บำรุงราษฎร์ หนุน “ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์” ฟื้นศก.หลังโควิด  

07 ก.ย. 2563 | 03:46 น.

บำรุงราษฎร์ ชูบริการแบบองค์รวม หนุน “ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์” มั่นใจฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19 คลาย

Global COVID-19 Index (GCI) จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 1 ของเอเชีย  ในการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก และเป็นประเทศที่บรรเทาการระบาดของไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุดในโลก สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ถือเป็นโอกาสดีในการสร้างความได้เปรียบทางการตลาดด้านความปลอดภัย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ให้เป็นตัวชูโรงด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยหลังโควิด-19 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอีกทางหนึ่ง ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งพร้อมให้การสนับสนุน รวมถึงโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

 

เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลกที่ได้การประกาศรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) COVID-19 ซึ่งเป็นการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  และได้รับการยอมรับว่าเป็น ต้นแบบและจุดหมายหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก (Medical Tourism Destination)   

อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์

ทั้งนี้โรงพยาบาลมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การบริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลก เพื่อให้การดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ  ตามแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสาน (Integrated Medicine) ทั้งในด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน (conventional medicine) และการรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Medicine) แบบองค์รวม รวมถึงวางแผนการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine)

 

ด้านรศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ผู้อำนวยการปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า บำรุงราษฎร์ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถดูแลรักษาโรคเฉพาะทางและซับซ้อนได้อย่างครอบคลุมและมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อาทิ ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery Center)  การนำเทคโนโลยีขั้นสูง AI IBM Watson for Oncology เพื่อวางแผนการรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะเจาะจงให้ผู้ป่วยแต่ละราย เป็นต้น แต่ละปีมีผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ารับการรักษากว่า 1.1 ล้านราย

บำรุงราษฎร์ หนุน “ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์” ฟื้นศก.หลังโควิด  

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การประชุมศูนย์กลางด้านการแพทย์ ปี 2561 รายงานว่ามีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประมาณ 3.4 ล้านครั้ง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.4 แสนล้านบาท และไทยยังมีสถานบริการสุขภาพผ่านมาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาลระดับสากล JCI ถึง 68 แห่ง มากที่สุดในอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงความได้เปรียบในการแข่งขันด้าน Medical Hub ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศ โดยมีผู้ป่วยต่างชาตินิยมเข้ามารักษาตัวในประเทศไทย 5 อันดับแรก คือ กลุ่มตะวันออกกลาง 12.5% เมียนมา 8.7% สหรัฐฯ 6.2% สหราชอาณาจักร 5% และญี่ปุ่น 4.9%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถอดบทเรียนอู่ฮั่น “บำรุงราษฏร์” จัดโซนนิ่งแยกพื้นที่เฉพาะ

บำรุงราษฎร์ ชูนวัตกรรม  “ป้องกัน” โรค