ลุ้นส่งออกไทยไตรมาส4โต ทั้งปีติดลบแค่ 7%

23 พ.ย. 2563 | 06:21 น.

ส่งออกไทยเดือนต.ค.ยังติดลบ 6.71% ส่งผลให้ 10 เดือนแรกของไทยติดลบ 7.26%   ยันไม่ปรับเป้าส่งออกทั้งปียังคงติดลบที่7% ลุ้นไตรมาสสุดท้ายส่งออกเฉลี่ยเดือนละ 18,329 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปีหน้ามั่นใจขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า  การส่งออกของไทยเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 6.71% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การนำเข้า มีมูลค่า 17,330.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 14.32% ส่งผลให้การค้าเกินดุล 2,046.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนส่งออกภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่า 192,372.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 7.26% ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 169,702.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 14.61% ส่งผลให้ 10 เดือนแรกของปี 2563  ไทยมีการค้าเกินดุล 22,670.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ลุ้นส่งออกไทยไตรมาส4โต  ทั้งปีติดลบแค่ 7%

ทั้งนี้  แม้ว่าการส่งออกจะติดลบ  หากหักน้ำมัน  ทองคำ  อาวุธ  การส่งออกไทยติดลบน้อยลง  ติดลบ 4.89%  โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกดีขึ้น จากมาตรการผ่อนคลายจากเรื่องของโควิด-19 รวมไปถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังในหลายประเทศ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าสินค้า การส่งออกสินค้าไทยขยายตัวหลายรายการ ซึ่งการส่งออกสินค้าไทยยังอยู่ในทิศทางที่ดีตามเทรนของโลกอยู่  โดยตลาดสำคัญยังเป็นสหรัฐ  ออสเตรเลีย

 

สำหรับสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร

ลุ้นส่งออกไทยไตรมาส4โต  ทั้งปีติดลบแค่ 7%

 สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และโซลาร์เซลล์ และสินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อราคายางพาราของไทยในช่วงนี้

ลุ้นส่งออกไทยไตรมาส4โต  ทั้งปีติดลบแค่ 7%

ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก รวมทั้งตลาดอื่น ๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่การค้าชายแดนของไทยโดยเฉพาะประเทศใน CLMV ยังคงได้รับผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

อย่างไรก็ดี ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยยังในทิศทางฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป มูลค่าการส่งออกในหลายตลาดค่อยๆปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน และหลายตลาดกลับมาขยายตัวในระดับสูง หากการส่งออกไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 18,329 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลให้  ภาพรวมการส่งออกทั้งปียังอยู่ที่ ติดลบ 7% ซึ่งยังไม่มีการปรับประมาณ

ลุ้นส่งออกไทยไตรมาส4โต  ทั้งปีติดลบแค่ 7%

ขณะที่การส่งออกทั้งปี 2564 ยังประเมินว่าการส่งออกยังขยายตัวเป็นบวกอยู่  โดยยังต้องจับตาปัญหาเรื่องของโควิด-19 ค่าเงินบาท  การขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ หรือ  หากส่งออกเฉลี่ย 19,000 ดอลลาร์สหรัฐ  ซึ่งการส่งออกครึ่งปีหลังของปี 2564 นี้ก็ทำได้ดีหากทำได้ตัวเลขนี้ในปีหน้าก็จะเชื่อว่าส่งออกไทยจะโต