เกษตรกรรม และชลประทาน คือ #ศาสตร์ของพระเจ้าแผ่นดิน

24 ต.ค. 2563 | 02:39 น.

“พระเจ้าแผ่นดิน” นั้น คำ ๆ นี้ ไม่ได้ใช้เรียก คนที่สร้างแผ่นดิน แต่ใช้เรียก ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ

 

รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ เฟซบุ๊กส่วนตัว Piti Srisangnam เมื่อวานนี้ (23 ต.ค.) เนื่องใน วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาระบุว่า  

 

คำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” นั้น คำ ๆ นี้ ไม่ได้ใช้เรียก คนที่สร้างแผ่นดิน แต่ใช้เรียก ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการ #พัฒนาแผ่นดิน

 

หลังจากระเบียบโลกเปลี่ยนแปลง เมื่อตะวันตกปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จในศตวรรษที่ 18 พวกเขาต้องการทรัพยากรมากมายมหาศาล ต้องการตลาดระบายสินค้า และนั่นทำให้ประเทศตะวันตกต้องการล่าอาณานิคม และวางกฎกติการะเบียบการค้าโลก

 

ประเทศไทย ซึ่งยุคนั้นคือ สยามประเทศ รู้เท่าทันเรื่องดังกล่าว และพร้อมที่จะเจรจากับเจ้าแห่งระเบียบโลกใหม่ในขณะนั้น นั่นคือ อังกฤษ หรือสหราชอาณาจักร

 

“สมัย ร.4 เราลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่ง ซึ่งเป็นหลักประกันว่า เราจะไม่เสียดินแดนให้จักรวรรดิอังกฤษอย่างแน่นอน เพราะการทำสงครามมันต้นทุนสูง ถ้าเจรจากันได้ ยอมรับกฎเกณฑ์ของตะวันตกได้ สงครามก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลจัดสวดมนต์วันคล้ายวันสวรรคตในหลวง ร.5

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

ชวนชมนิทรรศการน้อมรำลึกร.5"วันปิยมหาราช"

 

ครั้นพอถึงรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 กฎ กติกา การค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป กษัตริย์และขุนนางไม่สามารถผูกขาดการค้าได้อีกต่อไป ประชาชนทุกคนที่พระองค์ท่านประกาศยกเลิกระบบไพร่ระบบทาส สามารถค้าขายได้อย่างเสรี

ประตูน้ำคลองแสนแสบที่ปทุมวันในสมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

คำถามคือ จะให้พวกเขา ผลิตอะไร และขายอะไร

 

ล้นเกล้ารัชการที่ 5 จึงทรงมีพระราชดำริว่า จะทำอย่างไรให้สามารถสร้าง พัฒนา และเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างดีที่สุด โดยมีต้นทุนต่ำที่สุด

 

โครงการ PPP หรือ public-private partnership โครงการแรกของสยามประเทศจึงเกิดขึ้น นั่นคือ คลองชลประทาน 4 สายหลัก คือ คลอง 6 วา ทั้ง 2 สาย คลอง 8 วา และ คลองเจ้าสาย ที่เชื่อมด้วยคลองรังสิตย่อย ๆ อีก 59 สาย และประตูน้ำ 3 ประตู (จุฬาลงกรณ์, เสาวภา และ บริษัทสมบูรณ์) ที่จะทำให้ประชาชนใน 5 จังหวัด (กทม. ปทุมธานี อยุธยา นครนายก และสระบุรี) สามารถเพาะปลูกข้าวได้มากมายมหาศาล และ “สยาม” ก็ได้กลายเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก

 

กล่าวได้ว่า เกษตรกรรม และชลประทาน คือศาสตร์ของพระเจ้าแผ่นดิน อย่างแท้จริง