กรุงไทยฝ่าวิกฤตพายุปี 2021

07 ธ.ค. 2563 | 21:26 น.

ชู 5เสาหลักสู่ความยั่งยืนของธนาคารกรุงไทย ปีหน้าเร่งสร้างเสถียรภาพ-ประคองเอ็นพีแอล หลังสิ้นปีนี้ไม่เกิน 5%

ชู 5เสาหลักสู่ความยั่งยืนของธนาคารกรุงไทย ปีหน้าเร่งสร้างเสถียรภาพ-ประคองเอ็นพีแอล หลังสิ้นปีนี้ไม่เกิน 5% 

กรุงไทยฝ่าวิกฤตพายุปี2021ชู 5เสาหลักสู่ความยั่งยืนของธนาคารกรุงไทย  ปีหน้าเร่งสร้างเสถียรภาพ-ประคองเอ็นพีแอล หลังสิ้นปีนี้ไม่เกิน 5%  ด้านสถานะไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามพ.ร.บ.งบประมาณเป็นการเปลี่ยนรูปแบบไม่ใช่สาระสำคัญ ย้ำยังเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ
 
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (KTB) เปิดเผยถึงภาพรวมในปี2564 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่อัตราประมาณ 3% ขณะที่การส่งออกยังกระจุกตัวในกลุ่มรถยนต์  อิเล็คทรอนิกส์  ซึ่งแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิยังมีความไม่แน่นอนสูง หากไม่สามารถปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ  ที่สำคัญหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงซึ่งจำต้องพิจารณาใน 2มิติ คือ ไม่สามารถจะลดภาระหนี้ครัวเรือนลง  หากไม่สามารถเพิ่มรายได้
ส่วนธุรกิจธนาคารนั้น คาดว่าอัตราเติบโตของสินเชื่อของธนาคารน่าจะขยายตัวล้อตามประมาณการของจีดีพี  แต่ประมาณการเติบโตของสินเชื่อดังกล่าวอยู่ในยุทธศาสตร์ 5 เสาหลัก หรือ 5Execution  Pillars ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ฝ่าวิกฤติพายุปี 2021 (Execution through the perfect Strom)โดยยังคงวัตถุประสงค์เดิมพร้อมเดินโมเดลธุรกิจแบบคู่ขนานทั้งเรือบรรทุกเครื่องบินเพื่อต่อยอดการเติบโตของธนาคารในระยะข้างหน้า  โดยเรือบรรทุกเครื่องบินนั้น ธนาคารได้เตรียมบุคลากรและมั่นใจในความร่วมมือเพื่อการรีสกิล อัพสกิลและย้ายข้ามถิ่นของพนักงาน   ส่วนSpeed Boat เริ่มเห็นผลงานของบริษัท อินฟินิธัส ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันหาธุรกิจใหม่ ซึ่งต้องคิดใหญ่และเรียนรู้ให้เร็ว  ซึ่งที่ผ่านมาการวางดิจิทัล Infrastructure ให้กับประเทศไทย นับเป็นผลงานของอินฟินิธัสซึ่งกำลังเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มให้รองรับผู้ใช้งานถึง 60ล้านคน
 
 
 
อย่างไรก็ตาม  5เสาหลักหรือ 5Execution  Pillars ได้แก่  1.การดูแลลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ประคองลูกหนี้ที่เป็นธุรกิจหลักดั้งเดิมให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ   ซึ่ง ภายใต้กฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ทำให้แต่ละธนาคารพาณิชย์สามารถดำเนินมาตรการดูแลลูกหนี้เพื่อให้ผ่านวิกฤตโควิดโดยเฉพาะภายหลังหมดมาตรการกลางของธปท.นำไปสู่มาตรการแต่ละธนาคารที่มีการแยกกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายได้มากขึ้นและทำให้ตอบโจทย์การปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารได้ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2564 เพราะฉะนั้นการจะนำไปสู่หน้าผาหนี้หรือNPL cliff ซึ่งธนาคารต้องประคองการตั้งสำรองเพื่อลดความชันของความเสี่ยงเอ็นพีแอลในช่วง 1 ปีข้างหน้า ขณะที่ปีนี้จะพยายามควบคุมเอ็นพีแอลไม่ให้เกิน5% จากปัจจุบันที่ 4.21%พร้อมเพิ่มความแข็งแกร่งเงินทุนสำรองต่อสัดส่วนของหนี้ด้อยคุณภาพหรือหนี้สงสัยจะสูญ (Loan Loss  Reserve Coverage ratio)ปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูง  125-130%
2.การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่บนรูปแบบของ Speed Boat หรืออินฟินิธัส  โดยพยายามเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นการขาย   เนื่องจากธนาคารมีพนักงานระดับสูงในบางสาขาที่บริการหลายอย่างจะถูกทดแทนด้วยดิจิทัล  อาทิ หน่วยงานคอลเซ็นเตอร์,การติดตามหนี้และการประเมินหลักทรัพย์ต่างๆ ดังนั้นการให้บริการจะต้องปรับรูปแบบเป็นพนักงานขาย (เซลล์) ที่สำคัญที่สุดโมเดลธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ทุกคนลองผิดลองถูกอยู่ บางอย่างผิดก็มีต้นทุนบางอย่างฟื้นตัวได้เร็วก็ต้องฟื้นตัวให้เร็ว
3.ลดการใช้กระดาษโดยเร่ง เร่งนำ RPA หรือ Robotic process automationมาใช้เพื่อจะดูแลองค์กรข้างในให้ใช้กระดาษน้อยที่สุดรวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาใช้ในการประเมินผลงานและกระบวนการพิจารณาสินเชื่อด้วย  ซึ่งเมื่อมีกระบวนการใหม่ทดแทนแรงงานและใช้เวลาสั้นลง ทำให้มีทรัพยากรเหลือเพื่อไปทำธุรกิจอื่น เป็นการยกระดับการแข่งขันและความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยซึ่งภาพรวมระบบธนาคารจะมีต้นทุนในการให้บริการประมาณ 40-45%โดยกรุงไทยต้นทุนปรับขึ้นเป็น 48%จาก 42%ซึ่งพยายามจะปรับลดลงให้อยู่ที่ระดับ 35% หรือ 31%เพื่อที่จะแข่งขันฟินเทค
 4 การทำธุรกิจกับคู่ค้าของลูกค้า  คือ การเชื่อมโยงของภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ผู้บริโภคและรัฐบาล เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ X2G2X” อยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งอนาคตจะเป็น Digital supply chain   5.กรุงไทยเคียงข้างไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่งจะต่อยอดจากโครงการต่างๆ ที่คืบหน้ามาระดับหนึ่งแล้ว  เช่น  กรุงไทยรักชุมชนโดยเริ่มต้นจากฐานลูกค้ากว่า 8 ล้านคนจนเพิ่มเป็น 12 ล้านกว่าคนและเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากฐานรากของไทย 14.6 ล้านคนที่มีรายได้น้อยที่สุดเป็นการตอบโจทย์เรื่องความเหลื่อมล้ำที่มีพัฒนาการจากบริการ อิเล็คทรอนิกส์  แบงก์กิ้ง และยกระดับเป็นดิจิทัล แบงก์กิ้งทุกตำบลในประเทศทำให้มีร้านค้าธงฟ้าหรือโชห่วยฐานรากเกือบ 9 ล้านร้านค้าด้วยการต่อยอดกับโครงการต่างๆอาทิ  ชิมช๊อปใช้เราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง  เป็นต้น
 

 

 

“ความท้าทาย 3แกนหลักซึ่งเป็นหัวใจของการปฎิรูปซึ่งทั่วโลกทำกันอยู่คือ ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางซึ่งคำนิยามไม่เหมือนเดิมเป็นเรื่องต้องเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ที่นำไปสู่ Personal Life Banking ,ต้องใช้เทคโนโลยี่มีส่วนร่วมทุกอย่างและปฎิรูปวัฒนธรรมองค์กรของการให้บริการ Customer Firstต้องฝังตัวไปอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกอย่างเชื่อมโยงทางดิจิทัล ต้อง One Stop Shop ต้อง Omni Channel ที่สำคัญต้องมีสมองประมวลตลอดเวลาในการตอบโจทย์พฤติกรรมในการให้บริการลูกค้า”
“วันนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือการประคองลูกหนี้ ให้ฝ่าวิกฤตไปได้  ดังนั้นก็น่าจะประคองเอ็นพีแอลไม่ให้ตัวเลขสูงขึ้น โดยแนวโน้มสำรองสูงจะต่อเนื่องไปถึงปีหน้า   เพราะวิกฤตนี้เหมือนวิ่งมาราธอน ที่มีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นภาพรวมปีนี้ และปีหน้าคงเป็นการประคองเอ็นพีแอล  ช่วยลูกหนี้ ไม่ใช่ปีแห่งการเร่งกำไรและเร่งการเติบโตแต่เป็นปีที่เร่งสร้างเสถียรภาพ”
ต่อข้อถามเรื่องสถานะกรุงไทยไม่เป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณนั้น   นายผยงกล่าวว่า  ความเป็นรัฐวิสาหกิจสำหรับผมมองเป็นการเปลี่ยนรูปแบบไม่ใช่สาระสำคัญ แต่มีการพูดกันมาก  ซึ่งตั้งแต่ก่อนผมรับตำแหน่งมาสิบปี  การวางตำแหน่งให้กรุงไทยแข่งขันแบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นเคพีไอพนักงานกรุงไทยทุกคน ไม่ใช่แบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ  โดยทุกปีใช้เงินจากการหมุนเวียนธุรกิจของธนาคารกรุงไทยปกติ  โดยปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) ยังถือหุ้นอยู่ 55% ตามพรบ.ธปท. หลังการเพิ่มทุนแต่การบริหารจัดการทางกระทรวงการคลังกำกับดูแลมาตลอด  นอกจากนี้การอ้างคำนิยามของพ.ร.บ.งบประมาณเป็นแค่หนึ่งพ.ร.บ. แต่ไม่ได้หลุดจากพ.ร.บ.ร่วมทุนพีพีพี หรือพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ และกรุงไทยยังอยู่ภายใต้พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด   พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  และธปท.ซึ่งไม่มีอะไร
 “ข่าวที่เราไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจในเชิงสาระสำคัญไม่มีอะไรแตกต่าง  เรายังเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐเปลี่ยนแปลง  ถามว่ากลไกจัดซื้อจัดจ้างก็ยึดหลักโปร่งใส  เป็นธรรม  ตรวจสอบได้  เพราะมีหมวดเชิงพาณิชย์ หรือการจัดตั้งบริษัทไปแข่งขันก็มีรูปแบบทำให้มีลูกหลานที่ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของไทยก็เป็นแบบนี้  ขณะเดียวกันไม่ได้เป็นห่วงเรื่องการตรวจสอบเพราะยึดหลัก Zero Tolerance อยู่แล้ว ”
นอกจากนี้ด้วยโครงสร้างที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ต้องแข่งขันและตอบโจทย์ผู้ถือหุ้นไปพร้อมกัน  จึงเป็นจุดแข็งพิสูจน์ความสมดุล ไม่เน้นกำไรสูงสุดในระยะสั้น และยังรวมถึงการดูแลคนไทยดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคมเศรษฐกิจด้วย