ขั้วการเมือง จัดทัพเปลี่ยนเกม 4 ทางออกประเทศไทย

07 ต.ค. 2563 | 06:25 น.

 

รายการ “พูดตรง ๆ กับ 3 บก.” ดำเนินรายการโดย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทาง FB, Yutube กรุงเทพธุรกิจ และ FB, Yutube ฐานเศรษฐกิจ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ต.ค.253 เวลา 21.00 น. ได้วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองว่า นับแต่นี้ไปจะมีโอกาสอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง

 

โดยชี้ว่า ขณะนี้เกิดการเคลื่อนไหว จัดทัพ เปลี่ยนเกม ของ “ลุงตู่” ที่เริ่มเล่น “เกมรุก”

 

ก่อนหน้านี้เดือนกันยายน ต้องบอกว่า “ลุงตู่” เล่นเกมรับ และมาเริ่มเล่นเกมรุก หลังจากที่ม็อบ 19 กันยาฯ ดูแล้วไม่น่าหวาดกลัวเท่าที่ควร 

 

เขาบอกว่า “แดง” มากกว่า “เด็ก” แรงขย่มของบรรดาม็อบ มวลชนที่จะร่วมสนับสนุนเริ่มร่อยหรอลง จากข้อเสนอ พูดง่ายๆ คือ ก้าวขึ้นไปเกินกว่าที่จะคิด

 

เดิมพยายามจะให้ผู้ชุมนุมปักหลักค้างคืน แต่ไม่สามารถชุมนุมยื้อเยื้อได้ แม้ว่า ไมค์ ระยอง จะประกาศว่า 14 ตุลาฯ จะชุมนุมยืดเยื้อ 7 วัน 7 คืน ไม่สามารถทำได้ ปักหลักยืดเยื้อคงไม่ได้

 

เดิมเรามองว่า กรณีที่รัฐสภายื้อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญออกไป “ม็อบ” อาจจะจุดติด แต่มันเกิดเหตุการณ์บางสถานการณ์ที่ “มีข้อมูลใหม่” ก็ทำให้ประเมินได้ว่าม็อบเดือนตุลาฯ ที่อาศัยวันทางประวัติศาสตร์ คือ 14 ตุลาฯ โอกาส “จุดติดยาก” เนื่องจากว่าการปรับทัพของ “พรรคเพื่อไทย” ทำนองว่า ต่อไปนี้จะไม่ร่วมกับ “ม็อบ” 

 

ตอนนี้นายกฯ ไม่ได้รุกด้วยตนเอง แต่มีคนรุกให้ เช่น กรณีมีข่าวให้คนไปตั้งพรรคสำรองไว้  

 

ปรับทัพอันแรก คือ เตรียมพรรคสำรองไว้ เพราะถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ พรรคพลังประชารัฐ “เจ๊ง” กลุ่มสามมิตรออกจากพลังประชารัฐแน่ คนที่เคยอยู่กับพรรคเพื่อไทยในอดีต จะย้ายจากพลังประชารัฐ ไปเกาะเกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย ที่มี “หัว” 

 

“แบรนด์พลังประชารัฐ ใช้ไม่ได้แล้วในการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อาจจะใช้ได้ แต่คะแนนเสียงจะไม่มาถล่มทลายแบบเดิม”

 

ส.ส.ที่อยู่พลังประชารัฐเดิมอาจจะย้ายกลับไปเพื่อไทย หรือ “ตั้งพรรคใหม่” แตกแบงก์ร้อยอีกรอบหนึ่ง คิดว่าพลังประชารัฐ แตกมากว่า “3 ก๊ก”

 

ขั้วการเมือง  จัดทัพเปลี่ยนเกม 4 ทางออกประเทศไทย

 

 

แต่ส่วนหนึ่งให้ดูกติกาการเลือกตั้งด้วยว่าจะเป็นอย่างไร บัตรใบเดียว หรือ 2 ใบ แต่ “มนุษย์การเมือง” สามารถก้าวข้ามกติกาไปหาที่วิธีการได้ สู้กับกติกา และอยู่ที่นั่นได้มีโอกาสเป็น ส.ส. หรือ เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ ถ้าเขาเห็นโอกาสมันถูกปิด เข้าก็ไปหาที่ใหม่ สู้กับกติกาเอา 

 

“พลังประชารัฐต่อไปขายไม่ได้แล้ว พลังประชารัฐในกรุงเทพฯ ที่ได้ส.ส. 13 เสียง วันนี้อาจจะศูนย์ ไปดูนะมีผู้นำพรรคพลังประชารัฐในกรุงเทพฯ แอบไปตั้งพรรคสำรองแล้ว อีกพรรคหนึ่ง นอกจากกรณีของ “บิ๊ก ฉ.-บิ๊ก ป.” เขาบอกว่า ผู้นำในกทม.ของพลังประชารัฐ 

 

เชื่อว่าพลังประชารัฐ เป็นพรรคเฉพาะกิจ  วันนี้หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นใคร 

 

 

 

3 บก.ระบุว่า ตอนนี้มีการ เตรียมเพราะสถานการณ์ทางการเมือง ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงแน่นอน แต่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตอนนี้ทุกพรรค ทุกคน คิดหมด แม้กระทั้งชาวบ้าน ร้านตลาด หรือ นักธุรกิจ ที่เราไปพบ เขาก็ถามตลอด

 

ตอนนี้ มี 4 หนทางที่มันจะเกิดขึ้น

 

1. ในเดือนพฤศจิกายน เปิดประชุมสภาฯ วาระแรกคือการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่รัฐสภาตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่ง รัฐสภาจะพิจารณาว่า จะรับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าเกิด “รับ” ก็ต้องไปคิดว่า ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) หรือไม่ ถ้า “ไม่รับ” หลักการการแก้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมั้ย เพราะไปดูโครงสร้างคะแนนโหวตครั้งที่ผ่านมา คนที่ไม่รับในรัฐบาล ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา รมต.ที่ร่วมรัฐบาลโหวตให้ แต่ในพรรคโหวตสวน และ พรรคชาติพัฒนาโหวตสวน

 

“เพราะฉะนั้น ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญ มันจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในรัฐบาล ประชาธิปัตย์แน่นอน ต้องโหวต ให้แก้ เคยประกาศไว้เป็นเงื่อนไขในการร่วมรัฐบาล ถ้าโหวตแล้ว ไม่ผ่าน ประชาธิปัตย์ต้องทบทวนการอยู่ร่วมรัฐบาล”

 

ทางออกแรกคือ เปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาล แต่สภาสมัยนี้ เพื่อไทย เป็นอะไหล่ไม่ได้ ถ้าไป ยอมเป็นอะไหล่ ก็คือ “พรรคจอมเสียบ” ซึ่งการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นตัวล้างไพ่

 

 

 

 

แนวทางที่ 2 มีการพูดกันเยอะ คือ “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นไปได้มั้ย กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่บอกว่า ไม่ผ่าน แล้วมาเป็นรัฐบาลแห่งชาติ ได้มั้ย ก็มองไปถึงเดือน พ.ย. เป็นทางออกที่มีการหยิบยกมา โดยไม่มีพรรคก้าวไกล เป็น “รัฐบาลสร้างชาติ”

 

แนวทางที่ 3 คือ เรื่องของการ “ยุบสภา” แต่นายกฯ อาจจะไม่ใช่คนตัดสิน เงื่อนไข เช่น ประชาธิปัตย์ เกิดถอนตัว แล้ว เพื่อไทย ไม่เข้าร่วม ยุบมั้ย หรือคดีที่มีต่อนายกฯ หรือ เรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ที่ประชาชนไม่ยอมรับ 

 

แนวทางที่ 4 คือ ยื้อกัน ต่อไป แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจชอบ อยากให้เกิดขึ้น 

 

3 บก.ยังมองถึงการได้อดีตข้าราชการ มาเป็นรัฐมนตรีคลังด้วยว่า เป็นเพราะคนนอกไม่รับ แต่การมีอดีตข้าราชการมาเป็นรัฐมนตรีคลัง โอกาสที่จะแก้ไขเศรษฐกิจสำเร็จ “ยากมาก” เนื่อง จากกรอบคิดของข้าราชการคิดแบบเดิม แต่ปัญหาของเศรษฐกิจมันใหญ่เกิดกว่าที่ข้าราชการจะคิดแก้ เพราะปรากฏการณ์ของโควิดเป็นปัญหาทั่วโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทย และวิธิคิดของข้าราชการเป็นแบบเดิมๆ มันใช้ไม่ได้

 

ทั้ง 4 ทางออกเป็นอะไรที่ชาวบ้าน ร้านค้าตลาด นักธุรกิจ ถามกันหมดว่า การเมืองมันจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง... 

 

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,616 หน้า 10 วันที่ 8 - 10 ตุลาคม 2563