ไทยพาณิชย์ชี้ 2 ปีทุนจีนทะลักเข้าไทย

06 ม.ค. 2564 | 06:55 น.

ไทยพาณิชย์ ชี้1-2ปีข้างหน้าเม็ดเงินนักลงทุนจีนมาไทยแน่ เผยมียอดอนุมัติบีโอไอแล้ว 5.15หมื่นล้านบาทชูศักยภาพตลาดและศูนย์กลางสู่อาเซียน

กลุ่มธุรกิจจีนของไทยพาณิชย์ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center: EIC) เผยผลสำรวจนักธุรกิจจีนกว่า170รายตอบแบบสอบถามออนไลน์ "ทิศทางการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยหลังโควิด-19 "โดย พบว่า นักธุรกิจจีนมองไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งจากมุมมองของนักธุรกิจจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้ว 40%และที่ยังไม่เข้ามาลงทุน 60%

ไทยพาณิชย์ชี้ 2 ปีทุนจีนทะลักเข้าไทย

นายมาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลสำรวจทิศทางการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยภายหลังโควิด-19 และแผนการลงทุนขยายธุรกิจในไทยโดยพบว่า  บริษัท 170 รายที่ตอบแบบสอบถามและจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงที่เป็น นักลงทุนจีนมากกว่า 2 ใน 3 มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนมายังประเทศไทยภายในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า ที่น่าสนใจคือราว 60% เป็นกลุ่มที่ไม่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจในประเทศไทยมาก่อน ประเมินประเทศไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ อีกทั้งมีความพร้อมและอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางแห่งอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งแตกต่างจากมุมมองในอดีตที่มองว่าประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้นนอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม 66% ได้วางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศไทย

 ส่วนเหตุผลของการเข้ามาลงทุนต้องการใช้อยากอยากใช้ไทยเป็นฐานในการทำตลาดและใช้วัตถุดิบจากในอดีตที่เคยย้ายฐานการผลิตเข้ามาเพื่อการส่งออกทั้งนี้เนื่องจากมองเห็นศักยภาพในการทำตลาดสู่อาเซียนด้วย ทั้งนี้โครงสร้างการลงทุนของนักลงทุนจีนมีทิศทางปรับลดเงินลงทุนเล็กลง

 จากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 57% สนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยใช้เม็ดเงินลงทุนมูลค่าต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อโครงการ แต่ปริมาณจำนวนโครงการจะมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่ใช้เม็ดเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อโครงการ ส่วนหนึ่ง เพราะบริษัทจีนในกลุ่มเอสเอ็มอีต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า อีกทั้งต่อยอดห่วงโซ่อุปทานของสายการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหลัก (Supply Chain Integration) ซึ่งจะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลงเพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาสและทิศทางการเติบโต และต่อไปการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการลงทุนจะกระจายตัวไปสู่ภาคบริการเทคโนโลยีโลจิสติกส์แม้กระทั่งสำนักงานทนายความหรือธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่กระจุกที่การลงทุนกระจะกระจุกตัวอยู่ในภาคการผลิตที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในส่วนของนักธุรกิจจีนที่ยังไม่เข้ามาลงทุนแต่มีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบเพิ่มในระยะ 2 ปีข้างหน้า

"เม็ดเงินลงทุนจากจีนจะเข้ามาในไทยมากขึ้นเห็นได้จาก2ปีที่ผ่านมา จีนได้รับยอดอนุมัติบีโอไอติดอันดับ1 จึงมั่นใจว่าจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยแน่ และจีนจะเป็นกลุ่มทุนที่มักจะลงทุนเร็ว แม้ช่วงนี้กิจกรรมลงพื้นที่จะแผ่วลงแต่ความสนใจอย่างสูง"

 

นายมานพกล่าวว่า เงินลงทุนโดยตรงจากจีน(FDI) ในปี2562ยอดสะสมราว 1.4แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมาลงทุนในอาเซียน11%และไทย1%ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี2558อยู่ที่0.3%ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีFDIจากจีนเข้าไปลงทุน 3-4% ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน แต่เชื่อว่าเม็ดเงินที่อ้ันจากจีนจะไหลเข้าอาเซียนและไทยอีก ซึ่งโอกาสยังมีอีกมากและมากกว่าความเสี่ยงที่นักธุรกิจจีนจะเข้ามาเปลี่ยนสมการการแข่งขัน เนื่องจากนักธุรกิจจีนมีเงินลงทุนความพร้อมและมีความกระตือรือร้นมากกว่านักธุรกิจอื่นและที่ผ่านมาแบรนด์สินค้าของจีนก็มีศักยภาพในการแข่งขันต่อนักธุรกิจไทยซึ่งจะต้องปรับตัว

ไทยพาณิชย์ชี้ 2 ปีทุนจีนทะลักเข้าไทย

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) กล่าวว่า อังค์ถัด(UNCTAD)ประเมินการลงทุนโดยตรงของจีนจากต่างประเทศ(FDI)ของโลกในปี 2564 มีแนวโน้มติดลบ 10% จากปีก่อนที่หดตัวสูง30-40%เม็ดเงินลงทุน 1 ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งต่ำสุดในรอบ 15 ปีขณะที่เศรษฐกิจโลกหดตัวประมาณ 4%แต่มีผลเกรดส่งผลกระทบด้านการลงทุนค่อนข้างมาก แต่สำหรับภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบไม่มาก โดยในปี 63 ครึ่งปียอด FDI ติดลบ 12%โดยมีโดยยังคงมีเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากปัจจัยบวกจากการควบคุมการระบาดของโควิด อย่างไรก็ตามในช่วง 9 เดือนปี 2563 ทั่วโลกได้รับผลกระทบ ขณะที่ประเทศไทยการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI)ติดลบ19 %แต่ยอดการอนุมัติมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งตัวขอ BOIในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า โดยมูลค่าเงินลงทุนจากจีนที่ได้รับอนุมัตฺิBOIแล้วจำนวน5.15หมื่นล้านบาท แม้ในปี2563การขอBOIใหม่อาจมีอุปสรรคในการเดินทางของนักลงทุนจากจีนแนวโน้มการลงทุนจากจีนยังไต่ระดับเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 แทนญี่ปุ่น ซึ่งมียอดรวมของมูลค่าการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มากเป็นอันดับที่ 2 ในช่วงปี 2017-2019

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนอันเป็นผลจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ รวมถึงปัจจัยสนับสนุนพื้นฐานของประเทศไทยและ การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาค (Regional Comprehensive Partnership Agreement: RCEP) ซึ่งเขตการค้าเสรีและเปิดตลาดผู้บริโภคระหว่างประเทศสมาชิก RCEP กว่า 2.3 พันล้านคน

 ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมที่จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ช่วยสนับสนุนให้การขยายธุรกิจของทั้งสองประเทศเดินหน้าต่อไปอย่างแข็งแกร่ง ด้วยศักยภาพเครือข่ายสาขาต่างประเทศของธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะ สาขาเซี่ยงไฮ้ สาขาฮ่องกง และสำนักงานผู้แทนกรุงปักกิ่ง ตลอดจนทีมงานที่เข้าใจบริบทของจีนและไทยอย่างลึกซึ้ง พร้อมให้คำปรึกษาและมอบบริการทางการเงินครบวงจรที่สามารถช่วยสนับสนุนให้แผนการลงทุนขยายธุรกิจประสบความสำเร็จ