ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ ขู่ปักหลักจนกว่าจะได้คำตอบ

02 ก.ย. 2563 | 13:00 น.

สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ บุกทำเนียบ ทวงสัญญา “บิ๊กตู่” 14 ข้อ ไม่คืบ ปัญหากลับหนักเพิ่มขึ้น ร้องเปลี่ยนการจับปลาปรมงพาณิชย์ จากกำหนดวันทำประมง เปลี่ยนเป็นโควตาจับสัตว์น้ำ ขู่ชุมนุมจนกว่าจะได้รับคำตอบ

ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ ขู่ปักหลักจนกว่าจะได้คำตอบ

 

รายงานข่าวจากศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 (สนง.กพ.เดิม)  นำโดยนายสะมะแอ  เจะมูดอ  นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย พร้อมสมาชิก  15 คนนำโดยยังทำเนียบรัฐบาล ยื่นหนังสือถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาเนื่องจากไม่มีความคืบหน้าหลังกลุ่มประมงพื้นบ้านได้นำเสนอปัญหาต่อรัฐบาล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และหลายกรณีกลับมีสถานการณ์ปัญหาที่รุนแรงขึ้น เช่น ปัญหานายทุนยึดพื้นที่เพาะเลี้ยง ปัญหาการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเครื่องมือการประมงศักยภาพสูง รวมทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำของสัดส่วนในการจับสัตว์น้ำมีมากขึ้น ทั้งหมด 14 ข้อ

 

โดยเรียกร้องให้รัฐบาลต้องหยุดยั้งการประมงที่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยการกำหนด ชนิด ขนาด และสัดส่วน พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ห้ามทำการประมงช่วงวัยอ่อน, ให้รัฐบาลออกระเบียบควบคุมการใช้เครื่องมืออวนล้อมจับ ลดจำนวนของเรือปั่นไฟจับสัตว์น้ำที่ใช้อวนตาถี่ และกำหนดให้เรืออวนลากคู่ทำการประมงในระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 15 ไมล์

.

เปลี่ยนการกำหนดโควตาการจับสัตว์น้ำ จากจำนวนวัน (240 วัน) เป็นปริมาณน้ำหนักที่แท้จริง เพราะการให้โควตาเป็นจำนวนวันดังกล่าว เป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรมกับชาวประมงพื้นบ้าน เนื่องจากเรือประมงขนาดใหญ่สามารถใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับสัตว์น้ำได้มากกว่า โดยข้อมูลปี 2562 พบว่า กลุ่มประมงพาณิชย์จับสัตว์น้ำไปถึง 1.4 ล้านตัน แต่ชาวประมงพื้นบ้านจับได้แค่ 1.6 แสนตัน

.

 

แก้ไขปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 บางส่วน เพื่อให้เป็นธรรมกับประมงพื้นบ้าน, จัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านและสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาการประมงพื้นบ้านแบบครบวงจร โดยสนับสนุนกองทุนประมงพื้นบ้านลงถึงแต่ละจังหวัด เน้นส่งเสริมตามระดับกิจกรรม ทั้งในด้านต้นทุนการประมง การอนุรักษ์ทรัพยากร ช่วยเหลือยามเกิดภัยพิบัติและกรณีเครื่องมือเสียหายหรือเครื่องมือหายโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

จัดตั้ง “โรงเรียนชาวประมงยั่งยืน” เพื่อตอบสนองการประมงสมัยใหม่ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับภูมิปัญญาและหลักความเชื่อชุมชนได้อย่างมีเหตุผล โดยให้ผู้นำชาวประมงตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนร่วมควบคุมบริหารจัดการ ให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่เผยแพร่ความรู้การทำประมงพื้นบ้านหรือประมงพาณิชย์ที่รับผิดชอบ โดยหลักสูตรอาจประกอบด้วย หลักการทำประมงรับผิดชอบ ภูมิอากาศ ทักษะการจับปลา ความปลอดภัยกฎหมาย และมีการรับรองเมื่อจบหลักสูตร หากไม่ได้คำตอบถึงความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม กลุ่มประมงพื้นบ้านอาจปักหลักชุมนุมที่กรุงเทพฯ จนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจน

ข้อเรียกร้อง 14 ข้อ

ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ ขู่ปักหลักจนกว่าจะได้คำตอบ

ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ ขู่ปักหลักจนกว่าจะได้คำตอบ

ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ ขู่ปักหลักจนกว่าจะได้คำตอบ

ประมงพื้นบ้านทวงสัญญารัฐ 14 ข้อ ขู่ปักหลักจนกว่าจะได้คำตอบ