เปิดข้อคิด“สี จิ้นผิง”ต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของจีน

30 ส.ค. 2563 | 05:02 น.

เปิดวิสัยทัศน์-ข้อคิด “สี จิ้นผิง” ต่อการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน ชี้ความขัดแย้ง-ข้อพิพาทควรสลายในระดับรากหญ้า ความสมานฉันท์และความมั่นคงควรสร้างในระดับรากหญ้า

 

 

 

พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อคิดจากสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในเวทีประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน ระยะเวลา ๕ ปี ฉบับที่ ๑๔ (ตอนที่ ๒ - จบ)  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้   


๑. ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า  


     ๑.๑ สังคมที่มีความทันสมัย ควรเปี่ยมด้วยพลังชีวิต ทั้งมีระเบียบที่ดี ปรากฏพลังชีวิตและระเบียบที่เป็นเอกภาพ ที่ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ ควรปรับปรุงระบบการบริหารสังคมที่ร่วมสร้างร่วมบริหารและร่วมเข้าถึงกันให้สมบูรณ์ขึ้น ให้การบริหารโดยรัฐกับการปรับโดยสังคม และการปกครองตนเองโดยพลเมือง มีการตอบสนองโดยตรงกันด้วยดี สร้างประชาคมบริหาร


จัดการสังคมที่ทุกคนมีความรับผิดชอบ และทุกคนเข้าถึงประโยชน์กันถ้วนหน้า ควรเพิ่มและสร้างสรรค์การบริหารสังคมระดับรากหญ้า ให้เซลล์สังคมทุกเซลล์ล้วนเป็นไปด้วยดีและมีความคึกคัก ความขัดแย้งและข้อพิพาทควรสลายในระดับรากหญ้า ความสมานฉันท์และความมั่นคงควรสร้างในระดับรากหญ้า ควรมุ่งรักษาความเป็นธรรมความเที่ยงธรรมสังคมมากขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมการพัฒนารอบด้านของมนุษย์และความก้าวหน้ารอบด้านของสังคม 


     ๑.๒ เมื่อวันที่ ๒๓ พ.ย.๕๘ ขณะที่เป็นประธานการประชุมกรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ ๑๘ เพื่อรับฟังการบรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งที่ ๒๘ นั้น ได้กล่าวคำปราศรัยเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซโดยเฉพาะ 


ทั้งนี้ ทฤษฎีมาจากภาคปฏิบัติ และถูกใช้มาชี้นำการปฏิบัติ นับตั้งแต่ดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา ซึ่งได้ประมวลผลการปฏิบัติใหม่ที่คึกคักอย่างทันท่วงที ผลักดันการคิดค้นทฤษฎีอย่างต่อเนื่อง ได้เสนอความเห็นสำคัญมากมายในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น แนวคิดการพัฒนา ระบบกรรมสิทธิ์ ระบบจัดสรรแบ่งปัน พันธกิจภาครัฐ การควบคุมมหภาค โครงสร้างอุตสาหกรรม โครงสร้างการบริหารจัดการวิสาหกิจ ระบบหลักประกันชีวิตประชาชน และการบริหารจัดการทางสังคม เป็นต้น 

                                  เปิดข้อคิด“สี จิ้นผิง”ต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของจีน
 

 

นอกจากนี้ ทฤษฎีเกี่ยวกับการเร่งให้เกิดโครงสร้างการพัฒนาใหม่ที่ถือการหมุนเวียนใหญ่ภายในประเทศเป็นหลัก การหมุนเวียนภายในประเทศและต่างประเทศมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมความถูกต้องเป็นธรรมทางสังคม บรรลุความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทั้งมวลอย่างมีขั้นตอน ทฤษฎีเกี่ยวกับการบูรณาการด้านความมั่นคงกับการพัฒนา เป็นต้น ซึ่งผลงานทฤษฎีดังกล่าวนี้ ไม่เพียงแต่ได้ชี้นำปฏิบัติการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนอย่างมีพลังเท่านั้น หากยังได้ยกระดับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซอีกด้วย 


๒. ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะ ๕ ปี ฉบับที่ ๑๔ ของจีน ต้องให้ความสำคัญกับการทำอย่างไรจึงปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ลุ่มลึกได้ ทั้งในด้านโครงสร้างสังคม ความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางสังคม จิตสำนึก อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้องสร้างตำแหน่งงานให้มากขึ้นและได้คุณภาพมากขึ้น 


ปรับระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมทั่วอย่างยั่งยืน สร้างเสริมระบบสาธารณสุขและการควบคุมโรค ให้ประชากรพัฒนาอย่างสมดุลในระยะยาว เพิ่มการบริหารสังคมมากขึ้น สลายความขัดแย้งและรักษาเสถียรภาพทางสังคม ซึ่งล้วนต้องศึกษาและวางแผนงานอย่างจริงจังทั้งสิ้น โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอว่า 


     ๒.๑ ยึดเงื่อนไขของประเทศเราเป็นที่ตั้ง จากภาคปฏิบัติของจีน ไปสู่ภาคปฏิบัติของจีน เขียนวิทยานิพนธ์บนผืนแผ่นดินมาตุภูมิ ทำให้ทฤษฎีและนโยบายสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของจีน มีเอกลักษณ์ของจีน พัฒนาเศรษฐศาสตร์การเมืองและสังคมศาสตร์แห่งสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนอย่างต่อเนื่อง 


๒.๒ ทำการสำรวจและศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ตรวจสอบสภาพที่แท้จริง ใช้วิธีการที่เป็นรูปธรรม สะท้อนสภาพข้อเท็จจริงอย่างเต็มที่ ทำให้การคิดค้นนโยบายและทฤษฎีมีที่มาที่ไปและสมเหตุสมผล 


 

 

๒.๓ ยึดหลักแห่งการพัฒนา ยืนหยัดจุดยืน ทัศนะและวิธีการลัทธิมาร์กซ ค้นพบแก่นแท้จากปรากฏการณ์ ค้นหาแนวโน้มระยะยาวจากการปั่นป่วนในระยะอันสั้น ทำให้การคิดค้นนโยบายและทฤษฎีสะท้อนความทันสมัยและถูกหลักวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ 

 

๒.๔ มีวิสัยทัศน์ระดับสากล ศึกษาค้นคว้าประเด็นที่มนุษยชาติเผชิญร่วมกัน จากการติดต่อไปมาหาสู่กันระหว่างจีนกับโลก รวมทั้งมีส่วนร่วมในภูมิปัญญาจีนและแนวทางแก้ปัญหาของจีนในการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ 


บทสรุป ในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ดังกล่าว ได้ให้ข้อคิดที่สำคัญว่า ปัจจุบัน ท่ามกลางทะเลใหญ่แห่งเศรษฐกิจโลกที่กำลังมีคลื่นใหญ่ปั่นป่วน การที่จะควบคุมเศรษฐกิจประเทศจีน ซึ่งเปรียบเสมือนเรือใหญ่ในทะเลได้หรือไม่นั้น นับเป็นการทดสอบสำคัญต่อพรรคฯ 


เมื่อเผชิญหน้าสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่สลับซับซ้อน รวมทั้งปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจอันหลากหลาย การเรียนรู้เข้าใจวิธีและหลักการพื้นฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองลัทธิมาร์กซนั้น จะมีส่วนช่วยให้สามารถมีวิธีวิเคราะห์เศรษฐกิจที่ถูกหลักวิทยาศาสตร์ เข้าใจกระบวนการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ปฏิบัติตามหลักแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม โดยเฉพาะการตอบคำถามด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนได้อย่างถูกต้อง