นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการสอบถามชาวนาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) บางพื้นที่ที่ได้นำข้าวเปลือกหอมมะลิมาขาย โดยสอบถามถึงปัญหาที่ทำให้เกิดข้าวเมล็ดสั้น เมล็ดแดงปนในข้าวหอมมะลิ มากกว่าทุกปี ทำให้ถูกปฏิเสธการรับซื้อ หรือซื้อในราคาถูก ส่งผลต่อคุณภาพของข้าวหอมมะลิ พอจะสรุปความได้ ดังนี้ 1.เมื่อปีที่แล้วพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ชาวบ้านจึงจำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวเดิมของตนเองในการเพาะปลูกเพราะประสบปัญหาภัยเเล้ง 2-3 ปี 2.มีรถคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวเข้าตามหมู่บ้าน คือใช้พันธุ์ข้าวของชาวบ้านมาผ่านตะแกรงกลมคัดเอาข้าวเม็ดแดงออก แต่ออกไม่หมด แต่ชาวบ้านคิดว่าคัดเอาข้าวเม็ดแดงออกหมดแล้วจึงนำมาใช้ทำพันธุ์ข้าวเพาะปลูก
3.สภาพอากาศที่แล้งต้นปีทำให้ข้าวหอมมะลิที่หว่านไปนั้นตาย พอได้ฝนก็เกิดขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดปัญหาว่าข้าวที่เกิดมาใหม่นี้ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ แต่เป็นข้าวเม็ดแดงเกิดแซมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก 4.ชาวบ้านเปลี่ยนพันธุ์ข้าวใหม่ แต่ไม่ได้ปรับปรุงพื้นนาที่เดิมที่มีข้าวเม็ดแดงตกหล่นในนา ทำให้ข้าวเม็ดแดงสะสมอยู่ในพื้นนา จึงเกิดข้าวเม็ดแดงปะปนมาใหม่ ดังนั้นคงต้องหาวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นในฤดูกาลหน้าโดยการจัดหาเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่ดีมีคุณภาพ และให้ความรู้กับเกษตรกรในการจัดการแปลงนาที่มีข้าวปนร่วงหล่นในแปลงนา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กด่วน "ประกันรายได้ข้าว" วุ่น “นบข.” นัดถกด่วน 4.8 หมื่นล้าน เงินไม่พอ
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @thansettakij