นวัตกรรมความหวังใหม่ เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (9)

19 ธ.ค. 2563 | 02:00 น.

 

 

คอลัมน์เศรษฐทัศน์ โดย รศ.(พิเศษ) ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,637 หน้า 5 วันที่ 20 - 23 ธันวาคม 2563

 

ในตอนนี้จะได้กล่าวถึง นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) ต่อหลายๆ คนอาจคิดว่าเวลาพูดถึงนวัตกรรมที่เกี่ยวกับสังคมคงเป็นเรื่องทันสมัยในยุคนี้ซึ่งกาลังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของผู้คนกัน ที่จริงในแต่ละยุคสมัยในอดีตที่ผ่านมาเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดปัญหาตามมา ก็จะเกิดนวัตกรรมทางสังคมตามมาทั้งนั้น อาจเกิดจากจุดเล็กๆ ก่อน จนเมื่อปี Momentum ที่แรงพอ และคนส่วนใหญ่เริ่มยอมรับก็จะร่วมผลักดันให้นานวัตกรรมทางสังคมนั้นไปใช้และยอม รับกันว่าเป็นมาตรฐาน (Standards) ของสังคมในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของ สหกรณ์ (Cooperatives) สหภาพการค้า (Trade Unloss) สหภาพแรงงาน (Labor Unions) ในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางสังคม อันตามมาจากผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทาให้พ่อค้าหรือแรงงานเกิดการรวมกลุ่มในขณะนั้น ซึ่งขณะที่เกิดนวัตกรรม ผู้คนส่วนใหญ่คงรู้สึกแปลกๆ แต่เมื่อเห็นประโยชน์ว่าช่วยดูแลผลประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรม คอยช่วย Balance มีผลประโยชน์เกิดการผูกขาดในที่สุด เกิดความคุ้นชินและยอมรับนวัตกรรมดังกล่าวในที่สุด 

นวัตกรรมทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จาเป็นไม่ว่ายุคสมัยใด การส่งเสริมให้เกิดขึ้น และผลักดันให้นำไปใช้อย่างกว้างขวางจึงเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสังคมซึ่งยังมีอีกมากมายไม่ว่า โลกจะมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม บทความในตอนนี้จะมุ่งเน้นอธิบายวงจรและกระบวนการของนวัตกรรมทางสังคมที่เรียกว่า “The Innovation Spiral” เพื่อให้เข้าใจจุดกำเนิดและการเติบโตของนวัตกรรมทางสังคมที่จะอยู่รอดได้และสร้างประโยชน์ให้กับโลกนี้ 

 

 

รูปที่ 1 The Information Spiral

 

 

นวัตกรรมความหวังใหม่  เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (9)

 

Source : https://www.nesta.org.uk/feature/innovation-methods/ 

จากรูปอธิบายวงจรของนวัตกรรมทางสังคมจากจุดเริ่มต้นจนประสบความสำเร็จ ดังนี้

 

 

Opportunities and Challenges 

การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมควรจะต้องตอบโจทย์ปัญหาของผู้คนในสังคม ซึ่งการตอบโจทย์ความต้องการจากหลายวิธีการ เช่น การสังเกต การพูดคุยกับคนที่ต้องการให้แก้ปัญหาเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น พวกเขาอาจมีแนวคิดที่จะแก้ไข แต่ไม่มีคนช่วย หรืออาจไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร แต่อยากให้มีคนมา ช่วยแก้ ซึ่งผู้พัฒนานวัตกรรมทางสังคม (Social Innovators) จะต้องมองการค้นหาข้อมูล และวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบนี้เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการจะสร้างนวัตกรรมทางสังคมขึ้นมา 

การค้นหาความต้องการอาจ จากกลุ่มคนที่มีความทุกข์หรือโกรธแค้นกับปัญหาเหล่านั้น (Angry individuals and groups) อาจมาจากกลุ่มคนที่ทำกิจกรรมแก้ไขปัญหาอยู่ (Campaigns) หรือแม้แต่การสังเกต (Careful observation) เป็นต้น 

Social Innovations ต้องมีคุณสมบัติในการพูดคุยอย่างเป็นมิตร เป็นกันเอง รวมทั้งการเป็นผู้ฟังที่ดี จึงจะสามารถเห็นถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้คน เห็นถึงปัญหาที่ประชาชนกาลังเผชิญอยู่ บางครั้งแนวคิดดีๆ อาจได้จากการไปพูดคุยกับชาวบ้านแบบธรรมดาๆ การเห็นอกเห็นใจ (Emphathy) ถือว่าเป็นจุดตั้งต้นที่ดี รวมทั้งการเข้าใจผู้คนตามหลักมนุษยวิทยา (Ethnography) จะเป็นเครื่องมือที่ดียิ่งกว่าการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงด้วยซํ้า 

เมื่อทราบปัญหาและความต้องการ เราต้องมองต่อไปอีกว่าสามารถค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ (New Possibilities) มาตอบโจทย์ได้หรือไม่ New Possibilities บางกรณีเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก็ได้ ตัวอย่างเช่น ในปี 2017 เทศบาลนคร Tilberg ของเนเธอร์แลนด์ได้อนุญาตให้ผู้สูงอายุในเมือง Download โปรแกรม Application ที่สามารถให้พวกเขาควบคุมไฟจราจรให้มีเวลานานขึ้นในจุดที่เขาจะข้ามถนนได้ หรือในเมือง Lima ของเปรู ที่ ให้มีการติดตั้ง GoPro Camera เพื่อคอยติดตามดูแลหากมีคนที่แอบทิ้งขยะแบบไม่เป็นที่เป็นทางเป็นต้น 

 

 

 

 

Generating Ideas 

เมื่อทราบปัญหา ความต้องการ ความเป็นไปได้ในการจะแก้ปัญหาในขั้นตอนที่ 2 นี้ก็คือ รวบรวมแนวคิดต่างๆ ที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวคิดเหล่านี้เดิมก็อาจจะมีอยู่แล้ว แต่อยู่กระจัดกระจาย เราอาจมองเห็นมันอยู่ตั้งแต่ในขั้นตอนแรกที่เราเก็บข้อมูล ตอนนี้ก็สามารถรวบรวมสรุปวิธีการต่างๆ อาจทำให้เราเห็นวิธีแก้ไขที่เป็นจุดร่วมและชัดเจนขึ้น 

บางองค์กรใช้วิธีที่เรียกว่า “Formal Creativity Methods” เช่น การแบ่งคนออกเป็นกลุ่มแบบอิสระ (Free Groups) เพื่อให้ร่วมกันคิดแบบ ชี้จินตนาการ แล้วค่อยร่วมกันมาหาจุดที่เป็นวิธีการใหม่ (New Patterns) หรือบางองค์กรก็ให้การคิดออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมที่จะตอบโจทย์ โดยให้ไปลองกับกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้างรับมือได้ยาก (Toughest Customers) 

 

Developing & Testing 

ในขั้นที่ 3 นี้ จะเริ่มนำแนวคิดที่ดีและเป็นไปได้จากมากไปน้อย โดยนำไปทดสอบในทางปฏิบัติแล้ว เราจะต้องจัดเรียงแนวคิดที่เป็นไปได้สูงๆ ก่อน เนื่องจากการทดลองต้อง ใช้ทรัพยากร เช่น งบประมาณและเวลาซึ่ง Social Innovator มีจำกัดอีกทั้งโอกาสที่จะล้มเหลวมีสูงมาก จึงไม่สามารถจะพัฒนาตัวแบบหลายๆ อัน และทดสอบพร้อมๆ กันได้ 

โดยปกติ Social Innovators ส่วนใหญ่จะร้อนวิชา คือ พอคิดว่ามี Ideas ที่ดี ก็จะอยากลองทำ Prototype และทดสอบด้วยตนเองเลย ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะการรอคอยสนับสนุนจากภาครัฐและแหล่งทุนอื่นๆ อาจมีความล่าช้า อยากลองให้เห็นก่อนเพื่อเอาเป็นตัวอย่างไปเสนอต่อไป ซึ่งก็สามารถทำได้หากไม่เกินกำลังทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ เพราะในชั้นต้นนี้ Social Innovators ก็ต้องยอมรับว่า Prototype นี้อาจไม่เกิดผลดังที่ต้องการก็ได้ 

 

 

นวัตกรรมความหวังใหม่  เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (9)

 

 

Making the case 

ถ้าสร้าง Prototypes และนำไปต่อ ยอดแล้วได้ผลตอบรับที่ดี Social Innovator ก็อาจจะลองซํ้าๆ กับกลุ่มตัวอย่างเดิม หรือเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาข้อสรุปที่แข็งแรงขึ้นว่า Prototype มีความเหมาะสมหรือในบางกรณีมีการปรับปรุง Prototype เดิมให้มีการพัฒนาตอบโจทย์ได้ดีขึ้น โดยโจทย์ดังกล่าวบางครั้งเราอาจมาทราบภายหลังไม่ได้คิดมาก่อนตั้งแต่ต้น แต่ได้จากขั้นตอนการปรับปรุง จนทำให้ได้ Prototype ที่เหมาะสมมากกว่าเดิม 

 

Delivering and Implementing 

เมื่อถึงขั้นนี้ Social Innovator จะมีความมั่นใจในตัว Final Prototype มากขึ้น และยังเห็นชัดถึง Process ที่จะเอา Prototype ออกไปให้บริการ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็น Business Model โดยอาจเลือกพื้นที่หรือกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นมาให้บริการหรือได้รับประโยชน์จาก Prototype นั้น และคอยดูทั้งความพึงพอใจ รายได้ และค่าใช้จ่าย จุดคุ้มทุน ในขั้นนี้ หากยังมีข้อควรปรับปรุงก็ต้องย้อนกลับมาทาให้ Prototype มีความสมบูรณ์มากขึ้นได้อีก 

 

 

 

 

 

Growing and Scaling 

ถ้าผ่านขั้นที่ 5 ก็ยืนยันได้ว่า Idea ถูกพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับผ่าน Prototype และ Business Model แล้ว ก็ต้องหาวิธีให้เกิดการเติบโตต่อไป อาจใช้วิธีที่เรียกว่า Organic Growth คือ โตจากภายใน เช่น แสวงหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายให้เกิดการเติบโต จากยอดขายตาม Business Model ของเรา โดยการลงทุนในสินทรัพย์เพื่อให้มีกาลังเพิ่มขึ้น หรืออาจใช้วิธี Franchising โดยอาศัยเงินทุนของคนอื่นที่สนใจจะลงทุนโดยได้รับลิขสิทธิ์จากเรา 

ในขั้นตอนนี้เราต้องอาศัยพันธมิตรเพิ่มเติมอีกไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมทุน คู่ค้า ผู้บริหารใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยเป็นต้น การสร้างและการบริหาร Networks จึงเป็นความรู้และทักษะสาคัญ หากมาถึงขั้นนี้ Social Innovators ต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองมาเป็น Social Entrepreneur และต้องพัฒนาความรู้ความสามารถที่จะบริหารองค์กรที่มีแทนของธุรกิจ คือ Platform ที่ขับเคลื่อน Social Innovation นั้นให้เติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป 

 

Changing System 

Social Innovation ที่ประสบความสำเร็จ เช่น Facebook, Google เป็นต้น เมื่อตอนเริ่มต้นจะไม่มีใครคาดคิดเลยว่าจะสามารถมีส่วนที่จะไปเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในสังคม และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนได้ ซึ่งก็ได้เปลี่ยนชีวิตของคนที่คิดค้นเช่นกัน จาก Social Innovator ธรรมดา กลายเป็น Social Entrepreneur ที่ประสบความสาเร็จมีชื่อเสียงและความมั่งคั่ง แต่ที่สาคัญเหนือกว่าสิ่งเหล่านี้ คือ Social Innovation เหล่านั้นได้สร้างประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้แก่มนุษยชาติ หรือได้ช่วยลดปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น 

แม้ว่าผู้พัฒนา Social Innovation ล้วนอยากเดินทางมาให้ถึงขั้นที่ 7 นี้ แต่ต้องยอมรับตามธรรมดาของโลกมีทั้งรุ่งโรจน์ได้ก็เสื่อมถอยได้ ในขั้นที่ 6 และ 7 เราอาจเจอกับคู่แข่งรายใหม่ที่อาจพัฒนาได้ดีกว่า ตอบโจทย์ได้มากกว่า Social Entrepreneur ในขั้นนี้จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อยังคงตอบโจทย์ทางสังคมที่เป็นประโยชน์ และคงเป็นดาวค้างฟ้าในฐานะผู้ขับเคลื่อน Social Innovation ต่อไป 

สำหรับประเทศไทยเอง ปัญหาทางสังคมเรามีไม่ใช่น้อย ถ้ามองเป็นโอกาส และความท้าทายที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ในอนาคต ก็แปลว่า เรายังต้องการ Social Innovators และ Social Entrepreneur อีกมาก และในขั้นตอนของ Innovation Spiral ก็ยังต้องการความช่วยเหลือและความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องกันอีกมาก มาช่วยกันสนับสนุนให้เกิด Social Innovations ในประเทศไทยกันให้มากๆ กว่านี้นะครับ