หลักฐานถึงตำรวจสาวเอาผิดทุจริต“เราเที่ยวด้วยกัน”

16 ธ.ค. 2563 | 06:52 น.

 ผู้ว่าฯททท.ยื่นหลักฐานตำรวจ เอาผิด“โรงแรม-ร้านค้า-ร้านอาหาร 514 แห่ง” ทุจริตโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เปิด 6 รูปแบบทุจริต “รองผบ.ตร.”มอบกองปราบลุยสอบ

วันนี้(16 ธ.ค.63) นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)  นำข้อมูลโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร จำนวน 514 แห่ง ที่ต้องสงสัยทุจริตโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”  มอบให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ทำการตรวจสอบหาตัวผู้กระทำผิด

 

นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า  ททท. ตรวจพบธุรกรรมที่ต้องสงสัยมีแนวโน้มไปในทางฉ้อโกงหลายรูปแบบ ซึ่งมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นโรงแรม ร้านค้า และประชาชนที่ร่วมขบวนการ พบว่า มีโรงแรมที่เข้าข่ายพฤติกรรมต้องสงสัยจำนวนประมาณ 312 ราย ในส่วนของร้านค้ามีประมาณ 202 ราย

 

“การยื่นหนังสือเพื่อดำเนินคดีการทุจริตครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการกระทำผิดในส่วนของการขยายจำนวน และเวลาการใช้สิทธิ ของโครงการฯนี้ ในเฟส 2 ต่อไป”

 

ด้าน พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจาก พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ให้มารับหนังสือ โดยทราบว่า โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยทางเจ้าของแอพพลิเคชั่น รวมถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบการกระทำความผิดที่เข้าข่ายฉ้อโกงเงินของรัฐบาล จึงได้ส่งเอกสารมาให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบผู้เข้าข่ายกระทำความผิด

 

เบื้องต้นพบว่ามีหลายโรงแรม ร้านค้า เข้าข่ายกระทำความผิด ทั้งนี้ทาง สตช.จะมอบหมายให้กองบังคับการปราบปราม(บก.ป.) เป็นผู้รับผิดชอบคดี และเสนอให้ ผบ.ตร.ตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนทั่วประเทศ ทุกพื้นที่ที่มีร้านค้าหรือโรงแรมที่เกี่ยวข้อง ได้เป็นพนักงานสอบสวนร่วมในการดำเนินคดี ซึ่งตำรวจจะเร่งทำการตรวจสอบและนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ตำรวจต้องดำเนินคดีอาญา เราพยายามทำให้เร็วที่สุด เนื่องจากไม่อยากให้โครงการเฟสใหม่ชะลอลงไป และไม่อยากให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ฝากเตือนผู้ประกอบการร้านค้า และประชาชน ที่อาจกระทำโดยเจตนาหรือไม่เจตนา เพราะตำรวจมีวิธีการสืบสวนสอบสวน ซึ่งท่านจะหนีไม่พ้นความผิด ทั้งนี้โรงแรมหรือร้านค้าใด ต้องการเข้ามาพูดคุยเป็นการส่วนตัว ตนก็ยินดี สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดส่วนตัว แต่รัฐเป็นผู้เสียหาย หากผู้เสียหายยินยอม อาจจะถอนคำร้องทุกข์ได้

                                                     หลักฐานถึงตำรวจสาวเอาผิดทุจริต“เราเที่ยวด้วยกัน”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เปิด 6 พฤติกรรมโกงเงิน "เราเที่ยวด้วยกัน"

ร้องเรียนโกง "เราเที่ยวด้วยกัน" ถึงหู "บิ๊กตู่" สั่งกลางครม. ดำเนินคดีถึงที่สุด


"เราเที่ยวด้วยกัน" ที่พัก 5 ล้านคืนเต็มแล้ว รอรับสิทธิใหม่ 1 ล้านคืน 16 ธ.ค.นี้ 


"เราเที่ยวด้วยกัน"เงื่อนไขใหม่พร้อมเปิดให้รับสิทธิ16ธ.ค.นี้


"เที่ยวไทยวัยเก๋า" รอก่อน "เราเที่ยวด้วยกัน"เงื่อนไขใหม่ แซงเข้าครม.8 ธ.ค.นี้


สูงวัยเฮ ศบศ.ไฟเขียว 5 พันบาท “เที่ยวไทยวัยเก๋า”ปรับเกณฑ์ “เราเที่ยวด้วยกัน”

นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ตามข้อมูลที่ทางเรามีอยู่ผู้ที่กระทำความผิดก็จะอยู่ในส่วนของเจ้าของกิจการ ในส่วนของร้านค้า ที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ใช้สิทธิ์บางส่วนด้วย ซึ่งกรณีที่ 1 ก็คือมีการเข้าที่พักราคาถูก ที่เช็คอินโรงแรมแล้ว ไม่ได้เข้าพัก และได้คูปองอาหาร

 

กรณีที่ 2 คือส่วนของโรงแรมขึ้นราคาที่พักโดยที่ไม่สมเหตุสมผล เพื่อ จะกินส่วนต่างของงบประมาณรัฐบาล

 

กรณีที่ 3  เป็นโรงแรมที่มีตัวตน แต่ปิดกิจการที่ได้รับผลกระทบ แต่มีการขายห้องพักออกมา และมีการเข้าไปเช็คอินด้วย

 

กรณีที่ 4 ก็คือการใช้ส่วนต่างของคูปองเเลกเป็นเงิน

 

กรณีที่ 5 เป็นกรณีที่เข้าพักจริง เป็นกรุ๊ป แต่มีเงินทอนให้

 

กรณีที่ 6 ก็คือโรงแรมที่มีห้องพักประมาณ 100 ห้อง แต่ขายห้องพักถึง 300 ห้อง แล้วมีการโอนไปห้องโรงเเรมอื่น เป็นต้น

 

ซึ่งอันนี้เป็นข้อมูลที่มีในเบื้องต้น คิดว่ากรณ๊ที่พบการทุจริตมากที่สุด คือกรณีที่ 1 การเข้าพักห้องพักที่ราคาถูก แล้วใช้ประ โยชน์กับคูปอง และกรณีที่ 2 ที่โรงแรมขึ้นราคา ความเสียหายต่อรัฐคิดว่ายังอยู่ในวงที่จำกัด จริง ๆ แล้วอาจ จะมีบางอย่างที่มันเกี่ยวข้องโดยตรง อย่างเช่น ของการที่เราไปปลดล็อค ในการที่อัพในจังหวัดที่ตัวเองอยู่ได้ ซึ่งตรงนี้เริ่มต้นประมาณวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา

 

“มันสะท้อนให้เห็นว่าการใช้สิทธิ์มีเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ช่วงเเรกของโครงการมีแค่ประมาณ 10,000 กว่าห้อง พอหลังจากที่เราปลดล็อคเเล้วเพิ่มมาประมาณ 50,000 คน ที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ซึ่งตรงนี้ก็เป็นการตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการทุจริตนี้ จำนวนโรงแรมที่เข้าข่ายมี ประมาณ 312 โรงแรม เมื่อเทียบกับจำนวนโรงแรมที่ประชาชนเข้าไปเช็คอินทั้งหมดภายใต้โครงการนี้ประ มาณ 4,800 โรงแรม ส่วนร้านค้า ร้านอาหาร ที่เข้าข่ายมีประมาณ 202 แห่ง เมื่อเทียบกับร้านค้าที่เข้าร่วมประ มาณ 65,000 แห่ง”

 

 คดีนี้เป็นของทางตำรวจที่ต้องดำเนินคดีอาญา ซึ่งทางตำรวจก็จะพยายามทำให้เร็วที่สุดและดีที่สุด เนื่องจากว่าเราไม่อยากให้โครงการที่ชะลออยู่ ช้าลงไปอีก เพราะหลังจากที่เปิดโครงการขึ้นมาอีก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาอีก ก็อยากจะฝากเตือนผู้ประกอบการ ร้านค้า หรือประชาชน ที่อาจ จะกระทำโดยเจตนา หรือไม่เจตนา พ่วงกับการมีการชักจูงต่าง ๆ ซึ่งต่อไปนี้ทางตำรวจก็จะมีการสอบสวน สืบสวน อาจจะหนีไม่พ้นกับการดำเนินคดี

 

“อยากฝากเตือนว่า ถ้ามีโครงการรัฐดี ๆ ออกมาไม่อยากให้เสียโอกาสของคนอื่น และเสียเงินของรัฐโดยเปล่าประโยชน์ อยากฝากว่าอย่าทำอีกเลย หลังจากที่เราดำเนินคดีกับผู้ที่ทำผิดไปแล้ว พวกที่เปิดเฟสใหม่ก็อย่าคิดจะทำอีก ซึ่งหลังจากนี้จะมีการสืบสวนสอบสวนผู้ทุจริต ส่วนผู้ประกอบการรายไหนอยากจะมาคุยส่วนตัวก็ยินดี ก็คงไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งคดีฉ้อโกงเป็นคดีความผิด ส่วนตัว ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย ถ้าเกิดผู้เสียหายยินยอมก็อาจจะถอนการฟ้องดำเนินคดีได้”

 

ทั้งนี้ การทุจริตนี้ยังไม่เจาะจงว่าจังหวัดไหนเยอะที่สุด แต่มีอยู่ทุกพื้นที่ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินการก็จะดำเนินกับทุกคนที่มีส่วนร่วมกับการทุจริต ซึ่งในเรื่องของการชะลอตัวโครงการในเฟส 2 เรื่องนี้ทางรัฐบาลน่าจะเปิดโครงการในไม่ช้านี้ รอให้มีความชัดเจนในส่วนของคดีนี้ก่อน และหาช่องว่างมาแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้อีก สำหรับ 1 ล้านห้องต่อคืน ที่จะขยายเพิ่ม มีมติออกไปแล้วจนถึงวันที่ 30 เมษายน ดังนั้น ยังมีเวลาพอที่จะให้ไปเที่ยวทางรัฐบาลจึงไม่เป็นกังวล