ก็เช่น ม้าสีหมอก_ขุนแผน  | ม้าเซ็กเทา_กวนอู | ม้าสัตตรุชัย_ตะเบ็งชะเวตี้ | ม้าคาทูม_แจ็ค วอลซ์ ต้องมีชื่อทั้งหมด.  ทำไม?

ก็เปนบุคคลาธิษฐาน_ personaltification ประเภทหนึ่ง กำหนดให้ของอันไม่ใช่คนเปนคน ม้าก็เช่นกัน มีชื่อ _เมื่อสัตว์มีชื่อ เราจะไม่กินสัตว์นั้น เพราะเรายกระดับมันขึ้นมาเท่ากะคน (แต่ไปลองถามพวก ปาปัวนิวกินีโบราณ อาจได้รับคำตอบตรงข้าม)

ฝรั่งจะว่า “เฮ๊อะ_พวกป่าเถื่อน! เลวสิ้นดีศรีวิไล” คนพรรค์ไหนหวะมากินคน?

ว่าแล้วก็นัดพรรคพวกกันแต่งเรือเครื่องรบ ยกทัพออกไป_ถล่มพวกมันกันเถิด!! ข้างฝ่ายอ้ายปาปัวก็งงๆ มากันทำไมเยอะ_จะออกไปต้อนรับเสียหน่อยก็ ท่ามกลางความงง_ทีมฝรั่งผิวขาวก็จับมนุษย์กินคนพิฆาตซะ แล้วยึดเกาะบ้านเมืองแห่งปวงมันทำเปนแดนศิวิไลซ์

ศิวิไลซ์_ของใคร? _ของฝรั่ง 5555

แล้วจัดแจง ตั้งชื่อใหม่เปนที่รฤกบุคคลาธิษฐานซะว่าปาปัว_นิวกินี... กินีใหม่

กรรม!

(ต่อตอน2)

 

 นสพ.ฐานเศรษฐกิจ  ปีที่ 40 หน้า 23 ฉบับที่ 3,651 วันที่ 7 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564