เช็กที่นี่ "สปสช." เปิด 20 จุดลงทะเบียนสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง

19 ก.ย. 2563 | 19:00 น.

สปสช. เผย 20 จุดในกรุงเทพฯสำหรับลงทะเบียนสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง

หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ  สปสช. ประกาศเพิกถอนสัญญา คลินิก-โรงพยาบาล 64 แห่ง ที่กระทำผิดสัญญาให้บริการสาธารณสุขในการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 2563 เป็นต้นไป 


จากกรณีดังกล่าวส่งผลกระทบกับประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทอง 8 แสนราย ซึ่งทาง สปสช.ก็ได้แจ้งในเบื้องต้นว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้ารับบริการที่ คลินิก ศูนย์บริการสาธารณสุข รพ.รัฐและเอกชน ใกล้บ้าน ที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพได้ก่อน จนกว่า สปสช.จะจัดหาหน่วยบริการประจำรองรับได้

 
สำหรับหน่วยบริการที่ให้การรักษากับประชาชนกลุ่มดังกล่าว สามารถเรียกเก็บค่าบริการสาธารณาสุขมาที่ สปสช.เป็นกรณีสิทธิว่างที่เกิดความกังวัลใจและสับสนในการจะใช้บริการ


อย่างไรก็ตามประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเพิกถอนสัญญาในครั้งนี้ ก็มีความกังวลใจและเกิดคำถามมากมาย ซึ่งทาง สปสช. ก็ได้เร่งประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งไขข้อข้องใจในทุกช่องทาง

เช็กที่นี่ "สปสช." เปิด 20 จุดลงทะเบียนสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง
 

ล่าสุดได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลงทะเบียนสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง ณ จุดลงทะเบียน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ประชาชนที่ได้ที่ได้รับผลกระทบฯสามารถเข้ามาใช้บริการได้ โดยต้องทำการตรวจสอบสิทธิผ่านเว็บไซต์ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml  หลังจากนั้นเมื่อพบว่าตนเองมี "สิทธิว่าง" สามารถไปติดต่อขอลงทะเบียนสิทธิบัตรทอง ด้วยตนเอง ที่จุดลงทะเบียนที่ สำนักงานเขต 19 แห่ง และจุดลงทะเบียนอื่นๆได้แก่


1.คลองเตย 2.คลองสามวา 3.ธนบุรี 4.บางกะปิ 5.บางขุนเทียน 6.บางพลัด 7.บางแค 8.ประเวศ 9.พระโขนง  10.มีนบุรี 11.ราชเทวี  12.ราษฎร์บูรณะ 13.ลาดกระบัง 14.ลาดพร้าว 15.สายไหม 16.หนองจอก 17.หนองแขม 18.หลักสี่ 19.ห้วยขวาง  20. เดอะมอลล์บางแค (ชั้น 3 / ฝ่าย จุดบริการด่วนมหานคร )


โดยสามารถติดต่อได้ตั้งแต่เวลา  08.00 – 16.00 น. (จันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) หรือสอบถามได้ที่เบอร์โทร.1330 
 

เช็กที่นี่ "สปสช." เปิด 20 จุดลงทะเบียนสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง

ขณะที่เอกสารจำเป็นที่จะต้องใช้ยื่นเพื่อลงทะเบียนในการเปลี่ยนหน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบไปด้วย 


กรณีพักอาศัยอยู่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชนหลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่น ได้แก่

-บัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก

-กรณีเป็นเด็กเล็กให้ใช้ "สูติบัตร" (ใบเกิด) แทน


กรณีพักอาศัยไม่ตรงกับที่อยู่ในบัตรประจำตัวประชาชน ต้องใช้หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพิ่มเติม อาทิ
-หนังสือรับรองการพักอาศัยอยู่จริงของเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

-หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นำชุมชน

-หนังสือรับรองจากผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้าง

-เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ

-ทะเบียนบ้านของผู้ลงทะเบียน
 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง