กรุงไทยชู2แกนหลักรีสตาร์ทประเทศ

18 ธ.ค. 2563 | 00:00 น.

กรุงไทยชู2แกนหลักรีสตาร์ทประเทศ "ความยั่งยืน-ดิจิทัลอิโคโนมี” วางโครงสร้างพื้นฐานก่อนเกิดโควิด ทำให้มีแพลตฟอร์มเข้าถึงประชาชน

นายผยง  ศรีวณิช  กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยจำกัดกล่าวในงาน Dinner Talk Restart Thailand 2021 ขับเคลื่อนประเทศไทยซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและฐานเศรษฐกิจโดยระบุว่า ภายใต้ Theme Restart Thailand ต้องนับถอยหลัง 3-2-1 และ Restart  โดยอธิบายเพิ่มเติมที่มาของเลข 3 คือ มรดกจากโควิด-19 ที่ทำให้ได้เข้าใจโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ   จุดแข็ง  จุดอ่อนรวมถึงความกระจ่างชัดกับคำว่า Disruptionนัยความหมายคือ ทำลายล้างและสร้างขึ้นใหม่ไปพร้อมๆกัน


สำหรับ 2.แปลว่า  2 Key Driver ที่จะช่วยขับเคลื่อนในเรื่องของการ Restart เข้าสู่ Next Nomal ของบริบทเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด-19 ซึ่งโอกาสใหม่ๆประเทศไทยควรจะรีสตาร์ทไปในทิศทางใด ด้วยโครงสร้างแบบไหนที่จะทำให้มีอัพไซส์แบบก้าวกระโดดและใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส


สำหรับเลข 1.ซึ่งเป็นตัวที่3นั้น คือ One Thailand Digital  จะเป็นโครงสร้างสำคัญในการที่จะก้าวเข้าสู่ Thailand Digital Economyเพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถเดินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  มีการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม

 

สำหรับ 3 มรดกจากโควิด ทำให้รู้ว่าการเติบโตที่ผ่านมาตามโครงสร้างของประเทศได้พึ่งพาธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการส่งออกอย่างเป็นนัยยะสำคัญเพราะฉะนั้นการลดความโลกาภิวัฒน์ ย่อมกระทบประเทศไทยอย่างเป็นนัยยะสำคัญการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือการส่งออกโดยรวมนับเป็นกว่า80%ของจีดีพีของประเทศ ซึ่งได้เรียนรู้ว่าการกระจุกตัวนำไปสู่ความเสี่ยงและส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ


ส่วนมรดกตัวที่ 2 จากโควิดคือ ประเทศไทยถูกจำกัดด้วยเรื่องของหนี้ครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับสูงเห็นได้จาก ปี2560หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับแค่ 78%ต่อมากลางปี 2563 หนี้ครัวเรือนปรับขึ้นเป็น 84%ในส่วนของมรดกจากโควิดตัวที่ 3 คือพฤติกรรมของมนุษยชาติที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและรุนแรงไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้รวมถึงการปรับไลฟ์สไตล์เพื่อให้เข้ากับการได้ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้การระมัดระวังเรื่องสุขภาพที่ให้ความสำคัญเรื่อง wellness และที่สำคัญที่สุดการให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน(ESG) เพราะเริ่มเห็นผลกระทบของการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองและไม่ได้มีการดูแลและกระจายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม  โดยทั้ง 3ส่วนซึ่งเป็นผลกระทบจากโควิดเป็นสิ่งที่ท้าทายใน

+2แกนหลักรีสตาร์ทเศรษฐกิจ+

ขณะเดียวกันเราก็เห็นอนาคตที่ชัดเจนขึ้นว่า กลไกของการขับเคลื่อนการรีสตาร์ฐเศรษฐกิจใน 2 แกนหลักได้แก่ 1.ความยั่งยืน(ESG)ของการตอบโจทย์แก้ไขปัญหาเรื่อง Climate change ของ S-curve ต้องอยู่บนฐานของการตอบโจทย์เรื่อง ESG ทั้งสิ้น ในส่วนของศักยภาพของประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน แม้ในสถานการณ์โควิด-19การกิน  การอยู่การใช้ชีวิตของคนไทยก็ยังสามารถดูประคับประคองภายใต้ความสามารถในการมีผลิตผลทางการเกษตรด้วตนเองการต่อยอดอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป  , Packaging เป็นสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของจุดแข็งประเทศไทย
รวมถึงเรื่องพลังงานสะอาดนำไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยยะสำคัญ 


ทั้งนี้ นายผยงอ้างผลกระทบจากการประเมินโดยสำนักวิจัย Bloomberg News in energy  Finance ระบุว่า ยอดขายรถ พลังงานทางเลือกใหม่(EV)จะเป็น 50% ของยอดขายรถทั้งหมดในปี 2035-2040แม้ตลาดใหญ่ในจีนก็ได้ประกาศกว่า20%ของยอดขายรถใหม่ในปี2025 จะเป็นรถพลังงานทางเลือกใหม่ก่อนจะเพิ่มเป็น 50% ในปี 2035จากทั้งหมดที่มีอยู่เพียงแค่ 5% เหล่านี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้ชีวิตเมืองหรือ Smart City ที่รูปแบบการใช้น้ำมัน หรือรถยนต์และการใช้ชีวิตแต่ละจุดจะเปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้


ขณะเดียวกันการอัพเกรดเรื่องระบบการขนส่งหรือการสนับสนุนระบบ Green Energyในส่วนของประสิทธิภาพของประเทศไทยธนาคารโลกได้จัดอันดับของประเทศไทยอยู่ที่ 32ของโลกโดยเวียดนามกำลังตามมาอย่างติดๆที่ลำดับ 39 นอกจากนี้ประเทศไทยยังขาดการลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับน้ำที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมที่เป็นเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศโดยไอเอ็มดีจัดอันดับเรื่องการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในอันดับ 49  ในเรื่องการเข้าถึงน้ำอย่างเพียงพอซึ่งแย่กว่าระบบการขนส่งที่อยู่ในอันดับ 28 โดยในปี2563 การลงทุนเรื่องน้ำกลับได้รับงบประมาณเพียง 6.4หมื่นล้านบาทหรือ 13% ของงบลงทุนของประเทศเมื่อเทียบกับการขนส่งที่ 1.5 แสนล้านดังนั้นในสภาวะที่ดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ในระดับต่ำจึงควรหาโอกาสลงทุนระยะยาวที่จะเสริมสร้างศักยภาพของโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมและยังเป็นตัวและยังเป็นการสนับสนุน Local Economy ให้อยู่ในพื้นที่พื้นบ้านประชากรของประเทศ
 

ในส่วนของกลไกขับเคลื่อนที่ 2 คือเรื่องดิจิทัล อีโคโนมีของไทยมีความต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนโควิดโดยหากนโยบาย Thailand 4.0ไม่เกิดขึ้นก่อนโควิด  ประเทศไทยจะไม่มีดิจิทัลแพลตฟอร์ม ความพร้อมในการใช้ประโยชน์ ของแพลตฟอร์มในการเข้าถึงประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรในการช่วยเหลือในสภาวะโควิด


ทั้งนี้ โควิด-19เป็นตัวเร่งทำให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วขึ้นมากมาย โครงการช่วยเหลือต่างๆเป็นโครงการที่นำดิจิทัลเทคโนโลยี่มาใช้ทั้งสิ้น ซึ่งใช่เพียงตอบโจทย์เรื่องการช่วยเหลือ แต่มีการบูรณาการโครงสร้างดิจิตอลพื้นฐานของประเทศมีการเติมเต็มเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีการวางยุทธศาสตร์ต้องมีจุดชำระเงินดิจิทัลทุกตำบลทั่วประเทศโดยเฉพาะให้กับกลุ่มประชากร ผู้มีรายได้น้อย14.6ล้านคนทั้งประเทศ  ขณะที่ตัวเลขการใช้จ่ายของอีคอมเมิร์ซในปี 2563 มีมูลค่าสูงถึง 2.20 ล้านบาทเติบโตขึ้น 35% จากปีก่อน ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยหดตัวประมาณ 6.5% และผลสำรวจจากเฟสบุ๊คพบว่า ผู้บริโภคไทย 45% ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนใหญ่ในปี2563เพิ่มขึ้น 1.3เท่าตัวจากปี2562และ ยังคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าตัวในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือจะมีมูลค่าสูงถึง 6-7แสนล้านบาทซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงมากจาก 2.2แสน ล้านบาทในปีนี้   ประเทศอื่นๆในภูมิภาคก็มีการเติบโตก้าวกระโดดในดิจิทัลเช่นเดียวกันเช่น ตลาดใหญ่สุดอยู่ที่อินโดนีเซียมูลค่าสูงถึง2.2ล้านล้านบาทใน 2568รองลงมาคือเวียดนาม7.5แสนล้นบาท 


"หากไม่เร่งปรับตัวเพื่อให้เกิดการแข่งขันได้ จะเกิดการปรับโครงสร้างการผลิตการลงทุนของประเทศ จากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและส่งผลกระทบต่อศักยภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

 

สิ่งสำคัญในการปรับตัวเพื่อเข้าสู่Digital Economy จะต้องตระหนักใน 3 เรื่องโครงสร้างกระบวนการและความรู้ความเข้าใจของประชากรของประเทศ ซึ่งการขับเคลื่อนทั้ง 3 แกนจะนำไปสู่News Business Modelของภาคธุรกิจ  สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง covid-19 ได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนแม้จะไม่ได้ประชาสัมพันธ์อย่างเพียงพอ ขณะที่รัฐบาลได้ตัดสินใจนำมาใช้ยกระดับในเรื่อง Digital Connectivityการช่วยเหลือประชากรเกือบ 20 ล้านคนโครงการเราไม่ทิ้งกันสามารถที่จะรับทราบความเดือดร้อนจากระบบลงทะเบียนภายใน 1 วัน


หลังจากนั้นได้มีบูรณาการมาอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขที่ได้จากไทยแลน์ดิจิทัลแพลตฟอร์มตั้งแต่โครงการมารดาน้ำนมบุตรเด็กแรกเกิด   การกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)   เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละครึ่ง ซึ่งระบบของรัฐที่มีประชากร 40 ล้านคนได้เริ่มขยับสู่ระบบดิจิทัลแพลตๆของรัฐบาลดิจิลแพลตไแล้ว


โครงการเบี้ยยังชีพต่างๆตลอดจนถึงผู้สูงอายุและการช่วยเหลือภายใต้ covid ไม่ว่าจะเป็นคนละครึ่ง


และส่วนสุดท้าย คือ One Thailand Digital Platformต้องตอบโจทย์ของการเป็นOpen  Platform ที่สามารถให้ทุกภาคส่วนมาเชื่อมโยง ทั้งภาครัฐบาล เอกชนและประชาชน ซึ่งซึ่งการเปลี่ยนผ่านจากปี 2563 เข้าสู่การ Restart ในปี 2564 จะสามารถต่อยอดเชื่อมแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะ SME ที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งสร้างแพลตฟอร์ม e-Market Placeหรือบูรณาการโลจิสติกส์เพื่อนำส่งสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ 


"โดยสรุปเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจะเดินเข้าสู่ยุคความเปลี่ยนแปลงหรือ Next Normal ทั้งหมดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจเตรียมพร้อมปรับตัวเพื่อหาโอกาสในการเติบโตแบบยั่งยืน"