นายกฯ สั่งศึกษา "แลนด์บริดจ์" เชื่อมตะวันออก-ตะวันตก

08 ก.ย. 2563 | 07:01 น.

นายกฯ สั่งศึกษา "แลนด์บริดจ์" เชื่อมตะวันออก-ตะวันตก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (8 กันยายน 2563) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)  โดยนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่จริง ดังนั้น ต้องมีโครงการขนาดใหญ่นอกจากอีอีซีแล้วซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการ โครงการแลนด์บริดจ์ ที่จะมาช่วยการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ขั้นตอนศึกษา ลงทุน เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั้ง 4 มิติ คือ ทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศว่า มีแผนงานครอบคลุมทั่วประเทศโดยในส่วนของพื้นที่ภาคใต้จะมีการศึกษาเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระดับความลึกที่ 15 เมตร เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย คือ จ.ชุมพร-จ.ระนอง ซึ่งได้วางไว้ 2 รูปแบบ คือ พัฒนาท่าเรือเดิมที่มีหรือสร้างท่าเรือใหม่ที่อาจจะมีการถมทะเลที่ทั่วโลกก็ทำกัน เช่น สิงคโปร์ และมาเก๊า โดยจะประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และแก้ปัญหาผลกระทบต่อประชาชน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ฟื้นครม.เศรษฐกิจ นายกฯปรับกระบวนสู้ศึก

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ เร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

เมื่อ‘นายกฯ’สวมบท หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ

“บิ๊กตู่”ลั่น! ยังไม่ถึงเวลา เรียกร้องให้“นายกฯลาออก”

 

ดังนั้น จะต้องตัดสินใจเรื่องการอนุรักษ์และบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่หากเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะทำให้เสียโอกาส ซึ่งแม้ตนจะไม่ใช่คนภาคใต้ แต่ก็อยากเห็นภาคใต้เจริญ

นอกจากนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะศึกษาส่วนของท่าเรือน้ำลึก รวมไปถึงเรื่องรูปแบบการลงทุนกับเอกชน (PPP) โดยศึกษาในปี 2564 ใช้เงินจากงบกลาง วงเงิน 75 ล้านบาท คาดว่า จะมีความชัดเจนในการลงทุน รวมถึงจะมีโครงการแลนด์บริดจ์ ทั้งมอเตอร์เวย์ โดย กรมทางหลวง (ทล.) ที่ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ศึกษา และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษารถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. เพื่อเชื่อมท่าเรือจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในปี 2565 และนำเสนอนายกฯต่อไป

 

“จะมีคำถามว่า ทำไมถึงไม่ทำคลองคอดกระ เรื่องนี้เพราะปัญหาระดับน้ำทะเลอันดามันและอ่าวไทยไม่เท่ากัน ทำให้ต้องสร้างสถานีสำหรับปรับระดับน้ำ ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก และเสียเวลามากกว่ารูปแบบการทำท่าเรือ และแลนด์บริดจ์มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่เชื่อม ซึ่งจะไม่ตอบโจทย์การประหยัดเวลาและงบประมาณในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ทางน้ำ” นายศักดิ์สยาม กล่าว