"แอร์เอเชีย" ปรับกลยุทธ์ใหม่หลังโควิด-19

29 ส.ค. 2563 | 09:23 น.

"แอร์เอเชีย" ปรับแผนกลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่หลังโควิด-19 ทั้งการเพิ่มรายได้ หาเงินทุน ลดต้นทุน จัดโปโมชั่นดึงลูกค้า รับปิดเที่ยวบิน 2 เดือนกระทบหนัก เร่งฟื้นสายการบินเต็มที่ หลัง 7 สายการบินหารือนายก หวังมาตรการซอฟโลนเสริมสภาพคล่อง มั่นใจแอร์เอเชียไม่ลดพนักงานแน่นอน

นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยในการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) 2563  ในหัวข้อ “สายการบินกระทบแรง – ปรับตัวแรง ภายใต้ธุรกิจหลัง Covid แบบ New Normal” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2563 ว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทบต่อเศรษฐกิจ การล็อกดาวน์ประเทศ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสายการบิน ส่งผลให้แอร์เอเชียหยุดให้บริการทันทีเป็นเวลามากว่า 2 เดือน  ทำให้แอร์เอเชียต้องปรับตัวธุรกิจภายในเพื่อยังคงให้ดำเนินธุรกิจและรายได้ให้กับองค์กร ทั้งนี้  แอร์เอเชียยังมั่นใจไม่มีการลดพนักงงานอย่างแน่นอน  พร้อมกันนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นฟื้นตัวได้ดีในปี 2565 นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โลกอันมืดมิดสายการบิน รัฐไม่ช่วย“ตายสนิท”

นายก สั่ง คลัง หาซอฟท์โลนช่วย 7 สายการบิน 2.4 หมื่นล้าน

ทอท.แจง อุ้ม สายการบิน-คิงเพาเวอร์ สูญรายได้2ปีนี้ร่วม50%

"อเมริกัน แอร์ไลน์" จ่อปลดพนักงาน 19,000 ตำแหน่ง

 

ทั้งนี้  จากช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 แอร์เอเชียปิดบริการสายการบินไปนานกว่า 2 เดือน และหลังจากนั้นปิดบริการก็เริ่มเปิดให้บริการสายการบินแอร์เอเชีย ซึ่งเปิดให้บริการเครื่องบินครั้งแรกเพียง 3 ลำและทยอยเปิดให้บริการเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง  และในเดือนกันยายน 2563  แอร์เอเชียจะนำเครื่องบินมาให้บริการทั้งสิ้น 30 ลำ  ซึ่งเป็นจำนวนเครื่องบินเพียงครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 60 ลำ  แต่ทั้งนี้  จากจำนวนเครื่องบินที่ให้บริการนั้นยังมองว่ายังไม่เพียงพอต่อทำรายได้ให้กลับมาหรือการกำไรได้  โดยหากจะให้รายได้กลับมาและมีกำไรได้จะต้องเปิดให้บริการเครื่องบินประมาณ 40-45 ลำ

“สายการบินหากทำกำไรให้ได้ 3-5% ในช่วงวิกฤติแบบนี้ถือว่าเก่งมาก เพราะหากดูในอดีต แอร์เอเชียเคยปิดให้บริการเที่ยวบินสูงสุดเพียงแค่ 3 วันช่วงมีปัญหาเรื่องของการปิดสนามบิน  แต่วิกฤติโควิด-19 แอร์เอเชียปิดให้บริการถึง 2 เดือนกว่าถือว่าเป็นเรื่องที่กระทบอย่างมาก ส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินการให้กับธุรกิจและการทำงานของพนักงานเพื่อลดต้นทุน โดยจากการประเมินรายได้ตอนนี้ แอร์เอเชียสามารถดำเนินธุรกิจได้ในระยะอีก 2 เดือนจากนี้  ดังนั้น  แอร์เอเชียจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนเข้ามาเพื่อดำเนินธุรกิจ”

 

สำหรับแหล่งเงินทุนสำคัญ  มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาทของรัฐบาลเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยเหลือสายการบินได้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563  ที่ผ่านมาผู้ให้บริการ 7 สายการบินได้เข้าหารือกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  หลังจากได้ทำหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจการบินของประเทศไทยเนื่องจากผลกระทบของโควิด-19  ซึ่งคาดว่าน่าจะมีข้อสรุปมาตรการช่วยเหลือได้ภายในเดือนตุลาคม 2563 นี้ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่สายการบินในประเทศกลับมาดำเนินธุรกิจได้

 

“ส่วนแผนธุรกิจต่างๆของทุกสายการบินนั้นได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย  พร้อมกับเสนอกับยังเอ็กซิมแบงก์ และหารือในรายละเอียดทั้งหมดแล้ว รอเพียงการอนุมัติเบิกจ่ายจากกระทรวงการคลัง ส่วนปัญหาเรื่องของหลักทรัพย์ค่ำประกันนั้น  เนื่องจากสายการบินไม่มีได้เสนอ 2 ทางเลือก คือ ให้นำเรื่องขอความสามารถการสร้างรายได้ของสายการบินค้ำได้ไหม  หรือให้รัฐบาลค้ำประกัน  โดยระยะเวลาช่วยเหลือ 5 ปี หากไม่มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล แอร์เอเชียก็พร้อมที่จะหาช่องทางในการหาแหล่งเงินทุนเข้ามาดำเนินธุรกิจ เช่น การเพิ่มทุน  การกู้เงิน  แต่ก็ต้องยอมรับว่าสายการบินกู้เงินผ่านสถาบันการเงินตอนนี้ลำบาก”

นายธรรศพลฐ์  กล่าวอีกว่า  แอร์เอเชียมีนโยบายปรับตัวทางธุรกิจหลังช่วงโควิด-19  นอกจากมากตรการป้องกันการแพร่ระบาดแล้ว  ยังมีบริการตู้เช็คอินให้กับผู้โดยสาร ซึ่งการให้บริการมีการเติบโตอย่างมาก  และเบื้องต้น  การปรับลดพื้นที่การทำงานในออฟฟิสไปครึ่งหนึ่ง โดยจะเปิดให้พนักงานแอร์เอเชียหมุนเวียนการเข้ามาทำงาน นอกจากเป็นการลดต้นทุนได้แล้ว การทำงานของพนักงานยังมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี เห็นได้จากการทำงาน WFH ในช่วงที่ผ่านมา นำสินค้าที่ให้บริการบนเครื่องบิน  อาทิ ขนม  ชานมไข่มุก มาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งให้พนักงานบนเครื่องบินเป็นผู้ให้บริการส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ โดยมีสาขาที่ให้บริการ 2 ที่  คือ  ดอนเมืองและมักกะสัน  ซึ่งสร้างรายได้และดูแลพนักงานกลุ่มให้บริการจำนวน 200 คนได้เป็นอย่างดี  ซึ่งยอดขายกว่า 1,200-1,500 แก้วต่อวัน

เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถรับงานนอกได้เพื่อให้มีรายได้เสริม  เปิดแพลตฟอร์มให้พนักงานในแอร์เอเชียขายสินค้าภายในแอร์เอเชียเพื่อเพิ่มรายได้ซึ่งสร้างรายได้เสริมให้กับพนักงานถึง 3,000 บาทต่อเดือน โดยพนักงานไม่มีต้นทุนใดๆเลย เพราะเป้าหมายต้องการให้พนักงานยังมีรายได้เลี้ยงตัวเอง  นอกจากนี้  แอร์เอเชียยังเปิดโปรโมทชั่น  ตั๋วบินบุฟเฟต์  ซึ่งเปิดให้ซื้อแล้วซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี  ทั้งนี้  แอร์เอเชีย  ยังร่วมกับไปรษณีไทย  ในการให้บริการส่งสินค้าจากฟาร์ม  อนาคตจะขยายให้บริการในอาเซียน  ซึ่งจะร่วมกับไปรษณีทุกประเทศในการเชื่อมโยงการให้บริการขนสส่งและซื้อ-ขายสินค้า

อย่างไรก็ดี ล่าสุดแอร์เอเชียยังเปิดให้บริการเที่ยวบินใหม่นอกจากดอนเมืองแล้ว  ยังมีจากสุวรรณภูมิไป 4 จังหวัด คือ  เชียงใหม่  กระบี่  ภูเก็ต  และสุราษฎร์ธานี  จะเริ่มเปิดให้บริการได้วันที่  25 กันยายน 2563 นี้  โดยมีเครื่องบินให้บริการ  5 ลำ  ส่วนนโยบายลดคนไม่มีแน่นอน แม้ที่ผ่านมาจะมีนโยบายในการปรับลดรายได้ของพนักงานที่มีรายได้สูง  แต่สำหรับพนักงานที่รายได้ 20,000 บาทต่อเดือน แอร์เอเชียไม่ได้ปรับลดรายได้แต่อย่างไร  สำหรับการที่แอร์เอเชียไม่ปรับลดพนักงาน  เนื่องจากเห็นว่าในปี 2564 มองว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว

 

และปีถัดไปแอร์เอเชียมองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น  การเดินทาง การท่องเที่ยวจะกลับมา ซึ่งแอร์เอเชียจะเป็นผู้ให้บริการที่มีความพร้อมให้บริการมากที่สุด เพราะหากพนักงานให้บริการสายการบิน  นักบิน  หากจะเข้ามาให้บริการได้นั้นจะต้องผ่านการอบรมนาน ดังนั้น  เราพร้อมที่จะเดินหน้าผ่านวิกฤตินี้ให้ได้เชื่อว่า 1 ถึง 1 ปีครึ่งน่าจะฟื้นกลับมาได้  ส่วนโมเดลเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวภายในประเทศไทยนั้น  โดยจะมีแผนใช้กับจังหวัดภูเก็ตนั้น  แอร์เอเชียพร้อมเปิดให้บริการ ซึ่งก็ต้องรอรายละเอียดอีกครั้ง  และหากจะขยายให้กับนักท่องเที่ยวในยุโรป เอเชีย  แอร์เอเชียมีความพร้อมเต็มที่ที่จะให้บริการชาร์เตอร์ไฟลท์เนื่องจากมีเที่ยวบินและใบอนุญาตบินพร้อมที่จะให้บริการ