“ปศุสัตว์” ช่วยน้ำท่วมปากช่อง ส่งเสบียง-ถุงยังชีพ

12 ต.ค. 2563 | 07:39 น.

อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่มอบเสบียงอาหารสัตว์ถุงยังชีพช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

นายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต

  

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่มอบเสบียงอาหารสัตว์และถุงยังชีพช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  เผยว่า จากอิทธิพลของพายดีเปรสชั่น และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุ่มทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักติดต่อมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2563 เกิดน้ำไหลหลากและน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร เช่น โคนม โคเนื้อทำให้ขาดแคลนอาหารสัตว์ร่วมพันตัว ดังนั้น ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์(ศปภศ)จึงได้สั่งการด่วนถึงทุกหน่วยงานในพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดความสูญเสียให้มีน้อยที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มีการอพยพสัตว์เลี้ยงของเกษตรก 15 ราย เป็นโคนมและโคเนื้อ จำนวน 508. ตัว แพะ 38 ตัว จัดหาหญ้าแห้งจำนวน 5,000 กิโลกรัม พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลรักษากรณีสัตว์เจ็บป่วย รวมทั้งมอบเวชภัณฑ์ บำรุงสุขภาพสัตว์ เป็นต้น

 

 

“ปศุสัตว์” ช่วยน้ำท่วมปากช่อง ส่งเสบียง-ถุงยังชีพ

 

ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมไว้ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถให้บริการแก่เกษตรกรได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ปัจจุบันกรมปศุสัตว์มีการ เตรียมความพร้อมด้านเสบียงอหารสัตว์ กว่า 5,600 ตัน หน่วยสัตว์แพทย์เคลื่อนที่ในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับกรม รวม325 หน่วย พาหนะสำหรับอพยพสัตว์ และขนส่งเสบียงอาหารสัตว์ 200 คัน ถุงยังชีพสำหรับสัตว์ 3,000 ถุงคอกสัตว์สำหรับตั้งจุดอพยพสัตว์ 30 ชุด ดังนั้น สำหรับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนและเกิดความเสียหายต้องการรับการช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ หรือติดต่อศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร 02-6534444 ต่อ 3315และ 3326 หรือ [email protected]

 

“ปศุสัตว์” ช่วยน้ำท่วมปากช่อง ส่งเสบียง-ถุงยังชีพ

 

ในวันเดียวกัน เปิดโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยโรดเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคนมจำนวนมากโดยเฉพาะอำเภอมวกเหล็กนั้นเป็นอำเภอที่มีการเลี้ยงโคนมอย่างหนาแน่นเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด และอาชีพการเลี้ยงโคนมถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยโรดเฮโมรายิกเชปทิซีเมีย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและร่วมมือกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดสระบุรีเนื่องจากโคนมเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างไวต่อผลกระทบที่เปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูกาล จึงมีผลทำให้เกิดการติดเชื้อและเกิดโดระบาดได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดโรคระบาดแล้วจะนำมาซึ่งความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทั้งค่ายารักษาโรค ความสูญเสียทางด้านผลผลิตน้ำนม ตลอดจนอาจสูญเสียโค กระบือที่ป่วยตาย
 

ดังนั้น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย การฉีดวัคซีนป้องกันโรดเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเป้อยให้แก่โคนมโคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และสร้างภูมิคุ้มกันโรคเฮโมรายิกเชปทิซีเมียให้แก่โค กระบือและไม่ให้เกิดการระบาดในอำเภอมวกเหล็ก ทางกรมปศุสัตว์ได้เน้นย้ำให้ 3จังหวัด ซึ่งเป็นเขตติดต่อและมีการเลี้ยงโคนมอย่างหนาแน่น ได้แก่ จ.สระบุรี จ.ลพบุรี จ.นครราชสีมา 

 

“ปศุสัตว์” ช่วยน้ำท่วมปากช่อง ส่งเสบียง-ถุงยังชีพ
 

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่าให้ทุกพื้นที่เร่งดำเนินการตามมาตรการควบคุม เฝ้าระวัง และกำจัดโรค อย่างเข้มงวด  ตามหลัก "รู้เร็ว คุมเร็ว สงบโรคได้เร็ว"เน้นประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรค พยากรณ์และคาดการณ์ระยะเวลาการควบคุมโรค และที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือสร้างเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานในการควบคุมโรคตามมาตรการที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยที่สุด