เอกชน ขานรับ “อาคม” ว่าที่รมว.คลังคนใหม่

02 ต.ค. 2563 | 08:32 น.

เอกชนขานรับว่าที่รมว.คลังคนใหม่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ”  ชี้อยากเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเร่งด่วน  มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ ที่ถูกทาบทามให้มานั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังนั้น เอกชนมองว่ามีความเหมาะสม เพราะนายอาคม เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและอยู่ในแวดวงการเงินมาก่อน น่าจะทนแรงกดดันได้ดี  ซึ่งก็ต้องรอดูนโยบายที่จะออกมาในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพื่อให้ธุรกิจต่างๆกลับมาเดินหน้าได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทูลเกล้าฯรายชื่อ "รมว.คลัง" คนใหม่แล้ว "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" ยืนหนึ่ง

ส่องผลงาน "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" ว่าที่รมว.คลังคนใหม่

รู้จัก "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" ว่าที่ รมว.คลัง ผู้ใจถึง  เข้มแข็ง ในปฐพี

โดยเฉพาะธุรกิจที่ล้มไปแล้วหรือที่กำลังง่อนแง่นให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เอกชนคาดหวังว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจกลับมาหล่อเลี้ยงตนเองได้   โดยเอกชนมองว่าช่วงนี้เป็นโอกาสที่เศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัวแม้ว่าจะยังไม่มีวัคซีนออกมาแต่ก็มีสัญญาณที่ดีว่าทั้งโลกผ่านจุดต่ำสุดมากแล้วในเรื่องของไวรัสโควิด-19 และแต่ละประเทศก็มีวิธีการควบคุมที่ดี แม้ว่าบางประเทศจะมีการแพร่ระบาดกลับมาแต่มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมได้

เอกชน ขานรับ “อาคม”  ว่าที่รมว.คลังคนใหม่

“สิ่งที่ภาคเอกชน อยากเห็นมากที่สุดคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนปัญหาค่าเงินบาท คิดว่ากระทรวงการคลังและมีนโยบายด้านการเงินในเรื่องนี้ดี”

 

เอกชน ขานรับ “อาคม”  ว่าที่รมว.คลังคนใหม่

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า  กรณีที่มีการทาบทาม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้ามาดำรงค์ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีความเหมาะสม และสิ่งที่ภาคเอกชนมองอยากเห็นคือกระทรวงกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศโดยด่วนและช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย ภายใต้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ,การขยายการโครงการประกันสังคม 62% เพื่อเยียวยาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ภายใต้มาตรา 33 ออกไปถึงสิ้นปี 2563    

 

นอกจากนี้ ต้องการให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียน  เพื่อเข้าถึงสินเชื่อแบบมีสินค้าเป็นประกัน (Packing Credit under Stock)  ให้สามารถเข้าถึงเงินกู้ได้  และการช่วยเหลือการในการปล่อยเงินกู้ 24,000 ล้านบาทให้กลุ่มสายการบินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ  เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศได้ และการเดินหน้าลงทุนโครงการของภาครัฐที่สำคัญ