เตรียมรับมือ พายุโซนร้อน "โคนี" มีผลกระทบ 6-7 พ.ย.63  

04 พ.ย. 2563 | 12:06 น.

กระทรวงมหาดไทย สั่งรับมือลกระทบจาก พายุโซนร้อน "โคนี" ช่วงวันที่ 6-7 พ.ย.63

จากกรณีที่เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 4 พ.ย. 63 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุโซนร้อน "โคนี" (พายุระดับ 3) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2563  ระบุว่า 

 

เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (4 พฤศจิกายน 2563) พายุโซนร้อน “โคนี” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 500 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 14.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กําลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ 

 

คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในคืนพรุ่งนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) หลังจากนั้นจะอ่อนกําลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงตามลําดับ ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กด่วน "พายุโคนี" กระทบ 12 จังหวัดรับมือฝนตก-ลมแรงวันที่ 6-7 พ.ย.นี้

เปิดเส้นทางเดิน"พายุโคนี"

เช็กด่วน "พายุโคนี" กระทบ 12 จังหวัดรับมือฝนตก-ลมแรงวันที่ 6-7 พ.ย.นี้

 

และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อํานาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์สุรินทร์ศรีสะเกษ อุบลราชธานีนครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และลมแรงไว้ด้วย

จากนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อํานวยการบรรเทาสาธารณภัย (ส่วนปฏิบัติการ) www.nirapai.com รายงานสถานการณ์สาธารณภัย   ณ เวลา 18.00 น. ในวันเดียวกัน ระตอนหนึ่งว่า 

 

ข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย/ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

 

1. ให้คณะทํางานติดตามสถานการณ์ของจังหวัด ติดตาม ประเมินสถานการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นใน
พื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อํานวยการในแต่ละระดับ และหากมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้ผู้อํานวยการสั่งการอพยพประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัยที่จัดเตรียมไว้โดยทันที

 

2.แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย และช่องทางการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยกําชับให้ฝ่ายปกครอง กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสาให้ความสําคัญกับการจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยสําหรับรองรับประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ

 

3. ให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกระดับ เตรียมความพร้อมกําลังเจ้าหน้าที่เครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิเครื่องสูบน้ํา เรือยนต์กู้ภัย เรือท้องแบน รถสูบส่งน้ําระยะไกล รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย ฯลฯ ให้มีความพร้อมในการเผชิญเหตุช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

4. ให้แบ่งมอบพื้นที่ ภารกิจ หน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัยโดยให้ความสําคัญกับการเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยซ้ํา โดยเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ ให้ระดมสรรพกําลังเร่งเข้าคลี่คลายสถานการณ์และให้ความสําคัญกับการจัดระบบดูแลประชาชนให้มีสิ่งของจําเป็นในการดํารงชีพการแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทานในการประกอบเลี้ยง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

 

5. สําหรับจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเล ให้ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําชับสถานประกอบการ โรงแรมในพื้นที่ชายทะเลเร่งสื่อสารให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังและห้ามลงเล่นน้ํา ในช่วงที่มีคลื่นลมแรงพร้อมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของกรมเจ้าท่ากองทัพเรือ ตํารวจน้ําในพื้นที่ เพื่อดําเนินการตามมาตรการที่กําหนดในการนําเรือเข้าที่กําบังและห้ามการเดินเรือช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเคร่งครัด

 

6.ให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสรุปสถานการณ์และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ผ่านกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่องทุกวันในเวลา 11.00 น. และเวลา 18.00 น. จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติหรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง