ธุรกิจพลังงานปรับตัว รับ Prosumer

21 ส.ค. 2563 | 10:46 น.

ปตท. เผยเทรนด์ธุรกิจพลังงาน เร่งปรับตัวรับ Prosumer หันผนึกกำลังพ่ร์ทเนอร์ นำเทคโนโลยีดิจิทัล ต่อยอดโนวฮาวด์ สร้างธุรกิจใหม่ลดความเสี่ยง

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าบริหาร และกรรมการผู้จัดการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยในงานสัมมนาของหลักสูตร Digital Transformation For CEO รุ่น 2 ในหัวข้อ The Rapid Digital Transformation of The Leading Energy Business ซึ่งจัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ และบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ว่า จากทิศทางในอนาคตที่น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน จะถูกแทนที่ด้วยพลังงานทดแทน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ที่มีแนวโน้มที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะกลายเป็นผู้ผลิตเอง (Prosumer) เพิ่มขึ้นมากขึ้น บริษัทธุรกิจพลังงานจะมีการปรับตัวมากยิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ผนวกเข้ากับโนวฮาวด์ หรือความรู้ในองค์กรที่มี ไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ 

 

สิ่งที่จะได้เห็นในธุรกิจพลังงานคือ การจับคู่ธุรกิจมากขึ้น เช่น ปตท.เอง ก็ร่วมมือกับ บมจ. ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA Group) ผลิตสมาร์ทกริดในนิคมอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต่างๆ ก็จะดึงเทคโนโลยีดิจิทัล มาผนวกกับความรู้ในองค์กรที่มี ทำให้เกิดธุรกิจย่อยๆ เกิดเป็น Prosumer ผลิตกันเอง ซื้อขายกันเองเพิ่มมากขึ้น

สำหรับ ปตท.มีนโยบายที่จะนำมาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปพัฒนาต่อยอดในทุกส่วนธุรกิจ เป็น Digital for All ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมถึงได้ธุรกิจใหม่ๆ 

"ตอนนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว จะมานั่งพัฒนาเองทั้งหมดมันไม่ทัน ก็ต้องหาพาร์ทเนอร์ชิฟ โดยเราต้องเป็นแพลทฟอร์มให้รายย่อย เช่น ปั้ม ของปตท. ก็มีธุรกิจอื่นๆ มาเกี่ยว มีธุรกิจอื่นๆ เข้ามาเสริม มีวิสาหกิจชุมชน และอื่นๆ เข้ามา" นายอรรถพลกล่าวและว่า ขณะนี้ มีกว่า 20 แบรนด์ที่เข้ามาร่วมธุรกิจไปกับปั้ม ปตท.

 

ส่วนของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาเสริมกับองค์ความรู้ของ ปตท.ที่มี ขณะนี้ที่เห็นชัดเจน และต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่แล้วเช่น บริษัท AI and Robotics Ventures หรือ ARV ที่ให้บริการด้าน AI และ Robotics โดยตรง เป็นบริษัทย่อยภายใต้บริษัท อีพี-เทค เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดโดย ปตท.สผ. ซึ่งขณะนี้รับงานได้แล้ว 2-3 แห่ง

นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาเป็นโปรแกรม The Smoothsayer ที่สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร ว่ามีปัญหาหรือไม่ จะมีปัญหาเมื่อไร เพื่อทำการซ่อมบำรุงได้ทันท่วงที ซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนไปได้กว่า1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

เทคโนโลยีดิจิทัล ยังสามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำตลาด เช่น การประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในคาเฟ่ อเมซอน หรือสมาชิกของบูลการ์ด เพื่อจัดโปรโมชั่นได้ตรฝความต้องการของผู้บริโภค และยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบผู้สมัครเข้ารับแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน ที่สมัครเข้ามาปีละกว่า 2,500 ราย ในขณะที่ สามารถเปิดได้เพียงปีละ 400 สาขา

จากแนวโน้มธุรกิจพลังงานที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ กลุ่ม ปตท. มีการปรับเปลี่ยนทิศทางธุรกิจ ไปสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนมากขึ้น รวมถึงเพิ่มพอร์ตของนอลออย หรือธุรกิจน้ำมันให้มากขึ้น รวมทั้งพัฒนาแพลทฟอร์ตเพื่อรองรับพันธมิตร ที่สามารถเข้ามาซินเนอร์จี้ธุรกิจไปด้วยกัน ทั้งในส่วนของปั้มน้ำมัน ที่ผันตัวไปสู่มาร์เก็ตเพลส หรือ คอมมูนิตี้เซ็นเตอร์มากขึ้น รวมไปถึงการสร้างธุรกิจนิวเอสเคิร์ฟ เช่น การผลิตยา อาทิ ยาต้านมะเร็ง และผลิตภัณฑ์ด้านโภชนาการ(Nutrition) ให้มากขึ้น