แค่สมาร์ทไม่เพียงพอ ระบบขนส่งยุค 4.0 ต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งแบบ Automation

28 ส.ค. 2563 | 07:47 น.

ปี 63 นี้ แทบทุกธุรกิจนั้นกำหนดทิศทางและอนาคตของธุรกิจได้ยากมาก ผลพวงจากโควิด 19 ลากยาวมาเรื่อย แม้สถานการณ์ในบ้านเราจะเริ่มดีขึ้นในเรื่องไวรัส แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นไปแล้ว ซึ่งได้สร้างความเสียหายบอบช้ำต่อธุรกิจต่าง ๆ ไปไม่น้อย ทำให้อาจต้องใช้เวลาสักระยะทีเดียวในการฟื้นฟูสิ่งต่าง ๆ ในภาคส่วนของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์นั้น เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่เป็นหัวใจสำคัญของไทยเราในขณะนี้ ที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มธุรกิจนี้มีบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางส่วนที่ได้รับประโยชน์จากการเข้ามาของโควิด ซึ่งกลุ่มที่ได้รับประโยชน์นั้น มีการใช้เทคโนโลยี Automation เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้ปรับตัวกับทุกอย่างได้เร็ว จนทำให้กลายเป็นว่าช่วงนี้เป็นโอกาสทองของธุรกิจไปเลย

แค่สมาร์ทไม่เพียงพอ ระบบขนส่งยุค 4.0 ต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งแบบ Automation

คุณสามารถ แย้มบางแก้ว CEO ของ บริษัท เพกาซัส เออีซี จำกัด บริษัทผู้ประกอบการด้านระบบ Automation อุตสาหกรรมระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ได้เผยว่า ในเรื่องของระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์นั้นมีปัญหาหลากหลาย อย่างเรื่องของการขนส่งทางเรือ ในอดีตนั้นยังไม่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแบบเต็ม ระบบ Automation ก็ยังถือว่ามีใช้กันน้อย ถ้าเทียบกับของต่างประเทศ การขนส่งทางน้ำของไทย ต้องรอเอกสารและการตรวจสอบตามกระบวนการต่าง ๆ รวมแล้วประมาณ 7 ชั่วโมงกว่าจะสามารถเอาของลงเรือและส่งต่อไปยังภาคขนส่งอื่นต่อไป ปัญหาแบบนี้ค้างคามานาน ในขณะที่ประเทศในแถบอาเซียนของเราก็พัฒนาเรื่องระบบการขนส่งและโลจิสติกส์มากขึ้น จึงเป็นโจทย์ใหม่ของอุตสาหกรรมระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทยที่จะต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด

ในช่วง 7 - 8 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอกชนในอุตสาหกรรมระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย เริ่มที่จะแชร์ข้อมูลกัน และพยายามสร้างระบบเชื่อมโยงถึงกัน ให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น คล่องตัวขึ้นและเป็นมาตรฐานมากขึ้น อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในกลุ่ม Automation เริ่มได้รับความสนใจที่จะนำมาใช้สร้างเป็นมาตรฐานใหม่ให้เกิดความเหมือนกัน จะได้เชื่อมโยงธุรกิจถึงได้ อุปกรณ์อย่างเครื่องรัดกล่อง ที่ต้องใช้คู่กันกับสายรัดพลาสติก ถูกนำมาใช้เพื่อการทำงานที่เร็วขึ้นเป็นมาตรฐานในการแพคสินค้ามากขึ้น เครื่องพันพาเลท (Pallet Wrapping Machine) ที่จะช่วยพันเก็บสินค้าอย่างแน่นหนาและเป็นระเบียบ ก็ถูกผลักดันให้มีการนำมาใช้กันมากขึ้นตั้งแต่ภาคการขนส่งต้นน้ำ ไปยังปลายน้ำที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจุดนั้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ทำให้ในวันนี้อุตสาหกรรมระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย เริ่มปรับเข้าสู่ความเป็น "สมาร์ท" แต่ถึงอย่างไรก็ต้องยอมรับว่ายังไม่เต็มตัวนัก

แค่สมาร์ทไม่เพียงพอ ระบบขนส่งยุค 4.0 ต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งแบบ Automation

คุณกานต์ ตันติชวลิต IT & Marketing Manager ของ บริษัท เพกาซัส เออีซี จำกัด  ได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมขนส่งของไทยยังไม่ถือว่าเข้าสู่ความเป็น "ดิจิทัล" เต็มตัว มีความเป็นระบบสมาร์ท แต่ก็ยังไปไม่สุด ส่วนหนึ่งเพราะทางภาครัฐยังไม่มีการสนับสนุนด้านการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะ รวมถึงเรื่องของระบบการขนส่งทางรางและทางน้ำอย่างจริงจัง  ซึ่งตรงนี้ก็เข้าใจได้เพราะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดังที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องใช้งบประมาณสูงมาก การจะ Transform จะเปลี่ยนแค่อุตสาหกรรมระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไม่ได้ หากจะ Transform ต้องเปลี่ยนกันทั้งประเทศในหลายภาคส่วน ตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับภาครัฐเอง

ในส่วนของภาคเอกชนนั้นมีความคล่องตัวกว่าจึงเริ่มดำเนินการ Transform ตัวเองกันก่อน แม้ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลภาพใหญ่อาจจะยังไม่รองรับแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งระบบ ผู้ประกอบการภาคเอกชนจึงเลือกที่จะขยับทีละนิดผ่านเทคโนโลยี Automation System การมีระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยนับเป็นจุดเริ่มต้นการลงทุนที่จะขยับปรับเปลี่ยนตัวเองไปทีละนิด เพื่อให้องค์รวมของธุรกิจทั้งหมดสามารถขยับไปสู่การเป็นสมาร์ททรานสปอร์ตและสมาร์ทโลจิสติกส์ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

แค่สมาร์ทไม่เพียงพอ ระบบขนส่งยุค 4.0 ต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งแบบ Automation

เราจะเห็นว่า วันนี้การ Transform ธุรกิจอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่กลายเป็นความจำเป็นที่ต้องทำแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการในส่วนของเอกชนต่าง ๆ จะนั่งรอภาครัฐมาขยับขับเคลื่อนให้กับเราไม่ได้ เราจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่ออยู่รอดในการต่อสู้แข็งขันในศึกนี้ ในระยะ 2 - 3 เดือนที่ผ่านมาช่องที่โควิด 19 กำลังระบาดในไทยนั้น พฤติกรรมของผู้บริโภคในการจับจ่ายซื้อของเปลี่ยนมาทางออนไลน์เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะห้างร้านเปิดไม่ได้ นั่นกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ภาคการขนส่งต้องทำงานกันอย่างรวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายที่มีการวางระบบ Automation มีการปรับการทำงานในองค์กรให้กลายเป็นดิจิทัลเต็มตัว เลยกลายเป็นได้ประโยชน์จากสถานการณ์วิกฤตนี้ เพราะสามารถที่จะทำการขนส่งได้ต่อเนื่องอย่างไม่มีสะดุด รองรับการสั่งซื้อออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

นี่จึงถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับธุรกิจขนส่งว่า วันนี้เราจะนั่งรอภาครัฐไม่ได้ ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนขยับตนเอง อย่างน้อย ๆ เริ่มต้นจากเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานหันมาใช้เทคโนโลยี Automation System มากขึ้น ก็จะช่วยลดต้นทุนธุรกิจลงไปได้บ้าง นอกจากลดต้นทุนธุรกิจได้แล้วยังลดเวลาการทำงาน อีกทั้งยังสามารถที่จะสร้างมาตรฐานให้กับบริษัทตนเอง จนสามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับธุรกิจต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันได้ด้วย ยุคนี้แค่สมาร์ทไม่เพียงพอแล้ว แต่จะต้องเป็นอัตโนมัติที่รวดเร็วติดสปีดด้วยถึงจะอยู่รอดได้

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย https://incontent.co
สนับสนุนข้อมูลการเขียนบทความโดยผู้เชี่ยวชาญรับเขียนบทความ และ Writer Thailand