เกียวโต: เมืองแห่งบริษัท Venture (ตอนจบ)

05 ต.ค. 2563 | 23:48 น.

คอลัมน์ ชี้ช่องจากทีมทูต

โดยศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

ในตอนแรกนั้น ก่อนจบเราได้พูดถึง บทบาทของสถาบันการศึกษาในนครเกียวโต ที่สำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้ “เกียวโต” เป็น เมืองแห่งบริษัท Venture ด้วยการนำผลงานวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาที่มีศักยภาพไปต่อยอดให้กลายเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทนำในด้านนี้ คือ มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก มีบริษัท Venture ที่เกิดจากการ “ต่อยอด” ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเกียวโตจำนวน 191 บริษัท มากเป็นอันดับสองรองจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (268 บริษัท)

 

ในตอนจบของบทความนี้ เราจะพูดถึงการส่งเสริมบริษัท Venture ของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งดำเนินการผ่าน 3 กลไกหลัก ได้แก่

 

  1. ธุรกิจเงินร่วมลงทุน เช่น บริษัท Kyoto University Innovation Capital (Kyoto-ICAP) ที่เน้นลงทุนในบริษัทนอกตลาดหุ้นที่มีแผนขยายธุรกิจและนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีระดับสูงของมหาวิทยาลัยฯ ไปพัฒนาเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ และบริษัท Miyako Capital ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัยฯ ทำให้เข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยฯ เช่น ความร่วมมือจากอาจารย์ในการทำแบบสำรวจด้านเทคโนโลยี การขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ

เกียวโต: เมืองแห่งบริษัท Venture (ตอนจบ)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกียวโต: เมืองแห่งบริษัท Venture (ตอนแรก)

โอกาสทางการค้าในเวียดนาม ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ส่องยุทธศาสตร์ Farm to Fork ของอียู สู่เทรนด์อาหาร ‘คลีน’ และ ‘กรีน’

ผัก-ผลไม้ไทยไปโลด! ชี้ช่องบุกบาห์เรน-ตลาดอ่าวเปอร์เซีย

 

  1. Innovation Hub Kyoto ภายใต้การบริหารจัดการของ Kyoto University Medical Science and Business Liaison Organization (KUMBL) มีภารกิจหลักประกอบด้วยการนำผลวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ไปต่อยอดเพื่อคืนประโยชน์สู่สังคม การช่วยจัดตั้งและสนับสนุนบริษัท Venture ของมหาวิทยาลัยฯ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้นักวิจัยและบริษัทต่าง ๆ สามารถพัฒนางานวิจัยพื้นฐานไปสู่การสร้างธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้อย่างราบรื่น รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในบริษัทต่าง ๆ รูปแบบการสนับสนุนของ Innovation Hub Kyoto มีการจัดพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดลองผลิตภัณฑ์ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนและโครงการต่าง ๆ

เกียวโต: เมืองแห่งบริษัท Venture (ตอนจบ)

  1. ชมรมสนับสนุนสตาร์ทอัพของนักศึกษามหาวิทยาลัยฯ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 และได้จัด online idea contest มีผู้เข้าร่วม 260 คน จาก 40 ประเทศ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นเวลา 3 วัน โดยให้นำเสนอแนวคิดที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

 

 ทั้งนี้ ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนถึงการมีเป้าหมายที่เป็นเอกภาพของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของนครเกียวโต ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอาจจะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานของนครเกียวโตเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินนโยบายส่งเสริมบริษัท Venture เพื่อนำมาปรับใช้กับนโยบายการส่งเสริมสตาร์ทอัพของประเทศไทยได้

 

พบกับอัพเดทความเคลื่อนไหวและโอกาสในตลาดต่างประเทศที่สถานทูตไทยทั่วโลกตั้งใจติดตามมาให้ภาคเอกชนไทยได้ที่เว็บไซต์ www.globthailand.com หากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถเขียนมาคุยกันได้ที่ [email protected]