รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?

26 ส.ค. 2563 | 00:25 น.

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร? : คอลัมน์ทางออกนอกตำรา ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3604 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค.2563 โดย... บากบั่น บุญเลิศ

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม
รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?


     ขณะที่การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท กำลังเข้มข้น ความขัดแย้งทางการเมืองคุกรุ่น การลงทุนภาครัฐผ่านการประมูลงานของหน่วยงานต่างๆ ก็กำลังถูกผู้บริหาร “แผ้วถางทางสะดวก” กันอย่างคึกคักและครึกโครม

     ผมไม่ได้บอกว่า การแผ้วถางทางสะดวกนั้น...เพื่ออะไร ...เพื่อใคร แต่รัฐบาลไทย ผู้คนสามารถใช้วิจารณญาณและสืบค้นเอาก็จะรู้ถึงความเป็นจริง

     ในทางธรรม และหลักกฎหมายเขาว่า... "เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ" หรือ "intention may be inferred from a person's action" แปลง่ายๆ ว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"

 

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?

     มาดูการกระทำที่บ่งบอกถึงเจตนาบางประการ...ที่ท่านอาจจะตาสว่าง

     การกระทำที่บ่งบอกเจตนาเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.2-1.4 แสนล้านบาท แก่เอกชนที่สนใจไปแล้ว 10 ราย ได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ของพ.ร.บ.ร่วมทุนภาครัฐและเอกชน แล้วมีมติให้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหรือทีโออาร์ใหม่ ท่ามกลางข้อกังขาว่าเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปจะเข้าทางใครเป็นพิเศษหรือไม่?

     โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) กับช่วงส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)วงเงินกว่า 1.2 แสนล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี โดยรัฐสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

     การประมูลโครงการนี้ เอกชนจะลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ - สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ) รวมถึงงานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า งานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดเส้นทางโครงการ

 

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฉีก! ทีโออาร์ ซ่อนเงื่อน รถไฟฟ้า "สายสีส้ม"
จับตากินคำโต รถไฟสายสีส้ม
“บีทีเอส” ดับเครื่องชน รถไฟฟ้าสายสีส้ม
“ITD” อ้าง รถไฟฟ้า“สายสีส้ม” เทคนิคขั้นสูง ทีโออาร์ อย่ายึดราคาประมูล
“อิตาเลี่ยนไทย” ทำพิลึก ประมูล รถไฟฟ้า สายสีส้ม เลิกเน้นราคา

 

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?

 

     จู่ๆ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หนึ่งในเอกชนผู้ซื้อซองร่วมลงทุนฯ ทำหนังสือร้องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ขอเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ โดยเสนอว่า ไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ทั้งศักยภาพบริษัท วิธีการทำงาน ความชำนาญการ ข้อเสนอทางเทคนิก โดยอ้างเรื่องความซับซ้อนและความยากของโครงการ

     สคร. แทงหนังสือไปให้ รฟม. ต่อมารฟม.ได้เรียกประชุมคณะกรรมการคัดเลือก มาตรา 36 ก่อนจะมีมติเห็นชอบตามที่ บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ที่ตอนนี้คนในวงการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเขาบอกว่า “เป็นเสือป่วย” เรียกร้อง

     ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.บอกว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ. 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563 ให้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกการประมูลใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิคในสัดส่วน 30% และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงินในสัดส่วน 70% และจะขยายเวลายื่นเอกสารประกวดราคาจาก 60 วัน เพิ่มไปอีก 45 วัน หรือเลื่อนการเสนอราคาในวันที่ 23 ก.ย. 2563 เป็นวันที่ 6 พ.ย. 2563 เพื่อให้เอกชนปรับปรุงข้อเสนอใหม่ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์

     ผู้ว่าฯ รฟม.ให้เหตุผลว่า การปรับเกณฑ์พิจารณา ก็เพื่อให้ตรงกับประกาศของคณะกรรมการนโยบาย PPP เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2563 เพราะคณะกรรมการมาตรา 36 ได้สรุปเงื่อนไขทีโออาร์ไปตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 ก่อนที่มีประกาศดังกล่าว และก่อนจะเสนอร่างประกาศ ออกหนังสือเชิญชวน รฟม.อาจจะยังไม่ได้ตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง ทำให้คิดไม่ครบถ้วน แต่มีการสงวนสิทธิ์ ให้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ แม้ว่าจะเปิดขายทีโออาร์ไปแล้ว 

 

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?



     ในวันพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 36 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS หนึ่งในบริษัทผู้ซื้อซอง ได้ยื่นหนังสือร้องคัดค้านถึง ผู้ว่าฯ รฟม. และคณะกรรมการ มาตรา 36 กรณีปรับเกณฑ์การพิจารณาขัดต่อพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ เอกชนรายนี้มีพันธมิตรเป็นจีนมีความเชี่ยวชาญการขุดอุโมงใต้ดิน สร้างรถไฟฟ้าบนดินด้วย กลับบอกว่า ให้สู้ราคากันเลย แต่ไม่สามารถทัดทานได้

     พอเห็นถึงความแปลกประหลาดในการประมูลโครงการ 1.2-1.4 แสนล้านบาทสายสีส้มแล้วหรือยังขอรับ

     การเปิดให้ใช้คะแนนทางเทคนิกมาเพิ่มน้ำหนักในการประมูลที่พิจารณาจากราคาเสนอต่อรัฐ เท่ากับเป็นการ ให้น้ำหนักในเรื่องกับดุลพินิจกับคณะกรรมการมากขึ้น และทำให้ “ราคาประมูล” ลดลงทันที 

     ผู้ว่าฯรฟม. บอกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ขัด พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ เนื่องจากในพ.ร.บ.จัดซื้อฯ ได้ระบุถึงวิธีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถนำข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินได้...จบมั้ย

  รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?

 

   ถ้าไม่จบมาดูนี่ นี่คือขั้นตอนในการเปิดซองประมูลโครงการสายสีส้ม 1.2-1.4 แสนล้านบาท

     (1) เปิดซองทั่วไป เดิมเกณฑ์พิจารณาว่า ผ่าน/ไม่ผ่าน “ใช้เหมือนเดิม”

     (2) เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค เดิมกำหนดคะแนนขั้นต่ำและประเมินว่า ผ่าน/ไม่ผ่าน หากผ่านก็ทิ้งคะแนนส่วนนี้ไป 
เกณฑ์ใหม่ที่ปรับแก้ จะไม่ทิ้งคะแนน คนที่ได้คะแนนผ่านทางเทคนิกไว้ว่าคะแนนจะมากหรือคะแนนน้อย มิได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะถือว่าผ่านเทคนิคเหมือนกัน ไปตัดสินที่ราคา แม้ว่าข้อเสนอทางเทคนิคที่สะท้อนถึงคุณภาพงานจะแตกต่างกันมากก็ตาม 

     (3) เปิดซองข้อเสนอทางการเงิน เดิมใครมากชนะ ของใหม่อาจจะไม่ใช่เสียแล้ว 

     (4) เปิดซองข้อเสนอพิเศษ คำถามคือ หลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนไป จะเข้าทางเอกชนรายใดเป็นพิเศษหรือไม่?...ผมม่ายรู้ครับ

     แต่ทางรฟม.ชี้แจงว่า วิธีการประเมินข้อเสนอที่ได้ปรับปรุงจะกำหนดให้คะแนนซองข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน คิดเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนนนั้น ซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนยังคงเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการตัดสินหาผู้ชนะการคัดเลือก 

 

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร?



     การปรับปรุงวิธีการประเมินดังกล่าวจึงมิได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบกับเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอรายใดรายหนึ่งแน่นอน

     รฟม.การันตีว่า การจัดทำข้อเสนอด้านเทคนิคของเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอราคา จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมูลค่าการก่อสร้างงานโยธาที่เอกชนจะขอรับการสนับสนุน รวมไปถึงผลตอบแทนที่จะมอบให้แก่ รฟม.

     ดังนั้น การประเมินหาผู้ชนะการคัดเลือกจึงควรพิจารณาร่วมกันทั้งด้านเทคนิค ซึ่งแสดงถึงศักยภาพ เทคโนโลยี และความน่าเชื่อถือของเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ รวมไปถึงด้านการลงทุนและผลตอบแทน

     แต่เอกชนผู้รับเหมา 8 รายใน 10 ราย บอกว่า การนำคะแนนทางเทคนิกมารวมไว้ในการประมูลคือการทำให้ราคาประมูลที่เอกชนจะเสนอแข่งกันลดลงแน่นอน...ครับ...

     ผมไม่รู้ว่า จะเชื่อใครระหว่างผู้รับเหมา กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ...

     แต่ผมเชื่อว่า....กรรมจะเป็นเครื่องชี้เจตนา....คุณละเชื่ออย่างไหน!