เช็กที่นี่ สปสช.เพิ่มประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 อะไรบ้าง

13 ต.ค. 2563 | 07:00 น.

ครม.ปรับเกณฑ์ใหม่ เพิ่มประโยชน์ทดแทน “ค่าทำศพ-เงินสงเคราะห์” ให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 เช็กได้ที่นี่  

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (12 ตุลาคม 2563) มีมติสำคัญหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นเกี่ยวกับผู้ประกันตนมาตรา 40 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน โดย ครม.ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 อัตราใหม่

 

จากข้อมูลของ กระทรวงแรงงาน ได้ประมาณการรายรับของกองทุนประกันสังคมจากการจัดเก็บเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40  ณ วันที่ 30 เม.ย. 2563 ระบุว่า มีผู้ประกันตนมีทั้งสิ้น 3,353,939 คน สามารถจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเมื่อปี 2562 ได้ 1,557 ล้านบาท เป็นเงินสมทบจากรัฐบาล จำนวน  779 ล้านบาท มีการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนที่เสียชีวิต เป็นเงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ประจำปี 2562 จำนวน 200 ล้านบาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

"สิทธิบัตรทอง" ร้องนายกรัฐมนตรี ตั้ง กก.สอบ สปสช.

วิธีเช็กรายชื่อโรงพยาบาลยกเลิกสิทธิบัตรทอง

สปสช.ยกระดับ "บัตรทอง"พัฒนา 4 ระบบบริการ ดูแลผู้มีสิทธิ

สปสช.-ธ.กรุงไทย เปิดตัว "เป๋าตังสุขภาพ" จองคิวตรวจ นำร่อง กทม.ดีเดย์ 15 ต.ค.นี้ 

 

กระทรวงแรงงาน ประมาณการว่า หากมีการจ่ายประโยชน์ทดแทนในอัตราใหม่นี้ คาดว่า ในปีช่วงปี  2563-2564 กองทุนประกันสังคมจะจ่ายเงินสำหรับค่าทำศพเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 77 ล้านบาท และเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 93 ล้านบาท

เรามาดูกันว่า ผู้ประกันตามมาตรา 40 จะได้ประโยชน์อะไรจากการปรับหลักเกณฑ์รอบนี้บ้าง...

 

สาระสำคัญของกฎหมาย เป็นการปรับปรุงอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้สิทธิประโยชน์ทดแทนเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ “เงินค่าทำศพ” และ “เงินสงเคราะห์” กรณีถึงแก่ความตาย ดังนี้  

 

1.ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 70 บาท หรือเดือนละ 100 บาท ถึงแก่ความตาย 

 

-ค่าทำศพ เดิมได้เงิน 20,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 25,000 บาท 

 

-เงินสงเคราะห์ อัตราเดิม 3,000 บาท เพิ่มเป็น 8,000 บาท 

2.ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 300 บาท ถึงแก่ความตาย 

 

-ค่าทำศพ เดิมได้เงิน 40,000 บาท อัตราใหม่ 50,000 บาท