“สุริยะ” ยันไทยจริงจังกับ “EEC” แม้การเมืองจะเปลี่ยนแปลง

26 ต.ค. 2563 | 10:55 น.

“สุริยะ” ชี้ “อีอีซี” เป็นโอกาสสำคัญของประเทศเสมือนหัวจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยให้กลับมาเติบโต

นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในการกล่าวปาฐกถาพิเศษภายใต้หัวข้อ “EEC GO เดินหน้าลงทุน” ว่า แม้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นเครื่องบั่นทอนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังมองในมุมบวกว่า ไทยยังมีโอกาสที่จะก้าวไปสู่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นประตูเชื่อมต่อไปยังประเทศเศรษฐกิจสำคัญ โอกาสจากการมียุทธศาสตร์และทิศทางการขับเคลื่อนประเทศที่มีเป้าหมายชัดเจนเป็นรูปธรรมจับต้องได้ รวมถึงโอกาสจากความสามารถในการจัดการ ป้องกัน ควบคุม และฟื้นฟูประเทศจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ติดอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในระดับนานาชาติ

                ทั้งนี้  อีกหนึ่งโอกาสสำคัญของประเทศ ก็คือ การที่มีโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” (EEC) ที่เป็นเสมือนหัวจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดย EEC เป็น Mega Project ที่จะยกระดับความสำคัญของไทยในเอเชีย ตลอดจนสร้างประโยชน์ให้ประชาชนในพื้นที่ สร้างงานคุณภาพภายใต้แนวคิดที่เน้นความครอบคลุมทั่วถึง ไม่ใช่เฉพาะการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองแบบสมาร์ท ซิตี้ (Smart Cities) การมีระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอ มีแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และระบบคมนาคมที่ครบครัน ซึ่งเอื้อต่อการขนส่งทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ อันจะทำให้ EEC เป็นประตูเชื่อมสู่ CLMV อาเซียน เอเชีย และเชื่อมโยงสู่ ตลาดโลกต่อไป

                สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC นั้น มองว่ามีความคืบหน้าในการพัฒนามาเป็นลำดับขั้น โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ขั้น คือ 1.เป็นการที่รัฐบาลเตรียมการวางกลไกที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น การตั้งสำนักงาน EEC Office การออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา การตั้งคณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการขับเคลื่อนในระดับต่างๆ การวางกลไกในการบูรณาการระหว่าง หน่วยงาน ซึ่ง พ.ร.บ. EEC และกลไกต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้เห็นว่า ประเทศไทยจริงจังกับการพัฒนา EEC เพราะไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างไร แต่การพัฒนา พื้นที่ EEC จะยังคงเดินหน้าต่อไป

“สุริยะ” ยันไทยจริงจังกับ “EEC” แม้การเมืองจะเปลี่ยนแปลง
                ,2.เป็นการเตรียมการวางโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เป็น Mega Project ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน จากการลดระยะเวลาการเดินทางและประหยัดค่าขนส่ง ซึ่งคงจะได้เห็นความชัดเจนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ทยอยลงนามร่วมทุน ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การขยายท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเพื่อ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ไร่ โดยมีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ บริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด มูลค่าการลงทุน 5.54 หมื่นล้านบาท โดยหลังจากดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จจะสามารถรองรับสินค้าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติและสินค้าด้านปิโตรเคมีได้เพิ่มอีกประมาณ 14 ล้านตัน ต่อปี

นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบิน รวมไปถึงท่าเรือแหลมฉบังที่จะถูก Upgrade ให้สามารถขนส่งสินค้า ได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศไทย รวมทั้งสร้าง ความมั่นใจให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีก

                และ3.เป็นเรื่องการชักจูงการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มุ่งเน้นการพัฒนา “อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ อุตสาหกรรม S-Curve” โดยได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ “บีโอไอ” (BOI) ดึงดูดการลงทุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นได้จากตัวเลขการขอรับส่งเสริมการลงทุนล่าสุด ในพื้นที่ EEC จากสานักงาน BOI พบว่าในช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2563 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC ทั้งสิ้น 277 โครงการ เงินลงทุนรวม 1.06 แสนล้านบาท

                โดยมูลค่าการขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC คิดเป็น สัดส่วนสูงถึง 51% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ ซึ่งหาก พิจารณาลึกลงไปถึงตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุนของ 10 อุตสาหกรรม เป้าหมายในพื้นที่ EEC พบว่า มีมูลค่ารวม 5.22 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ มีการลงทุนสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และกลุ่ม อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ

                “ตั้งแต่ที่เข้ามารับตำแหน่ง รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญกับการเชิญชวนและดึงดูดนักลงทุน ผู้ประกอบการต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทยเป็นนโยบายที่สำคัญ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แต่จากความสามารถในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด และศักยภาพภายในที่ประเทศไทยมีอยู่  โดยยังเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ยังได้รับความสนใจจากหลายประเทศในการย้ายฐานการลงทุนและฐานการผลิต โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนจากประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น”

                โดยเฉพาะการ ลงทุนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร การแปรรูปสินค้าเกษตร และ เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและได้รับอานิสงส์ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ภาคการผลิตในประเทศเองเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวเช่นเดียวกัน

                นายสุริยะ กล่าวต่อไปอีกว่า กระทรวงฯ จึงได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งเพื่อเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับรองรับการย้ายฐานการผลิต (Relocation) ของนักลงทุน ที่ตอบโจทย์ทุกการแข่งขันด้วยศักยภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานสากลแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริหารจัดการอย่างทั่วถึง ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กนอ. ยังมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม  เพื่อจูงใจนักลงทุนให้มาลงทุน และมีมาตรการช่วยเหลือสาหรับนักลงทุนเดิมในนิคม อุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น ในสภาวะการแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือผลิตเพื่อการส่งออก จึงเป็นแรงขับเคลื่อนอีกทางหนึ่งที่เร่ง ให้การลงทุนล็อตใหม่เกิดได้เร็วยิ่งขึ้น

               

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนา อุตสาหกรรมเป้าหมาย ในมิติรายสาขา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบ แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ปี พ.ศ. 2562 - 2570 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 โดยแผนดังกล่าวมีเป้าหมายระยะยาว เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่ง อาเซียน ควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

อุตสาหกรรมชีวภาพ กระทรวงฯ ได้ออกมาตรการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ชีวภาพและผลักดันการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องจนเกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยได้เกิดโครงการลงทุนในผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และเคมีชีวภาพแล้วในหลาย พื้นที่คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในพื้นที่ EEC เช่น ที่จังหวัดฉะเชิงเทรามี 2 โครงการใหญ่ ได้แก่ โครงการไบโอฮับเอเชีย มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ได้ดำเนินการยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมของ EEC กับ กนอ. แล้ว เพื่อผลิตไบโอดีเซลและเคมีชีวภาพ และโครงการนิคมอุตสาหกรรมบลูโอลิโอเทคซิตี้ มูลค่า 1.25 หมื่นล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมของ EEC กับ กนอ. เพื่อผลิตไบโอดีเซลและเคมีชีวภาพ

                นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังผลักดันผู้ประกอบการให้เกิดการลงทุนจัดตั้ง Bio Hub ในจังหวัดของภูมิภาคต่างๆ เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา  ,ลพบุรี  และอุบลราชธานี อีกด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตและรถไฟฟ้า กระทรวงฯ ได้เร่งผลักดัน การผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย (xEV) มาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผน Roadmap ของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรียกว่าแผน 30@30 (30 แอด 30) ซึ่งวางเป้าหมายในปีพ.ศ. 2573 ให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด

                โดยแบ่งการดำเนินงานและเป้าหมาย เป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1.เป้าหมายระยะสั้น จะมีการขับเคลื่อนให้มีการผลิตรถ ราชการ รถบัสสาธารณะ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างสาธารณะ และรถยนต์ ส่วนบุคคลอื่นๆ โดยมีการกำหนดเป้าหมายกว่า 60,000 – 100,000 คัน ,2.เป้าหมายระยะกลาง เร่งให้มีการผลิต ECO EV และ Smart City Bus ประมาณ 250,000 คัน และ3.เป้าหมายระยะยาวให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 750,000 คัน

                อุตสาหกรรมระบบราง กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงคมนาคมเร่งกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการสนับสนุนให้มีการย้ายฐานการผลิตรถไฟและรถไฟฟ้ามาที่ประเทศไทย โดยอาศัยกลไกการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ซึ่งปัจจุบัน ครม. ได้มีมติรับทราบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากสามารถสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตระบบขนส่งมวลชนทางรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

                สำหรับการชับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ EEC ในระยะต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรมจะต่อยอดขยายผลเพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่ EEC ให้มากขึ้น และจะเร่งเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มที่ โดยเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าโมเดลการพัฒนาที่ดี และการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของทุกฝ่าย เมื่อผนวกกับศักยภาพของไทยในการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง ความพร้อมของปัจจัยพื้นฐานต่างๆ

                ทั้งในเรื่องของสิทธิประโยชน์การลงทุน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหาจัดการสถานการณ์ในภวะวิกฤติในช่วงเวลาต่อจากนี้ไป โดยแต่ละกระทรวงพร้อมใจกันขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจของตนเอง ภายใต้การบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยมีนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายร่วมกัน ย่อมส่งผลให้เกิดเม็ดเงินลงทุนที่จะไหลข้ามาในพื้นที่ EEC ซึ่งจะช่วยพลิกพื้นวัฏจักรแห่การลงทุน และเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้พื้นตัว กลับมาเติบโตได้ตามปกติ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นในระยะยาว จนสามารถนำพาประเทศไปสู่ความเข้มแข็ง และการเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สุริยะ”ชี้ “การเมือง” ไม่น่าห่วงเท่า “โควิด-19”