รายงานสถานการณ์ภัยแล้ง ประจำวันที่ 20 เมษายน 2559

20 เม.ย. 2559 | 03:08 น.
1. สภาพภูมิอากาศ

ในช่วงวันที่ 19-21 เมษายน 2559 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ก าแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ดนครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้วฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด ระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง ซึ่งภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว ทำให้เกิดความแตกต่างของมวลอากาศและมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น2. สภาพน้ำท่า

สถานการณ์น้ำ: ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำป่าสัก มีแนวโน้มทรงตัวคุณภาพน้ำ3. สภาพน้ำในแหล่งน้ำ

3.1 สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง 481 แห่ง มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 11,117 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22  ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรวม 11.97 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายรวม 67.12 ล้าน ลบ.ม.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 อ่างฯ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ มีปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 2,010 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 11 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างรวม 2.19 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายรวม 17.88ล้าน ลบ.ม.

3.2 สถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำอื่นๆ

1) แหล่งน้ำอื่นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ทั้งประเทศ จำนวน 352,528 บ่อ ความจุรวม 352.53 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาตรน้ำ 124.41 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35.29 ของความจุทั้งหมด (ณ วันที่ 6 เมษายน 2559)

- อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ทั้งประเทศ จำนวน 4,789 แห่ง ความจุรวม 1,819.87 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาตรน้ำรวม 937.14 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51.49 ของความจุทั้งหมด (ณ วันที่ 6 เมษายน 2559)

2) แหล่งน้ำที่ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 เมษายน 2559)

- โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำจำนวน 14,091 แห่ง ความจุรวม 1,161.07 ล้าน ลบม. มีปริมาตรน้ำรวม 313.22 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26.98 ของความจุทั้งหมด

3) ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 เมษายน 2559)

- แหล่งเก็บน้ำอื่นๆ ได้แก่ แหล่งน้ำในและนอกเขตชลประทาน สระน้ำในไร่นาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ความจุรวม 1,127.39 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาตรน้ำรวม 417.57 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 37.04 ของความจุทั้งหมด

3.3การจัดสรรน้ำ

แผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2558/59 (วันที่ 1 พ.ย. 2558 – 30 เม.ย. 2559) ณ วันที่ 1 พ.ย. 2558 ปริมาตรน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้ จำนวน 20,035 ล้าน ลบ.ม. โดยวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศจำนวน 11,420 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 3,200 ล้าน ลบ.ม. ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล 900 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 1,800 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 200 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 300 ล้าน ลบ.ม.

ผลการจัดสรรน้ำ (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง) ทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง ปัจจุบันใช้น้ำไปแล้ว 10,520 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 92 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพลสิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ) วันนี้ใช้น้ำไป 17.88 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 2,873 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนจัดสรรน้ำ

4. การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2556 โดยกระทรวงมหาดไทย(ปภ.)

1) การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง)ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556

-จังหวัดประกาศเขต(ภัยแล้ง)จำนวน 30 จังหวัด 176อำเภอ 831ตำบล 6,856 หมู่บ้าน

- สถานการณ์คลี่คลายแล้ว จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก และร้อยเอ็ด

- ปัจจุบันคงเหลือ จำนวน 27 จังหวัด 136อำเภอ 614ตำบล 4,911 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 6.55 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พะเยา สุโขทัย นครสวรรค์ น่าน พิจิตรลำพูน ตาก นครราชสีมา นครพนมมหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ชัยนาท สระบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี ตราด สตูล กระบี่ตรังและนครศรีธรรมราช

- จังหวัดที่ประกาศเขตฯ แบ่งเป็น

1. จังหวัดที่ช่วยเหลือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค จำนวน 10 จังหวัด 27อำเภอ 105 ตำบล 683 หมู่บ้าน(จ.น่าน สุรินทร์ ชัยนาท ชลบุรี ขอนแก่น สระบุรีพิจิตร ลำพูน ตรังและตาก)

2. จังหวัดที่ช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรจำนวน 9 จังหวัด 53อำเภอ 243 ตำบล 1,987 หมู่บ้าน(จ.เชียงใหม่ พะเยา สุโขทัย นครพนม มหาสารคาม บุรีรัมย์ กาญจนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี)

3. จังหวัดที่ช่วยเหลือน้ำเพื่อการอุปโภค และน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 8 จังหวัด 43 อำเภอ 192 ตำบล 1,553 หมู่บ้าน (จ.นครสวรรค์ เพชรบุรี อุตรดิตถ์ สตูล นครราชสีมา ตราด กระบี่ และนครศรีธรรมราช)

- พื้นที่การเกษตรเสียหายจำนวน 16 จังหวัด เกษตรกร 172,842 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1.66 ล้านไร่

วงเงินขอรับความช่วยเหลือ 1,838.29 ล้านบาท ช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วจำนวน 32,912 ราย พื้นที่ 307,122.75 ไร่ วงเงิน 341.88 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 139,930 ราย พื้นที่ 1,343,956.50 ไร่ วงเงิน 1,496.41 ล้านบาท

- การประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ

ช่วงภัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1.65 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณผลผลิต 996,525.52 ตัน มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 7,092.17 ล้านบาท หากพิจารณาความเสียหายตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 2.87 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณผลผลิต 6,101,050.38 ตัน มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 15,514.65 ล้านบาท

2) การใช้จ่ายเงินเชิงป้องกันหรือยับยั้ง รวม 28 จังหวัด รวมกรอบวงเงินทั้งสิ้น 127.64ล้านบาท แบ่งเป็น

- ค่าจ้างแรงงาน 22 จังหวัด 185,646 ราย กรอบวงเงิน 58.68 ล้านบาท

- การฝึกอบรมอาชีพ 14 จังหวัด 189 รุ่น (เฉลี่ยรุ่นละ 60 คน) กรอบวงเงิน 21.22 ล้านบาท

- การซ่อมแซมระบบประปา 7 จังหวัด 23 แห่ง กรอบวงเงิน 4.99 ล้านบาท

- การเป่าบ่อบาดาล 21 จังหวัด 3,569 บ่อ กรอบวงเงิน 35.65 ล้านบาท

- ขุดลอกแหล่งน้ำ 5 จังหวัด 49 โครงการ กรอบวงเงิน 7.10 ล้านบาท

5. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

มติครม. วันที่ 22ก.ย. 58วันที่ 6ต.ค.58 และวันที่ 24 พ.ย. 58 เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 จำนวน 8มาตรการ

1. มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

1.1 โครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 พ.ย. 58 อนุมัติกรอบวงเงิน 971,979,936 บาท

- งบปกติจำนวน 37.10 ล้านบาท แบ่งเป็น กรมปศุสัตว์ 35.02 ล้านบาท กรมพัฒนาที่ดิน 2.08 ล้านบาท

- สำนักงบประมาณอนุมัติเงินงวดแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 58 ให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมพัฒนาที่ดิน

1.2 ลดค่าครองชีพโดยจำหน่ายสินค้าราคาเหมาะสม โดยกระทรวงพาณิชย์

1) จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพราคาประหยัด โครงการ “ธงฟ้า ช่วยภัยแล้ง” มีผลจัดจำหน่ายสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง 25มีนาคม 2559จำนวน 356ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 85.17ของเป้าหมาย (418ครั้ง) ในพื้นที่ 21 จังหวัด มีมูลค่าการจำหน่ายรวม 40.55 ล้านบาท และลดภาระค่าครองชีพ 27.04 ล้านบาท และมีประชาชนเข้าร่วมงาน 164,995 คน

2) ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาให้มีศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm outlet) มีเกษตรกรได้รับได้รับผลประโยชน์จากโครงการฯ จำนวน 40,730ครัวเรือน

3) จัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนแห่งใหม่ 6 แห่ง จากเดิมมี 25 แห่ง รวมมี 31 แห่ง ได้จำดำเนินการเชื่อมโยงตลาด/รองรับผลผลิตดำเนินการโดยนำสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกพืชระยะสั้นและใช้น้ำน้อย ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ปัตตานี ชัยภูมิ ก าแพงเพชร หนองคาย พิษณุโลก น่าน ลำปาง สุพรรณบุรี สระแก้ว2. มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ ที่เกษตรกรมีภาระหนี กับสถาบันการเงิน

2.1 การลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส.ป.ก)

2.2 การให้สินเชื่อและการขยายระยะเวลาชำระหนี้ โดย ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสิน

ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสิน ให้สินเชื่อแล้วทั้งสิ้น 126,874 ราย วงเงิน 6,351.27 ล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อเกษตรกร 65,213 ราย วงเงิน 1,572.90 ล้านบาท และสินเชื่อประชาชน 61,661 ราย วงเงิน 4,778.37 ล้านบาท2.3 ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กสส.)

มติครม.วันที่ 24 พ.ย. 58 อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สัญญากู้ระยะสั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2559 ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน ภายในกรอบวงเงินไม่เกิน 206,233,000 บาท โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดทำรายละเอียดมูลหนี้ที่เกิดขึ้นจริง ตามผลการดำเนินงานประจำปีและเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป

2.5 แผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน โดย ธ.ก.ส.

- สนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท ระยะเวลาชำระหนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนไม่เกินระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน และเพื่อการลงทุนระยะเวลา ไม่เกิน 5 ปี

-สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ลูกค้า จำนวน 17กลุ่ม วงเงิน 20.25ล้านบาท แบ่งเป็น ภาคเหนือ 8 กลุ่ม 8.40 ล้านบาท

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กลุ่ม 1.85 ล้านบาท ภาคตะวันออก 1 กลุ่ม 1.0 ล้านบาท ภาคใต้ 4 กลุ่ม 9.0 ล้านบาท

2.6การให้ความช่วยเหลือของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยแล้ง

-คณะกรรมการบริหาร กพส. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 300 ล้านบาท ให้สหกรณ์กู้ปลอดดอกเบี้ย ระยะเวลา 6 เดือน

-กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สำรวจการขอรับการช่วยเหลือของสหกรณ์ใน 22 จังหวัด

- สหกรณ์ขอรับการจัดสรรรวม 19 จังหวัด และกรมฯ พิจารณา จัดสรรเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยให้สหกรณ์รวม 183 สหกรณ์ จำนวนวงเงินที่จัดสรรรวมทั้งสิ้น 300 ล้านบาท

- ผลการเบิกจ่ายเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ข้อมูล ณ วันที่ 11 เม.ย.2559 จังหวัดที่ขอเบิก จำนวน 19 จังหวัด 134 สหกรณ์ วงเงิน 246.338 ล้านบาท

2.7การช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ขอความร่วมมือสหกรณ์ให้ความช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ข้อมูล ณ วันที่ 11 เม.ย.25593. มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรการจ้างแรงงานแล้ว 343,458 ราย เบิกจ่ายแล้ว 2,671.83 ล้านบาท

3.1 จ้างงานชลประทาน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชป.) ณ วันที่ 11 เม.ย. 2559

มีการจ้างงาน 8,747,233 คน-วัน (140,011 คน) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 178,512 คน-วัน (82 คน) เบิกจ่ายแล้ว 2,628.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.63 ล้านบาท

3.2 จ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือ โดยกระทรวงแรงงาน ณ วันที่ 29 มี.ค. 2559 มีการจ้างแรงงาน รวม 17,883 ราย 733 กิจกรรม ในพื้นที่ 46 จังหวัด เบิกจ่ายแล้ว 39.07 ล้านบาท

- จ้างแรงงานเร่งด่วน ผู้เข้าร่วม 7,654 ราย ดำเนินการ 249 กิจกรรม

- พัฒนาทักษะฝีมือ ผู้เข้าร่วม 10,229 ราย ดำเนินการ 484 กิจกรรม

3.3 จ้างงานจากเงินเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน มีการจ้างแรงงาน จำนวน 185,646 คน เบิกจ่ายแล้ว 58.29 ล้านบาท ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ สระบุรีพระนครศรีอยุธยา ราชบุรีฉะเชิงเทรา ก าแพงเพชร ลพบุรี อ่างทอง หนองบัวลำภู ชัยนาท สกลนคร กาฬสินธุ์ ลำปาง ปราจีนบุรี กระบี่ กาญจนบุรี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สิงห์บุรี นครปฐม ขอนแก่น นครสวรรค์ และสระแก้ว

ที่มา ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง