New Normal แดนปลาดิบ มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

09 ก.ย. 2563 | 12:12 น.

ส่อง New Normal พฤติกรรมชาวญี่ปุ่นในยุคโควิด ทั้งการบริโภคสินค้าและบริการ ท่องเที่ยว-สันทนาการ มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต./ ทูตพาณิชย์) ณ นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น รายงานว่า นับตั้งแต่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินในวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา พร้อมรณรงค์ในการใช้ชีวิตแบบ New Normal ที่แปลว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบปกติรูปแบบใหม่ภายใต้สิ่งกระทบบางอย่างในบริบทปัจจุบันนั่นคือ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจากเหตุการณ์นี้ได้ส่งผลกระทบกับปัจจุบันการบริโภคสินค้าและบริการของชาวญี่ปุ่นด้วย โดยในบทความนี้ สคต. โอซากา ได้รวมรวบพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป(ข้อมูลจากสื่อญี่ปุ่น) เช่น

 

การให้บริการของร้านอาหาร จากการสำรวจยอดจำหน่ายของร้านอาหารต่าง ๆ พบว่า อาหารจำพวกที่สามารถรับประทานได้คนเดียวนั้น มียอดการสั่งที่เพิ่มขึ้น เช่น ราเมน (ก๋วยเตี๋ยว), ข้าวแกงกะหรี่, ซูชิ,พาสต้า ในขณะที่อาหารที่ต้องรับประทานหลายคนนั้น มียอดการจำหน่ายที่ลดลง เช่น ชาบูชาบู ร้านเนื้อย่าง ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้การบริการของร้านอาหารเกิดการปรับตัวตามมา โดยร้านอาหารได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเช่น จากเดิมเสิร์ฟอาหารในรูปแบบจานใหญ่ ๆ ที่สามารถนำมาแบ่งปันกันและรับประทานร่วมกันได้ เป็นการเสิร์ฟอาหารในรูปแบบของจานเดี่ยว ๆ หรือจานย่อยสำหรับ 1 คน แทน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคลง

 

 New Normal แดนปลาดิบ มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

 

ในทำนองเดียวกัน ร้านอาหารที่รับประทานเป็นกลุ่ม เช่น ร้านอาหารชาบูชาบูก็ได้ปรับตัวเช่นกัน จากการบริโภคด้วยการใช้หม้อใบใหญ่และรับประทานรวมกัน ก็เปลี่ยนมาเป็นการให้บริการด้วยหม้อส่วนตัว สำหรับแต่ละคน เช่นเดียวกับ ชุดเซ็ตเนื้อและผักที่มาในขนาดที่พอดีสำหรับ 1 คน ทำให้สามารถแยก และลดการเคลื่อนย้ายของกิจกรรมได้ นอกจากนี้ยังพบว่า นอกจากการรับประทานอาหารภายในร้านอาหารแล้ว การสั่งอาหารนำกลับบ้านหรือ Take Out นั้น ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

 New Normal แดนปลาดิบ มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

 

ในด้านของการท่องเที่ยว กิจกรรมสันทนาการและกิจกรรมต่าง ๆ พบว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันนั้นเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากการทำงานออนไลน์จากที่บ้าน (Work form home) การท่องเที่ยวทางออนไลน์เสมือนจริง (Online Virtual Travel) , งานคอนเสิร์ตแบบเสมือนจริง (Virtual Live Concert), คอร์สสอนการออกกำลังกายแบบเสมือนจริง (Virtual Exercise Lesson),รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อลดการปฏิสัมพันธ์และการรวมกลุ่มของคนให้มากที่สุด (Social Distancing) ที่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้งานและผู้บริโภคในกลุ่มนี้ก็เพิ่มขึ้นตามสภาพการให้บริการที่เปลี่ยนไป

 

 

ด้านของผลิตภัณฑ์พบว่า กลุ่มสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ กลุ่มอาหารสดสำหรับประกอบอาหาร และบริการความบันเทิงภายในบ้านต่าง ๆ มียอดการใช้งานและยอดจำหน่ายสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม กลุ่มสินค้าที่ใช้นอกบ้าน เช่น กลุ่มสินค้าเอาท์ดอร์ แคมป์ปิ้ง มียอดการจำหน่ายที่ลดลง แม้จะมีแรงกระตุ้นจากเทรนด์การแคมป์ปิ้งที่บ้านก็ตาม นอกจากนี้กลุ่มเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก, แป้งรองพื้น, ครีมกัน แดดก็มียอดจำหน่ายที่ลดลงเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวตามการใช้ชีวิตภายใต้การดำเนินชีวิตแบบ New Normal

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ญี่ปุ่นสู้โควิด อัดฉีดเพิ่ม 200 ล้านล้านเยน

ญี่ปุ่นจะได้นายกฯ คนใหม่กลางเดือนก.ย.

สื่อญี่ปุ่นชมไทย ตัวอย่าง New normal สกัดโควิด(คลิป)