เด็กสาธิตม.พะเยาเจ๋งสร้าง"เครื่องบินสำรวจไฟป่า"

12 ต.ค. 2563 | 04:54 น.

เด็กสาธิต ม.พะเยาสุดเจ๋ง สร้างเครื่องบินบังคับวิทยุสำรวจไฟป่า แก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ อนาคตหวังเป็นต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เด็กสาธิตม.พะเยาสุดเจ๋ง สร้างเครื่องบินบังคับวิทยุสำรวจไฟป่า แก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ อนาคตหวังเป็นต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    

นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาคว้ารางวัล 4 ทีมสุดท้าย ในโครงการประกวดทักษะการพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมระดับประเทศ (Fablab Thailand Student Design and Engineering Project Competition 2020) ตอน ”ประลองความคิด ประดิษฐ์นวัตกรรม เพื่อชุมชน” โดยคิดค้นผลงาน “เครื่องบินสำรวจไฟป่า” เพื่อลดการเกิดไฟป่า ที่เป็นเหตุในการสร้างปัญหาหมอกควัน  ซึ่งประดิษฐ์ขึ้น โดยติดอันดับ 1 ใน 4 จากการคัดเลือก 173 ทีม ทั่วประเทศ โดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการ วมว.  ได้แก่ 1. นายอภิเชษฐ์ คำสุวัตร์ 2. นายภัทรดร ภัทรดรปกรณ์ 3. นายคุนานนท์ เจริญดี พร้อมด้วยนายศริทธิ์ พร้อมเทพ ที่ปรึกษาโครงการ และอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา 
          

นายอภิเชษฐ์ คำสุวัตร์ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า แนวคิดในการสร้างโครงงานนี้เริ่มมาจากทางโรงเรียนและทางชุมชน ประสบพบกับปัญหาทางฝุ่นและหมอกควัน ซึ่งต้นเหตุมาจากไฟป่า ทางกลุ่มพวกเราเลยคิดที่จะสร้างเครื่องบินสำรวจไฟป่าขึ้นมา เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนปัญหาไฟป่า ในส่วนของแรงบันดาลใจที่เลือกใช้เครื่องบิน เพราะว่าเครื่องบินใช้มอเตอร์แค่ตัวเดียวซึ่งมีราคาถูก และเหตุผลที่เลือกใช้เครื่องบินโมเดล cesna 172 ก็เพราะว่ามันมีห้องสำภาระที่ใหญ่ พร้อมเรียนรู้กับมัน และทุกคน อยู่ในสิ่งที่ชอบ ทำให้พบว่า การทำในสิ่งที่ชอบ  สามารถทำได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย ทำให้เกิดการลงมือทำได้อย่างจริงจัง และที่สำคัญ คือ ความสนุก และสามารถทุ่มเทได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย”
  เด็กสาธิตม.พะเยาเจ๋งสร้าง"เครื่องบินสำรวจไฟป่า"       

นายศริทธิ์ พร้อมเทพ ที่ปรึกษาโครงการและอาจารย์ประโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า การเริ่มต้นโครงงานเครื่องบินสำรวจไฟป่า เริ่มมาจาก การหาข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างครูกับนักเรียน โดยไม่มีการบังคับเด็ก ๆ ระหว่างการทำโครงการนี้ ปัญหาและอุปสรรค จะมีระหว่างทางเรื่อย ๆ การสร้างอากาศยานไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยประสบการณ์ การสร้างและการบินจริงพอสมควร ถ้าเริ่มจากปัญหาใหญ่ ๆ หลัก ๆ คือ เครื่องบินของเรา เมื่อสร้างเสร็จในรุ่นแรก ยังบินได้ไม่เรียบเท่าที่ควร แต่ละคนยังขาดประสบการณ์  จึงจำเป็นต้องอาศัยการขอคำปรึกษาจากคนที่เล่นเครื่องบิน ชมรมเครื่องบินบังคับวิทยุในที่ต่าง ๆ  เพื่อศึกษาเทคนิค การสร้าง เทคนิคการบินในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้การทำเครื่องบินในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
        

เด็กสาธิตม.พะเยาเจ๋งสร้าง"เครื่องบินสำรวจไฟป่า"

 

เด็กสาธิตม.พะเยาเจ๋งสร้าง"เครื่องบินสำรวจไฟป่า"

สำหรับการสร้างเครื่องบินในครั้งนี้ โรงเรียนสาธิต ม.พะเยา ยังมีห้องทดลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) หรือห้อง FABLAB โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย โดยการสร้างเครื่องบินสำรวจไฟป่าในครั้งนี้ ห้อง FABLAB ยังเป็นห้องที่คอย Support น้อง ๆ ช่วยเหลือในการออกแบบและประกอบเครื่องบิน โดยใช้เครื่องตัดเลเซอร์และเครื่องพิมพ์สามมิติ สนับสนุนด้านอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ และให้คำปรึกษาในด้านการเขียนโปรแกรมในการวัดค่า อ่านค่า ส่งค่า และควบคุม ในการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ  และนอกเหนือจากนักเรียน นิสิตแล้ว ยังสนับสนุนในการทำสื่อการเรียนการสอนของคณะครูอาจารย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนของนักเรียนอีกด้วย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

วว.เจียระไน‘ครีมมะขาม’พะเยา

"โคขุน-ไก่กระดูกดำ-ไข่เค็มกะทิ"ลุ้นGIใหม่"พะเยา"

"พะเยา"ปั้นนักประกอบการรุ่นใหม่4.0

ดีเดย์ ส.ค.นี้ หลังทช.ทุ่มงบ 473 ลบ.สร้างถนนผังเมืองรวมพะเยา

 

ที่มา สปชส.พะเยา