ไทย-ไต้หวัน ยกระดับอุตสาหกรรมการ์ตูน

28 พ.ย. 2563 | 05:00 น.

ไทย-ไต้หวัน จับมือยกระดับอุตสาหกรรมการ์ตูนรองรับการเติบโตยุคดิจิทัล จับคู่นักวาดการ์ตูนชื่อดังร่วมงานแลกเปลี่ยนพัฒนาการ์ตูนไต้หวัน-ไทย ttcomics 

 

สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ร่วมกับสื่อภาษาจีน วิชั่นไทย (VISION THAI) จัด “โครงการแลกเปลี่ยนการ์ตูนไต้หวัน-ไทย” (Taiwan-Thailand Comics Exchange:ttcomics) ขึ้นครั้งแรก หวังยกระดับอุตสาหกรรมการ์ตูนให้เติบโตรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล เผยปัจจุบันความตลาดการ์ตูนเติบโตก้าวกระโดด รองรับธุรกิจคอนเทนต์ดิจิทัล ทั้งเกมส์ออนไลน์ แอนนิเมชั่น และธุรกิจโฆษณา
 

ไทย-ไต้หวัน ยกระดับอุตสาหกรรมการ์ตูน

นายหลี่ หยิง หยวน ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวันได้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการ์ตูนของไทยและไต้หวันให้เติบโตในยุคดิจิทัล โดยเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 ได้มีการจัดกิจกรรม “โครงการแลกเปลี่ยนการ์ตูนไต้หวัน-ไทย” (Taiwan-Thailand Comics Exchange:ttcomics) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ร้านหนังสือ Open House Bookshop by Hardcover at Central Embassy โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย และสื่อภาษาจีน VISION THAI เป็นผู้ร่วมจัดงาน ซึ่งงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักเขียนการ์ตูนไต้หวัน-ไทย (ttcomics) ในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่วงการนักเขียนการ์ตูนผ่านการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการ์ตูนในประเทศไทย การสร้างผลงานการ์ตูนร่วมกันระหว่างนักเขียนการ์ตูนไต้หวัน-ไทย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการ์ตูนที่เติบโตของก้าวกระโดด เนื่องจากปัจจุบันมีตลาดที่ต้องการใช้การ์ตูนอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะการ์ตูนออนไลน์ เช่น ธุรกิจเกมส์ออนไลน์ อนิเมชั่น และด้านโฆษณา รวมถึงคอนเทนต์ดิจิทัลอื่นๆ
 

ไทย-ไต้หวัน ยกระดับอุตสาหกรรมการ์ตูน

ภายในงานได้เชิญนักเขียนการ์ตูนชื่อดังทั้งชาวไทยและไต้หวันมาร่วมแบ่งปันมุมมองผ่านการเสวนาออนไลน์ ได้แก่ มุนินทร์ สายประสาท, อาร์ต จีโน, หร่วน กวาง หมิน และเวิง หยู หง (HOM) การแลกเปลี่ยนมุมมองครั้งนี้ทำให้เกิดการเชื่อมวัฒนธรรมระหว่างไต้หวันและไทยผ่านตัวการ์ตูน บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิ นายนิวัฒน์ ธาราพรรค์ นายกสมาคมการ์ตูนไทย, นายศักดา แซ่เอียว อุปนายกสมาคมการ์ตูนไทย, นายSylvain Bano ผู้อำนวยการสมาคมฝรั่งเศสกรุุงเทพ, นายNicolas Verstappen ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในอุตสาหกรรมการ์ตูน, หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย, กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย, ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในอุตสาหกรรมการ์ตูนจากมหาวิทยาลัยรังสิต และเหล่านักเขียนการ์ตูน รวมถึงแฟนคลับการ์ตูนต่างมาร่วมเข้างานเป็นจำนวนมาก  การจัดการครั้งนี้นอกจากสนับสนุนการสร้างสรรค์การ์ตูนแล้วสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทยยังได้วางแผนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การ์ตูนแห่งชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกับประเทศไทยในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งไต้หวัน ไทย ฝรั่งเศส เยอรมัน ซึ่งจะเป็นการเชื่อมศิลปวัฒนธรรมของไต้หวันได้ส่งต่อถึงโลกสากล เช่นเดียวกับงานสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมของไทยที่ได้พัฒนาและเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการ์ตูนซึ่งเป็นสื่อกลางที่สะท้อนสภาพสังคมในปัจจุบัน 
 

ไทย-ไต้หวัน ยกระดับอุตสาหกรรมการ์ตูน
 

“รูปแบบการอ่านได้พัฒนาขึ้น รูปแบบการเข้าถึงการ์ตูนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป สำนักพิมพ์การ์ตูนจึงต้องปรับเปลี่ยนก้าวข้ามสื่อสิ่งพิมพ์กระดาษไปสู่สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ “โครงการแลกเปลี่ยนการ์ตูนไต้หวัน-ไทย” (ttcomics) ในครั้งนี้ได้ฉีกกรอบเดิม ๆ ของงานเสวนา ซึ่งมีธีมหลักของงานคือ ข้ามพรมแดน ข้ามวัฒนธรรม และข้ามแพลตฟอร์ม โดยได้เชิญให้นักเขียนการ์ตูนไทยและไต้หวันร่วมสร้างสรรค์ผลงานทางออนไลน์ ซึ่งมีวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศเป็นธีมหลัก พาตัวการ์ตูนของแต่ละคนออกเดินทางสำรวจบ้านเกิดของพวกเขา จนกลายเป็นผลงานการ์ตูนข้ามวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ตัวละคร “จุ้นหลง” จากเรื่อง “ร้านขายของชำย่งจิ่ว” (Yong Jiu Grocery Store) ของหร่วนกวางหมิน ตัวละครสาวน้อย “มุนิน” ซึ่งมีชื่อเดียวกับผู้วาดมุนินทร์  ตัวละคร “ตัวหย่า”ของเวิง หยู หง (HOM) และ “พีช” ตัวการ์ตูนของอาร์ต จีโน ต่างได้ออกเดินทางไปยังไต้หวันและไทยผ่านปลายปากกาของพวกเขา” นายหลี่ หยิง หยวน กล่าว