ล็อกดาวน์ทำความก้าวหน้า ผู้หญิงวงการเทคสะดุด

07 ก.พ. 2564 | 08:25 น.

ผลวิจัย Kaspersky ล่าสุด ระบุว่า ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีจำนวนเกือบครึ่งเชื่อผลกระทบของ COVID-19 ชะลอความก้าวหน้าในอาชีพ ขณะที่ 64% จะเชื่อว่าโครงสร้างการทำงานระยะไกลจะทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศที่จำเป็นมากขึ้น แต่อคติทางสังคมที่ยังมีอยู่ก็ได้ขัดขวางโอกาสการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น

ชีวิตช่วงการล็อกดาวน์นั้นมีแนวโน้มว่าจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเรื่องของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน ด้วยการจับอยู่ที่แง่มุมเรื่องของการวางแผนครอบครัว การดูแลครอบครัว และเชิงสังคม ทำให้ภาพจำในจุดนี้เข้ามาลดทอนบทบาทและศักยภาพ ความพร้อมด้านเวลาในการที่จะทุ่มเทให้กับความก้าวหน้าในการงาน สายอาชีพลงไปอย่างมาก ผลกระทบจาก COVID หมาย ความว่าบริษัทองค์กรต่างๆ ถูกเร่งหรือแม้แต่บีบให้ก้าวเข้าสู่วิถีปฏิบัติแนวใหม่ในเพียงชั่วข้ามคืน และในระดับหนึ่ง การคาดการณ์นี้อีกนัยหนึ่งก็ช่วยเป็นการเปิดทางให้ทั้งอุตสาหกรรมได้ปรับเปลี่ยนมุมมองกันใหม่

รายงานเกี่ยวกับผู้หญิงในวงการเทคโนโลยี Women in Tech โดยแคสเปอร์สกี้ในหัวข้อ “Where are we now? Understanding the evolution of women in technology” การมองวิวัฒนาการสถานภาพของผู้หญิงในแวดวงเทคโนโลยี นั้นพบว่าผู้หญิงจากภูมิภาคนี้เกือบ 1 ใน 3 หรือ 25% ทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและชื่นชอบที่จะทำงานจากบ้านมากกว่าการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ และด้วยจำนวนเดียวกันรายงานว่าการทำงานจากบ้านนั้นให้ประสิทธิภาพมากกว่า และผู้หญิง 28% เผยว่าตนจะมีความเป็นตัวของตัวเอง กำหนดทิศทางอะไรต่างๆ ได้ดีกว่าเมื่ออยู่ในออฟฟิศ ซึ่งเป็นผลการสำรวจที่ตํ่ากว่าตัวเลขการสำรวจทั่วโลกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งอยู่ที่ 33%

 

 

อย่างไรก็ตาม สถิติที่น่าเป็นห่วงจากรายงานฉบับนี้เน้นไปที่ ความเป็นไปได้ของการทำงานจากบ้านของผู้หญิงในอุตสาหกรรมเทคนั้นไม่สอดคล้องไปกับความก้าวหน้าเชิงสังคม ‘working from home’ ทุกวันนี้ เกือบครึ่งของผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 46% ทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่ต้องดิ้นรนจัดแบ่งเวลาชีวิตทำงานกับครอบครัวมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2563 แล้ว และเป็นรูปแบบเดียว กันกับที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ และยังเป็นแนวโน้มที่พบเห็นได้ทั่วโลกอีกด้วย

 

ล็อกดาวน์ทำความก้าวหน้า ผู้หญิงวงการเทคสะดุด

เมื่อมองลึกลงไปก็ยิ่งเห็นชัดถึงเหตุของที่มาแห่งความไม่สมดุลในแวดวงการทำงาน เมื่อผู้หญิงถูกถามถึงภารกิจประจำวันในแต่ละวันที่คอยมาดึงออกไปจากการทุ่มเทในการทำงาน จำนวน 66% กล่าวว่าตนต้องทำความสะอาดภายในบ้านเป็นส่วนใหญ่ และ 68% ต้องเป็นผู้ที่ดูแลการเรียนที่ บ้านของลูกๆ และ 56% ต้องปรับชั่วโมงการทำงานเพื่อให้ลงตัวกับการดูแลครอบครัว ผลก็คือ 48% ของผู้หญิงที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าผลกระทบจาก COVID-19 นั้นได้เข้ามาหน่วง แทนที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางการงานของพวกตน

 

เอฟจินิยา นอโมวา รองประธานฝ่ายเครือข่ายการขายระดับโลก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ถ้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นผู้นำ เน้นความคล่องตัว สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความสมดุลให้แก่พนักงานกลุ่มผู้หญิง ก็น่าที่จะกลายมาเป็นแนวทางนิยมได้อย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมได้ไม่ยาก แน่นอนว่าย่อมไม่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่ก็ส่งสัญญานเชิงบวกแก่ฝ่ายหญิงที่จะผลักดันวิถีการทำงานแบบนี้ต่อไป ที่อยากจะฝากไว้คือ เราควรต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยประสบการณ์และเรียนรู้สิ่งที่ดีจากช่วงเวลาที่ผ่านมา ปรับสู่การทำงานที่ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น และเป็นกำลังขับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,651 หน้า 16 วันที่ 7 - 10 กุมภาพันธ์ 2564