“Brexit Deal” ไทยได้หรือเสีย?

15 ม.ค. 2564 | 03:29 น.

จากที่สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงการค้าและความร่วมมือ หรือที่เรียกว่า “Brexit Deal” จากนี้มีประเด็นที่จะส่งผลกระทบกับไทยได้-เสียอย่างไร ฟังจากบทวิเคราะห์ของดร.อัทธ์ พิศาลวานิช

 

“Brexit Deal” ไทยได้หรือเสีย?

 

ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ทั่วโลกกำลังลุ้นว่า การเจรจาระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปจะออกมาในรูปแบบใด ก่อน 2-3 สัปดาห์ที่จะถึงวันเส้นตาย ดูเหมือนว่าการเจรจาจะออกมาทาง “No Deal” มากกว่าจะเป็น “Deal” ซึ่งผลการเจรจาออกมาแบบไหนจะมีผลกระทบต่อการค้าและห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมโลกทั้งสิ้น

 

แต่เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2563 สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปก็สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ที่เรียกว่า “UK-EU Trade and Cooperation Agreement (TCA)” หรือที่เรียกว่า “Brexit Deal” ซึ่งเป็นการเจรจาอย่างยาวนาน “4 ปี 6 เดือน” เริ่มจากวันที่ 23 มิ.ย. 2559 (วันที่อังกฤษลงประชามติออกจากอียู) ถึง 31 ธ.ค. 2563  โดยสหราชอาณาจักรหมดการเป็นสมาชิกอียูตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 2563 และ 1 ก.พ. 2563 ถึง 31 ธ.ค.2563 เป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (transition period)  

 

สำหรับข้อตกลง “TCA” ครอบคลุมมากกว่าเขตการค้าเสรีเพราะนอกจากจะยึดโยงกับระเบียบและกติกาของทั้งสองฝ่ายแล้วยังยึดโยงก้บหลักการค้าของ WTO อีกด้วย ทำให้  TCA จึงประกอบด้วย 4 เรื่องสำคัญคือ 1.เขตการค้าเสรี (FTA)  2.ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิด้านแรงงาน ภาวะโลกร้อนและประมง (โควตาในการจับปลาของอียูในน่านน้ำสหราชอาณาจักรลดลงเหลือ 75% และมีการเจรจาต่อรองทุก ๆ ปี ในการจับปลาของทั้งสองฝ่าย นั่นหมายความว่าโควตาการจับสัตว์น้ำ 25% ในน่านน้ำสหราชอาณราจักรต้องกลับไปอยู่ภายใต้สหราชอาณาจักรในเวลา 5 ปีข้างหน้า)

 

3.ความมั่งคงและปลอดภัยของประชาชน และ 4.ความร่วมมือด้านความโปร่งใส เช่น ความโปร่งใสด้านภาษีภาษี อย่างไรก็ตาม “TCA” จะไม่รวมการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของทั้งสองฝ่ายที่เป็นอิสระต่อกัน ข้อตกลงฉบับนี้ลงนามเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป นั้นหมายความว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป สหราชอาณาจักรต้องออกจากสถานะความเป็นสหภาพศุลกากร (custom union) การเป็นตลาดเดียว (single market) และนโยบายจากสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์แบบ และนั้นคือการสิ้นสุด 48 ปีการเป็นสมาชิกอียู (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2516 ถึง 31 ม.ค. 2563) ทำให้สหราชอาณาจักรได้ถูกเปลี่ยนสถานะเป็น “Non -EU Country” ทันที

 

ดังนั้นกฎหมายของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไปจะถูกตราขึ้นโดยรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเท่านั้น ข้อพิพากษาทางกฎหมายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกตัดสินด้วยศาลของสหราชอาณาจักรเอง ไม่ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมจากสหภาพยุโรปอีกต่อไป

 

“Brexit Deal” ไทยได้หรือเสีย?

 

สำหรับ “Brexit Deal” สำหรับประเทศไทยจะได้หรือเสีย ต้องหันกลับไปดูการค้าไทยกับอังกฤษและอียูว่าเป็นอย่างไร ปี 2562 สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นลำดับที่ 30 ของการนำเข้าทั้งหมด มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 3.84 พันล้านเหรียญ เป็นอันดับที่สองของอาเซียน ตามหลังเวียดนาม เมื่อเปรียบเทียบส่วนแบ่งตลาดของไทยกับเวียดนามในตลาดอังกฤษระหว่างปี 2552 ถึง 2562 พบว่า “เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น แต่ไทยลดลง”  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม

 

“Brexit Deal” ไทยได้หรือเสีย?

 

ส่วนผลกระทบต่อประเทศไทยหลังจากทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ (Brexit Deal) เป็นดังนี้ 1.ไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกโดยรวมของไทยมากนัก (ขึ้นกับศักยภาพของสินค้าไทยมากกว่า) การส่งออกของไทยสามารถส่งออกได้เหมือนเดิม  เพราะภายใต้ข้อตกลง “TCA” นั้น การค้าของสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปยังมีภาษีเป็นศูนย์เหมือนเดิม และไม่มีโควตาระหว่างกัน ทำให้สินค้าของสหราชอาณาจักรที่ส่วนใหม่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม และต้องพึ่งพิงตลาดของสหภาพยุโรปมากกว่าที่สหภาพยุโรปจะพึ่งพิงตลาดสหราชอาณาจักร สามารถส่งเข้าไปขายในตลาดสหภาพยุโรปได้เหมือนเดิม ขณะเดียวกันสหภาพยุโรปเองก็สามารถนำเข้าอุตสาหกรรมจากสหราชอาณาจักรมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

 

2. หลังจากนี้จะมี “มาตรฐานสินค้าและการกีดกันทางการค้าของสหราชอาณาจักร” ขึ้นใหม่ เพราะสหราชอาณาจักรสามารถออกกฎระเบียบและกติกาด้านมาตรฐานสินค้าได้เองและรวดเร็วขึ้นกว่าที่อยู่ภายในสหภาพยุโรป หากสินค้าไทยไม่สามารถทำได้ตามมาตรฐานดังกล่าวก็จะได้รับผลกระทบ เช่น กรณี อังกฤษแบนน้ำกะทิของไทย อันเนื่องมาจากใช้ “แรงงานลิงเก็บมะพร้าว” เพราะประเด็นมาตรฐานทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีข้อตกลงในเรื่องนี้ 3.ค่าเงินปอนด์จะกลับมาแข็งค่าขึ้น จะส่งผลดีต่อการส่งออกไทยไปสหราชอาณาจักร

 

4.ให้ระวังสินค้าจากเวียดนาม เพราะมีต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่าและค่าขนส่งที่ถูกกว่าสินค้าของไทยในตลาดสหราชอาณาจักร 10 ปีที่ผ่านมาสินค้าเวียดนามได้แย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยไปมาก 5. ปี 2021 สหราชอาณาจักรจะมี FTA ที่มีผลบังคับใช้ กับ 60 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่อียูมี FTA 40 ประเทศทั่วโลกติดตามผลการเจราจา FTA ของสหราชอาณาจักร กับประเทศนอกสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FTA กับประเทศเอเซียและอาเซียน ว่าสินค้าไทยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียเปรียบมีอะไรบ้าง เช่น เวียดนาม (เจรจามาตั้งแต่ปี 2561 คาดว่ามีผลบังคับใช้ ปี 2564) ตุรกี (เจรจาสิ้นสุดแล้ว รอประกาศใช้) แคนาดา (ประกาศใช้ปี 2564) ญี่ปุ่น (ประกาศใช้ปี 2564) และอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ (เริ่มเจรจาเมื่อเดือนมิ.ย. 2563) และสหรัฐฯ 6.สินค้านำเข้าไทยจะเสียภาษี “VAT” สูงขึ้น จากเดิม 15% (อัตราอียู) เป็น 20% (อัตราอังกฤษ)

 

“Brexit Deal” ไทยได้หรือเสีย?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พาณิชย์ชี้ “เบร็กซิท”จบสวย ไทยได้อานิสงส์อื้อ สินค้า 1,524 รายการเฮภาษีศูนย์

ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเฮ รับดีลการค้าอังกฤษ-อียูหลังเบร็กซิท

เปิดเนื้อหา “ข้อตกลงการค้าอังกฤษ-อียู”หลังเบร็กซิท ฉบับย่อ