เสนอ"รัฐสภา"คุมเกมทำประชามติ20ธ.ค.ผ่าทางตัน

26 ต.ค. 2563 | 13:43 น.

"เฉลิมชัย เครืองาม" เสนอ"ชวน" ตั้งกรรมการเพื่อยกร่างคำถามทำประชามติ และยกร่างพ.ร.ก.ทำประชามติเฉพาะกรณีวิกฤติความขัดแย้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลไปดำเนินการต่อ ให้ทันทำประชามติ 20 ธ.ค.นี้ในวันเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ

 

"เฉลิมชัย เครืองาม" เสนอ"ชวน" ตั้งกรรมการเพื่อยกร่างคำถามทำประชามติ และยกร่างพ.ร.ก.ทำประชามติเฉพาะกรณีวิกฤติความขัดแย้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลไปดำเนินการต่อ ให้ทันทำประชามติ 20 ธ.ค.นี้ในวันเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ

    

26 ตุลาคม 2563 การประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 165  พล.ร.ต.เฉลิมชัย เครืองาม สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกรัฐสภา อภิปรายทางออกจากวิกฤตความขัดแย้ง เสนอว่าในการจะทำประชามติว่า รัฐสภาสามารถมีบทบาทในส่วนนี้ได้ ตามข้อ 5 ของข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ประธานรัฐสามารถตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยมีตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งตัวแทนพรรคฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาล คณะรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา และตัวแทนภายนอกจากกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงนิสิตนักศึกษาผู้ชุมนุม และอาจให้มีอดีตประธานศาลฎีกา อย่างน้อย 2 คน อดีตประธานองค์กรอิสระต่าง ๆ ประกอบขึ้นเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน 

 

กรรมการหรือคณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่ไปทำคำตอบในการตั้งคำถามในการจะทำประชามติ อย่างน้อย 3 ปัญหารือ 3 คำถาม เพื่อให้ประเด็นคำถามในการจะทำประชามติเป็นประเด็นที่ชัดเจน ได้รับการทำยอมรับ เมื่อสรุปประเด็นคำถามประชามติได้แล้ว จัดส่งให้รัฐบาลนำไปเป็นคำถามในการจะทำประชามติต่อไป 

ส่วนวันเวลาในการจัดทำประชามตินั้น เนื่องจากเวลานี้มีร่างพ.ร.บ.การทำประชามติฯอยู่ในขั้นตอนหลายอย่างของสภา แต่คาดกว่ากว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมาย ต้องรอถึงต้นปีหน้า ซึ่งสถานการณ์ความขัดแย้งเวลานี้เป็นปัญหาที่แตกร้าวลึกมาก ไม่อาจรอได้ จึงควรเร่งรัดเพื่อให้การทำประชามติเกิดขึ้นได้เร็วและทันกาล

 

คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นนี้ ควรทำหน้าที่อีกประการคือ ไปพิจารณายกร่างกฎหมายการทำประชามติในสถานการณ์วิกฤติของบ้านเมือง โดยเมื่อจัดทำเสร็จแล้วเสนอให้รัฐบาลออกเป็นพระราชกำหนด เพื่อประกาศใช้เป็นการเฉพาะกรณีการทำประชามติแก้วิกฤติความขัดแย้งครั้งนี้เท่านั้น

 

แม้จะออกเป็นพ.ร.ก.ให้ใช้เป็นกฎหมายได้ทันที แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ถ้าเป็นไปได้ให้ทันใช้ในการทำประชามติวันที่ 20 ธ.ค. 2563 นี้ ซึ่งเป็นวันที่กกต.จัดการเลือกตั้งสมาชิกและนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ทั่วประเทศอยู่แล้ว อาจลองหารือกกต.ดูว่า ถ้าจัดทำประชามติควบคู่กันไปด้วย อาจใช้วิธีแยกหีบหน่อนบัตร หรือแยกคูหา จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เพื่อให้การลงประชามติของประชาชนทั้งประเทศ เป็นทางออกจากวิกฤติความขัดแย้งในครั้งนี้ 

หากดำเนินการได้สำเร็จแก้ความขัดแย้งได้โดยบทบาทของรัฐสภานี้ จะเป็นการลบคำสบปรามาสเดิมที่ว่า เวทีอภิปรายทั่วไปฟังความเห็นสมาชิกรัฐสภาหาทางออกจากปัญหาสำคัญของประเทศครั้งนี้ ว่าเป็นเพียงเวทีปาหี่ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง