เกาะติด สถานการณ์การชุมนุม ม็อบคณะราษฎร 12 พ.ย.63

12 พ.ย. 2563 | 09:30 น.

เกาะติดและอัปเดต สถานการณ์การชุมนุม ของ “ม็อบคณะราษฎร” วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563  “ฐานเศรษฐกิจ” ยังคงติดตามความเคลื่อนไหว การนัดหมายการชุมนุม ของ "กลุ่มคณะราษฎร 2563” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มมวลชนกลุ่มต่างๆ อาทิ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ประชาชนปลดแอก เยาวชนปลดแอก กลุ่มนักเรียนเลว

 

ซึ่งในวันนี้ยังต้องเกาะติดความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หลังจากเมื่อวันที่ 8พ.ย.63 กลุ่มคณะราษฎรมีการนัดหมายมวลชนชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน และจากนั้นมีการเดินขบวนไปใกล้พระบรมมหาราชวัง และมีการอ่านแถลงการณ์ พร้อมกับให้มวลชนเขียนจดหมายข้อเรียกร้อง ดังนั้นในวันนี้จึงต้องเกาะติดว่าจะมีความเคลื่อนไหวอีกหรือไม่

 

สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎร ถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวในการชุมนุมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  หลังจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) “ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายมีความร้ายแรง ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 15 ตุลาคม 2563  

 

​​​​​​แต่หลังจากนั้นมวลชนที่สนับสนุนกลุ่มคณะราษฎร 2563 ก็ได้กระจายจุด พื้นที่ชุมนุมเพิ่มมากขึ้น ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกระทั่งวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายมีความร้ายแรง ในท้องที่กรุงเทพมหานคร

พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมคณะ เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตำรวจสภาผู้แทนราษฎร ที่มีการพิจารณาเรื่องมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อควบคุมการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งที่ประชุม จะมีการตั้งคำถามต่อกรณีการใช้น้ำ และสารเคมีสลายการชุมนุมของกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “คณะราษฎร” ที่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563  การจับกุมดำเนินคดีต่อแกนนำและผู้ชมุนุมทางการเมือง รวมถึงเหตุการณ์ล่าสุด ที่มีการใช้น้ำฉีดใส่ผู้ชุมนุม ในวันที่ 8 พฤศจิกายน บริเวณด้านหน้าศาลฎีกา สนามหลวง 

 

ด้านสหภาพแรงงานขสมก. ระบุว่า การที่ตำรวจ และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะไปฟ้องเรียกค่าเสียหายกับผู้ชุมนุมนั้น สหภาพแรงงานไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะรถเมล์เป็นทรัพย์สินขององค์การที่ได้มาจากภาษีของประชาชน นายบุญมา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ระบุ