สร้างแน่ปี65 ! ต่อขยาย  “ด่วนรามอินทรา -สระบุรี”

23 ส.ค. 2563 | 13:42 น.

"บอร์ดกทพ." ไฟเขียว ปี2565 สร้าง "ทางด่วนใหม่ " ขยายเส้นทางจาก รามอินทรา  ออกวงแหวนไปนครนายก วิ่งยาวยันสระบุรี   104.7 กิโลเมตร  วงเงิน ก่อสร้าง7หมื่นล้าน เวนคืนอ่วมกว่า7,000 ล้าน ชู๊ตรถจากกรุงเทพฯ เทกระจาดออกนอกเมือง สร้างงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นอกจากรัฐบาลเน้นลงทุนระบบรางแล้ว โครงข่ายถนน  -สะพาน- ทางต่างระดับ -การก่อสร้างโครงการทางพิเศษ หรือ ทางด่วน เส้นใหม่ๆ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)  ยังจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจาก ความนิยม ผู้ใช้ทาง ยังคงเดินทางโดยรถยนต์  แต่มีคำถามตามมามากว่า หาก ลงทุน ระยะทางสั้นๆ ภายในเขตกรุงเทพมหานคร รับปริมาณรถจาก ที่หนึ่งมากองรวมกันอีกที่หนึ่ง ยอมทำให้เกิดปริมาณสะสมของจราจร รถติดเกิดความหงุดหงิดตามมาเหมือนขว้างงูไม่พ้นคอ  เม็ดเงิน ที่ถมลงไปเหมือนสูญเปล่า  สำหรับทางออก รัฐมีแผนพัฒนาโครงข่าย รับปริมาณรถเชื่อมโยงจากเมืองหลวง ข้ามออกนอกเมือง ร่นระยะเวลาการเดินทาง และกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาค อีกทั้งยังเกิดการจ้างงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศอีกด้วย  เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ กว่าจะเข็นออกประมูลได้แต่ละโครงการไม่ใช่เรื่องง่าย

ทั้งนี้  เมื่อวันที่20 สิงหาคม 2563ที่ผ่านมา คณะกรรมการ  การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(บอร์ดกทพ.) มีมติ เห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ. ) ว่าจ้าง บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอพซิลอน จำกัด เป็นที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการทางพิเศษฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ระยะทาง 104.7กิโลเมตร   วงเงิน 380 ล้านบาท เป็นเวลา  540 วัน  พร้อมกับเร่งลงนามในสัญญา โดยเร็ว เพื่อให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้  หาก ศึกษาออกแบบแล้วเสร็จ  จะสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างทันที  

 

โดยจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2  ช่วง  เริ่ม จาก ช่วงแรก กทพ. จะก่อสร้างจากส่วนต่อเชื่อมจากทางพิเศษฉลองรัช หรือ ทางด่วนสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก   บริเวณ ด่านจตุโชติ  จากนั้นมุ่งหน้า ออกไป   เข้าสู่พื้นที่เขตจังหวัดนครนายก ตลอดแนว ตัดผ่านพื้นที่โล่งว่าง ที่ดินการเกษตร ชาวบ้าน ระยะทางประมาณ 50กิโลเมตร  

 

 

 

ขณะ  ส่วนที่ 2 อีกกว่า 50กิโลเมตร  มีจุดเริ่มต้นจาก จุดสิ้นสุดโครงการช่วงแรก จากจังหวัด นครนายก  ตัดผ่านพื้นที่การเกษตรบ้านเรือนประชาชนที่ส่วนใหญ่ใช้ ทำเกษตรกรรม วิ่งมุ่งหน้าไ เข้าสู่เขตปกครองของจังหวัดสระบุรี   จะช่วยเพิ่มความสะดวก ประหยัดเวลาการเดินทางจากภาคตะวันออก และกรุงเทพฯไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม ระยะทาง 104.7 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) สำหรับจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อทางพิเศษฉลองรัชที่ด่านจตุโชติ บริเวณถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก มีแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันออก ตัดผ่านถนนหทัยราษฎร์ และถนนนิมิตใหม่  จากนั้น แนวสายทาง เลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดผ่าน  ถนนลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี บริเวณ กม. 22+500  ทางหลวงชนบท นย.3001 ถนนรังสิต-นครนายก บริเวณ กม. 59+800  มุ่งหน้า  ขึ้นไปทางทิศเหนือ  ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) บริเวณ กม.116 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3222 เชื่อมต่อกับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (สายบางปะอิน-นครราชสีมา) และทางเลี่ยงเมืองสระบุรี สิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ที่ กม.10+700 อำเภอแก่งคอย มีทางขึ้น-ลง 9 แห่ง  จะใช้เงินลงทุน 80,594 ล้านบาท มีค่าเวนคืนที่ดิน 7,395 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง 73,198 ล้านบาท ตามแผนจะเริ่มสร้างปี 2565 แล้วเสร็จในปี 2568

ข่าวที่เกี่ยวเนื่อง

 รื้อใหม่! มอเตอร์เวย์ “บางปะอิน-โคราช”  เส้นทางผ่านป่าสงวน

‘ม.เกษตร’ ยอมถอยกทพ.ลุย ‘ทางด่วนขั้นที่ 3- รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล’

"อิตาเลียนไทย"เขี่ยจีน คว้าสัญญา 3 ด่วนพระราม 3 – ดาวคะนอง

จบแล้ว! ปมสัญญายุติค่าโง่ทางด่วน ถอนฟ้องครบ 17 คดี

“BEM” ลั่นถอนฟ้องทุกคดี สัมปทานใหม่เริ่ม1มี.ค.

 

 

 

 

แหล่งข่าวจากกทพ. ประเมินว่า โครงการดังกล่าวมีความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 39,024.00 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุน (B/C) เท่ากับ 1.74 เท่า อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) เท่ากับ 17.90% ดังนั้นโครงการมีความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า 12%