Emojis กับ ม็อบเยาวชน และการต่อสู้ของ “บรูซ ลี”

21 ต.ค. 2563 | 09:26 น.

สำนักข่าวต่างประเทศพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงในประเทศไทย โดยล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงใช้สติ๊กเกอร์ความรู้สึกหรือ Emojis (อิโมจิ) เพื่อหยั่งเสียงของกลุ่มผู้ประท้วงด้วยกันว่าจะหลีกเลี่ยงเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างไร และยุทธวิธีที่ใช้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ที่นำการต่อสู้ของม็อบฮ่องกงมาใช้

  • กลุ่มผู้ประท้วงไทยใช้วิธีการเดียวกันกับผู้ประท้วงในฮ่องกงเพื่อบริหารจัดการ
  • ต้นแบบการต่อสู้ของม็อบในฮ่องกงมาจาก “บรูซ ลี” ที่ให้ทำตัวเหมือนน้ำ (be water)

สำนักข่าว Bloomberg กล่าวถึงสถานการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในไทยว่า สติ๊กเกอร์แสดงความรู้สึก หรือ Emojis  และการรีทวีตถูกนำมาใช้ในการลงคะแนนเสียง

เมื่อต้นสัปดาห์กลุ่มผู้นำการประท้วงได้ถามกลุ่มผู้สนับสนุนบนโซเชียลมีเดียอย่างเฟสบุ๊ก  ว่าพวกกลุ่มผู้สนับสนุนส่วนมากต้องการอะไร โดยการกด CARE (ห่วงใย) หมายถึงพักการประท้วง 1 วัน ขณะที่การกด ว้าว (WOW) หมายความว่าให้จัดการชุมนุมต่อ และเสียงส่วนใหญ่ในเฟสบุ๊กได้แสดงถึงความต้องการให้จัดชุมนุมต่อไป  เช่นเดียวกับการหยั่งเสียงในทวิตเตอร์ที่ใช้วิธีการกดไลค์หรือรีทวีตเพื่อแสดงความต้องการ

แพลตฟอร์มอย่างเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ เทเลแกรม กลายเป็นช่องทางหลักของกลุ่มเยาวชนปลดแอกเพื่อระดมการสนับสนุนจากผู้ที่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องที่มีไปก่อนหน้านี้ 3 ข้อ

emoji care emoji wow emoji love

Emojis ในรูปแบบต่างๆ

หากดูการประท้วงที่เกิดขึ้นในฮ่องกง ก็เรียกได้ว่าการประท้วงในไทยครั้งนี้เทียบจะลอกเลียนแบบและนำกลยุทธ์มาใช้แทบทั้งหมด โดยเฉพาะกลยุท์ “be water” หรือทำตัวให้เหมือนน้ำ ซึ่งในฮ่องกงได้ใช้วิธีนี้ในการชุมนุมมาแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา

"Be water"  หรือกลยุทธ์ที่ทำตัวให้เป็นน้ำ  คำๆนี้มาจากคำพูดของ บรูซ ลี นักแสดงระดับฮอลีวูดที่เชี่ยวชาญด้านการต่อสู้มักจะพูดถึงเมื่อกล่าวถึงยุทธวิธีการต่อสู้แบบตัวต่อตัว  ที่บอกว่า “ไม่มีรูปร่าง ไม่มีรูปแบบตายตัว เหมือนน้ำ!”   ยังรวมไปถึงการใส่เสื้อยืดสีดำ ใส่หน้ากาก (ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด19) และใช้รถไฟฟ้าในการเดินทาง ปลายทางคือการชุมนุมแล้วไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้ผู้ชุมนุมในฮ่องกงเคยบอกว่า “เราต้องทำตัวให้เหมือนน้ำ”

บรูซ ลี นักต่อสู้ในตำนาน

 

ส่วนการชุมนุมในไทย ผู้ชุมนุมใช้การหลอกล่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจงงกับการนัดหมายชุมนุม โดย Bloomberg รายงานว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางการได้สั่งปิดกรุงเทพฯบางส่วน พร้อมทั้งระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อหยุดยั้งการชุมนุม แต่กลับล้มเหลว โดยกลุ่มประชาชนปลดแอกยังคงนัดหมายการชุมนุมกันทุกวันและเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆเหมือนการแข่งแรลลี่

สื่อต่างชาติรายงานเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีผู้ถูกจับประมาณ 70 คน รวมถึงแกนนำ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ให้ปล่อยตัวคนเหล่านั้นด้วย  ซึ่งหนึ่งในผู้จัดการชุมนุมให้สัมภาษณ์ว่า “เราทำให้รัฐบาลปวดหัวกับการที่ม็อบไม่มีแกนนำและไปตามสถานที่ต่างๆเพื่อแสดงถึงการต่อต้านรัฐบาล และแม้จะไม่มีแกนนำ การชุมนุมก็ยังคงดำเนินต่อไป”

 

ม็อบปุ๊บปั๊บ มาแล้วก็ไป  แบบ Pop-Up  

ในวันที่ 16 ต.ค.เป็นต้นมากลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้โซเซียลมีเดียในการรวมตัวกันในสถานที่อื่นๆ เมื่อตำรวจเตรียมความพร้อมรับมือในสถานที่บอกไว้ล่วงหน้า(โดนแกง) ตั้งแต่นั้นมาการชุมนุมก็มีรูปแบบในสถานที่ที่กระจายตัวออกไป กรุงเทพฯ ปริมลฑลและต่างจังหวัดเป็นระยะเวลาสั้นๆไม่ยาวนานและแยกย้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ  โดย Bloomberg  กล่าวว่าเป็นการนัดแนะให้ทุกคนเตรียมความพร้อมตามสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ  และรอคำสั่งว่าจะไปเจอกันที่ไหน โดยที่ผ่านมาการประท้วงในประเทศไทยถือว่ามีมาอย่างยาวนาน แต่นี่คือวีธีการใหม่ในการบริหารจัดการม๊อบโดยใช้ไซเบอร์ ซึ่งสื่อต่างชาติกล่าวถึงตำรวจโดยใช้คำว่า “มะงุมมะงาหรา” ในการจัดการกับม็อบ

รูปแบบร้าน pop up ที่นำไปเปรียบกับการชุมนุมที่มาแล้วก็ไป

รูปแบบร้านค้า pop up ที่มาแล้วไป ไม่ถาวร

รูปแบบร้าน pop up ในต่างประเทศ