พันธบัตรออมทรัพย์ "เราชนะ" เปิดขายผ่าน 4 แบงก์แล้ววันนี้

04 ก.พ. 2564 | 23:07 น.

"เราชนะ" พร้อมแล้ว เปิดจำหน่ายผ่าน 4 ธนาคาร เริ่ม 5 กุมภาพันธ์นี้



วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 64 )พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่นเราชนะ" วงเงิน 55,000 ล้านบาท เปิดจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปเป็นวันแรกตั้งแต่เวลา 08.30 น.ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ "ธนาคารกรุงเทพ" "ธนาคารกรุงไทย" "ธนาคารกสิกรไทย" และ "ธนาคารไทยพาณิชย์"  โดยจำหน่ายรุ่น 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 2.00% ต่อปี และรุ่น 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 2.50% ต่อปี ส่วนในรุ่น 15 ปี จำหน่ายให้กับนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1.80% ต่อปี

 

 

พันธบัตรออมทรัพย์ "เราชนะ" เปิดขายผ่าน 4 แบงก์แล้ววันนี้

 

 

เงื่อนไขการลงทุน พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราชนะ 

 

รุ่นอายุ 5 ปี (SBST262B) 

ปีที่ 1 - 2 ร้อยละ 1.50 ต่อปี

ปีที่ 3 - 4 ร้อยละ 2.00 ต่อปี

ปีที่ 5 ร้อยละ 3.00 ต่อปี

(อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย ร้อยละ 2.00 ต่อปี)

 

รุ่นอายุ 10 ปี (SBST312A) 
 

ปีที่ 1 ร้อยละ 1.50 ต่อปี

ปีที่ 2 - 3 ร้อยละ 2.00 ต่อปี

ปีที่ 4 - 6 ร้อยละ 2.50 ต่อปี

ปีที่ 7 – 10 ร้อยละ 3.00 ต่อปี

(อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย ร้อยละ 2.50 ต่อปี) 

 

รุ่นอายุ 15 ปี (SB362A) 

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 1.80 ต่อปี

 

วงเงินจำหน่ายรวม

55,000 ล้านบาท

 

พันธบัตรออมทรัพย์ "เราชนะ" เปิดขายผ่าน 4 แบงก์แล้ววันนี้

 

วันที่จำหน่ายทั่วไป

พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 10 ปี จำหน่ายให้กับบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยระหว่างวันที่ 5 - 15 กุมภาพันธ์ 2564 

รุ่นอายุ 15 ปี จำหน่ายให้กับนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร ระหว่างวันที่ 16 - 19 กุมภาพันธ์ 2564 

 

วงเงินซื้อ ข้ันต่ำ-ขั้นสูง

วงเงินซื้อขั้นต่า 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อต่อราย

 

วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน

 

5 กุมภาพันธ์ 2569              รุ่นอายุ 5 ปี

5 กุมภาพันธ์ 2574              รุ่นอายุ 10 ปี

16 กุมภาพันธ์ 2579            รุ่นอายุ 15 ปี

 


วันที่จ่ายดอกเบี้ย

- รุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 10 ปี คือ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ และ 5 สิงหาคม ของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนดไถ่ถอน /

- รุ่นอายุ 15 ปี คือ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ และ 16 สิงหาคม ของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนดไถ่ถอน 


 

วิธีจัดจำหน่าย

จำหน่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง


 

การชำระเงิน

ชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เคาน์เตอร์ธนาคาร

 

ช่องทางการจองซื้อ ผ่าน 4 ธนาคาร 

 

ธนาคารกสิกรไทย

 

1. การจองซื้อที่สาขาธนาคาร สามารถจองซื้อตั้งแต่เวลา 8.30 น. หรือเวลาเปิดทำการของสาขาแต่ละแห่ง ถึงเวลา 15.00 น. หรือเวลาปิดทำการสาขาแต่ละแห่ง ในระหว่างวันที่จองซื้อของแต่ละช่วง

 

2. การจองซื้อผ่านเว็บไซต์ www.kasikornbank.com/Kmyinvest (สำหรับบุคคลธรรมดาเท่านั้น) สามารถจองซื้อตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงเวลา 15.00 ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (จองซื้อได้ 24 ชม.) หรือตามดุลยพินิจของธนาคารฯ

สอบถามเพิ่มเติม: 0 2888 8888 กด 819

 

ธนาคารกรุงไทย

 

จําหน่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคาร ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564

ทั้งนี้ ในการจําหน่ายพันธบัตรให้คํานึงถึงการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเป็นไปตามวิธีการของแต่ละธนาคารตัวแทนจําหน่าย สําหรับการซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application ผู้ซื้อที่ไม่เคยลงทะเบียนพันธบัตรต้องติดต่อสาขาเพื่อขอลงทะเบียนพันธบัตรก่อนทํา รายการซื้อ

สอบถามเพิ่มเติม: 0 2111 1111

 

ธนาคารกรุงเทพ

จำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ และบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 5 ก.พ. 64 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 19 ก.พ. 64 (หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย)

สอบถามเพิ่มเติม: 1333

 

ธนาคารไทยพาณิชย์

พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษเราชนะ เป็นแบบไร้ใบตราสาร ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนก่อนการซื้อ ซึ่งธนาคารกรุงเทพเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา สำหรับลูกค้าที่เคยลงทะเบียนเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร กับธนาคารกรุงเทพไว้แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้

สอบถามเพิ่มเติม: 0 2777 7777

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กก่อนลงทุน"พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นเราชนะ"ผลตอบแทนและซื้ออย่างไร 

พันธบัตรออมทรัพย์รุ่น"เราชนะ"ดอกเบี้ย 2.00-2.50% เปิดขาย 5 ก.พ.นี้

พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นเราชนะVS ฝากปลอดภาษี ผลตอบแทนไหนจ่ายดีกว่า