นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ "หมู-ยาง" ราคาดี ฝีมือ”เฉลิมชัย”

24 ม.ค. 2564 | 22:30 น.

“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจแก้ปัญหาเกษตรกร “เฉลิม ศรีอ่อน” รมว.เกษตร ผลงานเด่น เยียวยาเกษตรกร การประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร การส่งเสริมมาตรฐาน GAP

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกร เรื่อง “การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”  ซึ่งเป็นการสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเริ่มทำการสำรวจในเดือนธันวาคม 2563 - มกราคม 2564 จากเกษตรกรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 1,225 หน่วยตัวอย่าง

 

ซึ่งเป็นเกษตรกรสวนยางพารา 421 หน่วยตัวอย่าง เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 400 หน่วยตัวอย่าง และเกษตรกรทั่วไป 404 หน่วยตัวอย่าง ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) กระจายตัวอย่างทั่วประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95.00

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 29.06 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 54.20 (รวมเป็นร้อยละ 83.26) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 8.49 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 4.49 (รวมเป็นร้อยละ 12.98) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 3.76

 

เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 28.57 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 50.69 (รวมเป็นร้อยละ 79.26) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 6.78  ไม่พอใจเลย ร้อยละ 2.61 (รวมเป็นร้อยละ 9.39) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 11.35

นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ "หมู-ยาง" ราคาดี ฝีมือ”เฉลิมชัย”

เมื่อพิจารณาตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 12.59 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 68.89 (รวมเป็นร้อยละ 81.48) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 14.01 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 3.56 (รวมเป็นร้อยละ 17.57)

 

ส่วนตัวอย่างที่ไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 0.95 สำหรับความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 11.40 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 71.50 (รวมเป็นร้อยละ 82.90) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 11.40 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 3.09 (รวมเป็นร้อยละ 14.49) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 2.61

 

เมื่อถามตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหาน้ำยางสดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 14.49 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 62.71 (รวมเป็นร้อยละ 77.20) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 14.49 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 5.94 (รวมเป็นร้อยละ 20.43) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 2.37

 

เมื่อถามถึงความพึงพอใจกับการแก้ไขปัญหาราคายางแผ่นดิบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 11.40 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 64.13 (รวมเป็นร้อยละ 75.53) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 15.44 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 5.94 (รวมเป็นร้อยละ 21.38) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 3.09

 

สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 24.47 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 54.63 (รวมเป็นร้อยละ 79.10) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 13.30 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 4.99 (รวมเป็นร้อยละ 18.29) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 2.61

 

ทั้งนี้ตัวอย่างต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วยเหลือ ในเรื่องการประกันราคารับซื้อน้ำยางสดหรือยางแผ่นดิบในราคาที่คงที่ มาตรการกระตุ้นราคารับซื้อน้ำยางสดและยางแผ่นดิบให้มีราคาสูงขึ้น และต้องการให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ เป็นต้น

 

สำหรับผลงานและการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตัวอย่างพึงพอใจคือการประกันรายได้เกษตรกร เงินเยียวยาเกษตรกรชาวสาวนยางพารา การรับประกันราคายางพารา และการพักชำระหนี้เงินกู้ยืมเกษตรกร เป็นต้น

 

เมื่อพิจารณาตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 45.75 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 43.25 (รวมเป็นร้อยละ 89.00) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 3.75 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 1.00 (รวมเป็นร้อยละ 4.75) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 6.25

สำหรับความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 45.50 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 35.50 (รวมเป็นร้อยละ 81.00) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 4.75 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 0.75 (รวมเป็นร้อยละ 5.50) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 13.50

 

เมื่อถามตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเกี่ยวกับความกังวลที่จะต้องเผชิญกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF (African Swine Fever) ในรอบปี 2563 พบว่า ตัวอย่างกังวลใจมาก ร้อยละ 33.25 ค่อนข้างกังวลใจ ร้อยละ 28.50 (รวมเป็นร้อยละ 61.75)

 

โดยให้เหตุผลว่า กังวลว่าโรคจะมาระบาดในพื้นที่ ทำให้สุกรที่เลี้ยงไว้ติดโรคระบาดและตาย ทำให้ขาดทุน ขาดรายได้และเป็นหนี้ ขณะที่บางส่วนให้เหตุผลว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคอันตราย มาตรการป้องกันโรคยังทำได้ไม่เต็มที่

 

ในขณะที่ตัวอย่างที่ไม่ค่อยกังวลใจ ร้อยละ 16.75 ไม่กังวลใจเลย ร้อยละ 16.50 (รวมเป็นร้อยละ 33.25) โดยให้เหตุผลว่า ไม่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่ ทั้งมีระบบการจัดการที่ดีในการป้องกันโรคตามมาตรการป้องกันโรคของกรมปศุสัตว์ ขณะที่บางส่วนให้เหตุผลว่า พื้นที่เลี้ยงสุกรตั้งอยู่ห่างไกลกับพื้นที่พบการระบาด

 

อีกทั้งการเลี้ยงสุกรเป็นแบบฟาร์มปิด มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ส่วนตัวอย่างที่ไม่รู้จักโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF (African Swine Fever) ร้อยละ 5.00

 

ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 56.00 ทราบว่า ในปี 2563 ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่สามารถป้องกันการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) และไม่ทราบ ร้อยละ 44.00

 

สำหรับความพึงพอใจต่อมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 49.25 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 39.50 (รวมเป็นร้อยละ 88.75) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 5.00 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 0.50 (รวมเป็นร้อยละ 5.50) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 5.75

 

นอกจากนี้ตัวอย่างต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วยเหลือ ในเรื่องการประกันราคาสุกร สนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และยาฆ่าเชื้อ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคของสุกรและวิธีการป้องกัน และต้องการความช่วยเหลือเรื่องเงินชดเชยหรือเงินเยียวยาเกษตรกร เป็นต้น

สำหรับผลงานและการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตัวอย่างพึงพอใจคือเรื่องราคาซื้อขายเนื้อสุกรดีขึ้น และการควบคุมโรคของปศุสัตว์ เป็นต้น

 

เมื่อพิจารณาตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรทั่วไปเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 29.70 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 49.75 (รวมเป็นร้อยละ 79.45) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 7.43 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 8.91 (รวมเป็นร้อยละ 16.34) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 4.21

 

สำหรับความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก ร้อยละ 29.70 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 44.06 (รวมเป็นร้อยละ 73.76) และไม่ค่อยพอใจและไม่พอใจเลย ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.96 (รวมเป็นร้อยละ 7.92) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 18.32

 

เมื่อถามตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรทั่วไปเกี่ยวกับการรับรู้โครงการ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” พบว่า ตัวอย่างทราบเกี่ยวกับโครงการ ร้อยละ 53.96 และไม่ทราบ ร้อยละ 46.04 สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” พบว่า ตัวอย่างที่ทราบเกี่ยวกับโครงการมีความพอใจมาก ร้อยละ 24.77 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 70.19 (รวมเป็นร้อยละ 94.96) และไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 2.29 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 0.92 (รวมเป็นร้อยละ 3.21) และไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 1.83

 

เมื่อถามความต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการส่งเสริมการจำหน่ายผลผลิตและสินค้าแปรรูปผ่านระบบออฟไลน์ (เช่น การขายผ่านห้างสรรพสินค้า) หรือระบบออนไลน์ (เช่น Facebook, Website, Application) พบว่า ตัวอย่างต้องการทั้งสองระบบเท่า ๆ กัน มากที่สุด ร้อยละ 65.10 รองลงมา ต้องการระบบออนไลน์มากกว่า ร้อยละ 22.28 ต้องการระบบออฟไลน์มากกว่า ร้อยละ 6.68 และไม่ต้องการความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 5.94

 

นอกจากนี้ตัวอย่างต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วยเหลือ ในเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตร การจัดหาช่องทางการจำหน่วยผลผลิตทางการเกษตร การสนับสนุนเงินทุนหรือสนับสนุนอุปกรณ์ในการเพาะปลูกพร้อมเมล็ดพันธุ์ และการส่งเสริมเรื่องที่ดินทำกินและการประกอบอาชีพของเกษตรกร เป็นต้น

 

สำหรับผลงานและการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตัวอย่างพึงพอใจคือเรื่องเงินเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกร การประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร และการส่งเสริมมาตรฐาน GAP เป็นต้น