สภาพัฒน์ เผย "จีดีพี" ไตรมาส 3/63 ติดลบ 6.4% คาดทั้งปี -6%

16 พ.ย. 2563 | 02:35 น.

สภาพัฒน์ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทย จีดีพีไตรมาส 3/63 ติดลบ 6.4% ส่งผลให้ 9 เดือนติดลบ 6.7% คาดทั้งปี -6% ปีหน้า 2564 โต 3.5-4.5%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือ "สภาพัฒน์"แถลงภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 3 ปี 2563 โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย หรือ จีดีพี ไตรมาส 3/2563 หดตัว 6.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562 ทำให้ 9 เดือนแรกหดตัว 6.7% ปรับตัวดีขึ้นกว่าประมาณการเดิม
 

สภาพัฒน์ เผย "จีดีพี" ไตรมาส 3/63 ติดลบ 6.4% คาดทั้งปี -6%

สศช. จึงปรับประมาณการจีดีพีทั้งปี 2563 เป็นหดตัว 6% ดีขึ้นกว่าที่ประมาณการเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 7.5%

 

ส่วนปี 2564 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.5-4.5%

สำหรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ที่คาดว่าจะติดลบ 6.0% นั้น อยู่ภายใต้สมมติฐาน การบริโภคภาคเอกชนติดลบ 0.9% การบริโภคภาครัฐบาลขยายตัว 3.6% การลงทุนภาคเอกชนติดลบ 8.9% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 13.7% มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐติดลบ 7.5% อัตราเงินเฟ้อติบลบ 0.9% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินทุน 2.8% 

 

ส่วนประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 ที่คาดว่าจะขยายตัว 3.5-4.5% อยู่ภายใต้สมมติฐาน การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 2.4% การบริโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.7% การลงทุนภาคเอกชนติดขยายตัว 4.2% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 12.4% มูลค่าการส่งออกขยายตัว 4.2% เงินเฟ้อติบขยายตัว 0.7-1.7% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินทุน 2.6%

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2563 ลดลงร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 12.1 ในไตรมาสที่ 2/2563 ปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกสินค้าและบริการ การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนปรับตัวดีขึ้น

 

ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล และการลงทุนของภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ด้านการผลิต ภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.9 ตามผลผลิตพืชสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ภาคนอกเกษตรลดลงร้อยละ 6.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 12.9 ในไตรมาสที่ 2/2563 เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมการผลิตได้

 

โดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 5.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 14.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ภาคบริการลดลงร้อยละ 7.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยกิจกรรมหลักทางด้านบริการเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว เช่น สาขาการขายส่งและการขายปลีกฯ สาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ปรับตัวดีขึ้น ส่วนสาขาการก่อสร้าง และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง

 

ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนลดลงร้อยละ 0.6 การลงทุน และการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 2.4 ร้อยละ 23.5 และร้อยละ 20.3 ตามลำดับ ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 3.4

 

หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2563 ขยายตัวร้อยละ 6.5 (QoQ SA) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ลดลงร้อยละ 0.6 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาสที่ 2/2563 โดยหมวดสินค้าไม่คงทน และการบริการสุทธิขยายตัวร้อยละ 2.7 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ

 

ส่วนการอุปโภคในกลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 19.3 และร้อยละ 14.0 ตามลำดับ

 

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่ 2/2563 โดยค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 1.6 รายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินขยายตัวร้อยละ 8.0

 

การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่ 2/2563 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 10.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนลดลงร้อยละ 14.0

 

ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.3 การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 18.5 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 18.4 และการลงทุนด้านก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 18.6 โดยเฉพาะการก่อสร้างรัฐบาลขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปีลดลง 120.6 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล ยานยนต์ การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ และทองคำ

 

สำหรับสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ข้าวเปลือก การผลิตเครื่องประดับอัญมณีและสิ่งของอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

 

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 257.2 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 397.5 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 140.3 พันล้านบาท

 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.0 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.8 ของ GDP

 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (3) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณและมาตรการทางเศรษฐกิจ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563

 

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP

 

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2563 และปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ 8 ประเด็น ดังนี้

 

(1) การป้องกันการกลับมาระบาดระลอกที่สองในประเทศ 

 

(2) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองสาขาและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว (ii) การช่วยเหลือและดูแลแรงงาน (iii) การรณรงค์ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น (iv) การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคอย่างรัดกุม และ (v) การด าเนินการด้านวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 

 

(3) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐ (i) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ าปี 2564 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 94.4 (ii) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (iii) งบเหลื่อมปีให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และ (iv) การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชก าหนดฯ เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 

 

(4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 (ii) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า (iii) การให้ความส าคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (iv) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่ส าคัญ ๆ (v) การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาท และ (vi) การส่งเสริมการตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ 

 

(5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (i) เร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 - 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง (ii) การขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้กำลังการผลิต (iii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iv) การประชาสัมพันธ์จุดแข็งของประเทศไทย และ (v) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง 

 

(6) การดูแลราคาสินค้าเกษตรในบางพื้นที่ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด และการเตรียมการรองรับปัญหาภัยแล้ง 

 

(7) การรักษาบรรยากาศทางการเมือง 

 

(8) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
 

คลิปการแถลงภาวะเศรษฐกิจและสังคมไตรมาส 3 ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564