“25 ส.ส.พปชร.”ผสมโรงลงชื่อตีความร่างแก้ไขรธน.

09 พ.ย. 2563 | 07:21 น.

ประธานวิปรัฐบาลยันเดินหน้าลงมติรับหลักการร่างแก้ไข รธน.ไม่ต้องรอศาล รธน.วินิจฉัย  เปิดหนังสือ ส.ว.-ส.ส.เข้าชื่อยื่นศาลรธน.ตีความ พบ 25 ส.ส.พปชร.ร่วมลงชื่อด้วย


นายวิรัช รัตนเศรษฐ  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 พ.ย.นี้ วันเดียวอาจจะไม่เพียงพอ  อาจจะต้องมีการประชุมถึง 2 วัน คือวันที่ 17-18 พ.ย. 


ขณะเดียวกันก็มีประเด็นปัญหาถกเถียงกัน เนื่องจากมีร่างของกลุ่มไอลอว์เข้าสู่การพิจารณาด้วย ประธานรัฐสภาจึงจะมีการเรียกวิป 3 ฝ่ายประกอบด้วย ฝ่ายค้าน รัฐบาล และ ส.ว. หารือร่วมกัน เพื่อกำหนดกรอบเวลา  แนวทางการพิจารณาและลงมติว่าจะต้องมีการพิจารณาร่างไอลอว์ก่อนแล้วค่อยลงมติ หรือลงมติญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ร่างไปก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาร่างของไอลอว์ รวมถึงหารือถึงประเด็นที่ ส.ว.เข้าชื่อกันเพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 3 ญัตติ 


นายวิรัช กล่าวว่า เชื่อว่าการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความจะไม่ทำให้การพิจารณาของรัฐสภาสะดุด  เพราะสามารถทำพร้อมกันได้เลย ส่วนที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญก็ส่งไปตามระบบ ส่วนที่พิจารณาก็พิจารณาตามกระบวนการขั้นตอน มั่นใจว่าวันที่ 17 -18 พ.ย.นี้ จะแล้วเสร็จในวาระแรกแน่นอน 


ส่วนข้อกังวลของ ส.ว.ที่ห่วงว่าการแก้รัฐธรรมนูญ จะมิชอบและอาจกระทบต่อการทำหน้าที่นั้น นายวิรัช มั่นใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเสร็จสิ้นก่อนที่รัฐสภาจะพิจารณาวาระ 3  และมั่นใจว่าจะไม่ถือเป็นความผิดใดๆ 

 

สำหรับญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ.2563 ข้อที่ 31 ให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 (2) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 


เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาได้มีการยื่นญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาในวาระที่ 1 และประชาชนเข้าชื่อยื่นญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งอยู่ในระหว่างประธานรัฐสภาเตรียมบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม โดยปรากฎว่าญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 3 ฉบับ ได้มีหลักการและเหตุผล ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น


โดยเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้มีหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมาตรา 256/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ เห็นว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น ตามหลักกฎหมายมหาชน "ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ" หมายความว่าหากไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจไว้จะกระทำมิได้ รัฐสภาจึงไม่มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐสภามีอำนาจเฉพาะที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 256 คือ ให้มีแต่อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น 
ดังนั้น การกระทำใดๆ เพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น จึงเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 5 จึงกราบเรียนประธานรัฐสภาโปรดพิจารณาบรรจุญัตตินี้เป็นญัตติด่วนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา


สำหรับสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนในการเสนอญัตติดังกล่าว มีทั้งสิ้นจำนวน 73 คน แบ่งเป็น ส.ว. 48 คน ประกอบด้วย 1.นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. 2.นายออน กาจกระโทก ส.ว. 3.นาง ดวงพร รอดพยาธิ์ 4.นาย ไพฑูรย์ หลิมวัฒนา 5.นางจินตนา ชัยยวรรณาการ 6. นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 7.นาย เฉลิมชัย เฟื่องคอน 8.พ.ต.อ.ยุทธกร วงเวียน 9.นายพิทักษ์ ไชยเจริญ 10.นางจิรดา สงฆ์ประชา ส.ว. 


11.นายกิตติ วะสีนนท์ ส.ว. 12.นายประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ส.ว. 13.นาย สวัสดิ์ สมัครพงศ์ ส.ว. 14.ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ 15.นายธานี สุโชดายน 16.นายจเด็จ อินสว่าง ส.ว. 17.พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ส.ว. 18.พล.อ.บุญธรรม โอริส ส.ว. 19.นายปัญญา งานเลิศ ส.ว. 20.นายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล ส.ว.


21.นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ส.ว. 22.นางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ ส.ว. 23.นายทวีวงษ์ จุลกมนตรี ส.ว. 24.นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ ส.ว. 25.นายสำราญ ครรชิต 26.นายศักดิ์ไทย สุรกิจบวร ส.ว. 27.นายสมเดช นิลพันธุ์ ส.ว. 28.นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม ส.ว. 29.นาย ประมาณ สว่างญาติ 30.นายไพโรจน์ พ่วงทอง ส.ว.


31.นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ส.ว. 32.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ส.ว. 33.นายภาณุ อุทัยรัตน์ ส.ว. 34.นายสัญชัย จุลมนต์ ส.ว. 35.นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว. 36.นายวิชัย ทิตตภักดี ส.ว. 37.นายอนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว. 38.นายนิพนธ์ นาคสมภพ ส.ว. 39.นายสมชาย เสียงหลาย ส.ว. 40.นาง ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ส.ว. 


41.พล.อ.นิวัตร มีนะโยธิน ส.ว. 42.นายวิรัตน์ เกสสมบูรณ์ ส.ว. 43.นาง กอบกุล อาภากร ณ อยุธยา ส.ว. 44.นาง กอบกุล อาภากร ณ อยุธยา 45.นายถาวร เทพวิมลเพชรกุล ส.ว. 46.นาย สมชาย ชาญณรงค์กุล 47.นายจิรชัย มูลทองโร่ย ส.ว. 48.นายชาญวิทย์ ผลชีวิน ส.ว.
 

 

ขณะที่ ส.ส.จำนวน 25 คน ประกอบด้วย 1.นายสมพงษ์  โสภณ ส.ส.ระยอง พรรคพลังประชารัฐ 2.นายธรรมวิชญ์  โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี พรรคพลังประชารัฐ 3.นายสัมพันธ์  มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส พรรคพลังประชารัฐ 4. นางพรรณสิริ  กุลนาถศิริ ส.ส. สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ 5.นายยงยุทธ  สุวรรณบุตร ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ 6.นายอรรถกร  ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ 7.นายสาธิต  อุ๋ยตระกูล ส.ส.เพชรบุรี พรรคพลังประชารัฐ 8.นายประสิทธิ์  มะหะหมัด ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ 9.นายชัยวัฒน์  เป้าเปี่ยมทรัพย์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประขารัฐ 10.พันตำรวจโท ฐนภัทร  กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี พรรคพลังประชารัฐ


11.นายกรุงศรีวิไล  สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ 12.นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ 13.นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ 14.นายชูศักดิ์ คีรีมาศทอง ส.ส.สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ 15.นางพิชชารัตน์  เลาหพงศ์ชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ 16.นายรงค์  บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ 17.นายสมศักดิ์  พันธ์เกษมส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ 18.นายประทวน  สุทธิอำนวยเดช ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชารัฐ 19.นายกฤษณ์  แก้วอยู่ ส.ส.เพชรบุรี พรรคพลังประชารัฐ 20.นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ 


21.นายสายัณห์  ยุติธรรม ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ 22.นายสุรสิทธิ์  นิธิวุฒิวรรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ 23.นายธนัสถ์  ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก พรรคพลังประชารัฐ 24.นางสาวกานต์กนิษฐ์  แห้วสันตติ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ 25.นายณัฏฐพล  จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์ พรรคพลังประชารัฐ