อ่าน 5 ข้อเสนอเยาวชน "พรรคกล้า" สู่สภา ประชาธิปไตย

17 ส.ค. 2563 | 03:00 น.

พรรคกล้า เดินหน้าการเมือง ผลักดันนโยบายข้อเสนอ 5 ข้อ ผ่านเยาวชนคนรุ่นใหม่ ภายใต้กลุ่ม "คน Genกล้า"

จากสถานการณ์คนรุ่นใหม่ มีความตื่นตัว แสดงออกชัดเจนถึงความต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง ผ่านการจัดชุมนุมเวทีปราศรัยของม็อบ #เยาวชนปลดแอก #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และอื่นๆ เพื่อ เสนอขอเรียกร้องหลักและจุดยืนสำคัญ ในการขอให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุบสภา แก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่เป็นปัญหา นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ที่บริสุทธิ์โปร่งใส  พบอีกฝาก กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่อายุ 18 - 25 ปี ภายใต้ชื่อ "คน Genกล้า" ของพรรคการเมืองกล้า ที่มี นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรค (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ก็มีความเคลื่อนไหวเช่นกัน  ซึ่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 รวมตัวเข้าพบกรรมธิการวิสามัญ ที่รัฐสภา เพื่อเสนอความเห็นของกลุ่มรวม 5 ประเด็นสอดคล้อง ภายใต้ความเชื่อ "ประเทศไทยดีกว่านี้ ถ้าร่วมมือกัน" 

โดยนาย ปิยพล บุนนาค และนางสาววิลาสินี คุปต์นิรัติศัยกุล ได้นำเสนอประเด็น “การศึกษา” ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศ โดยแบ่งเป็นปัญหาเชิงคุณภาพ ทั้งในเรื่องคุณภาพของหลักสูตร และคุณภาพครู
 
ด้านนายเมธิส โลหเตปานนท์ กล่าวถึงกรณีศึกษาการเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กไทยว่า ไม่อยากให้เรียนแบบท่องจำ หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ควรปรับใหม่ ควรเรียนประวัติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบจากหลากหลายแหล่ง นำมาทำความเข้าใจถกกันและวิเคราะห์ แทนที่จะถามว่าสงครามเกิดปีไหน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

พรรคกล้า ติดอาวุธคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนแปลงประเทศ

กกต.รับรองพรรค"กล้า" เป็นพรรคการเมืองใหม่แล้ว

ขณะที่นายธนสรณ์​ จันทร์กระพ้อ เสนอเรื่องกระจายอำนาจปัญหาการรวมศูนย์อำนาจในระบบราชการ ที่ฝังรากลึกเป็นปัญหาที่มีผลกระทบกับคนไทยเยอะ วิกฤต COVID-19 ทำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการจัดการ ในช่วงแรกที่ส่งผลด้านลบต่อสังคม ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ 1. อำนาจทับซ้อนของส่วนกลาง และท้องถิ่น 2. ช้า เพราะเป็นการสั่งการจากบนลงล่าง 3. ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนเพราะคนปกครองไม่ใช่คนพื้นที่ ไม่รู้ความต้องการจริง 4. เปิดโอกาสคอรัปชั่นเพราะคนท้องถิ่นไม่มีโอกาสตรวจสอบ และ 5. ไม่ทันสมัยกับโลกสมัยใหม่

นอกจากนี้ นโยบายเลือกตั้งผู้ว่าเพื่อการกระจายอำนาจอย่างยั่งยืน โดยการทำ 3-4 จังหวัดนำร่อง คำณวนภาษี รายได้ คุณภาพของประชากร แล้วทำประชาพิจารณ์แล้วเลือกตั้งนำร่อง เมื่อครบ 4 ปีเอาสิ่งที่เรียนรู้มาปรับใช้เพื่อเลือกตั้งทั่วประเทศโดยต้องตีกรอบอำนาจของข้าราชการภูมิภาคเพราะส่วนท้องถิ่นอำนาจน้อยเกินไป และควรปฏิรูปภายใต้กรอบ e-gov เพื่อนำเทคโนโลยีให้ประชาชน เข้าถึงข้อมูล เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับส่วนราชการมากขึ้น
 
นายจักรกฤษณ์ จีวะระพุทธ และนายธิปก สกุลณะมรรคากล่าวถึงประเด็นการท่องเที่ยว ว่า 55% ของคนไทยตอนนี้ไม่อยากให้ต่างชาติมาคนไทยไปเที่ยวเมืองนอกไม่ได้ควรกระตุ้นให้เค้าใช้เงินในไทยดีกว่าการสร้างแรงจูงใจให้เที่ยวไทย โดยพลิก COVID เป็นโอกาส

นายพีรเดช มุขยางกูร นำเสนอเรื่องสตาร์ทอัพ โดยหยิบยกปัญหาผู้ประกอบการว่าไม่มีพื้นที่ให้กับบริษัทขนาดเล็กไม่สามารถระดมทุนมาสู้กับบริษัทใหญ่ได้ดังนั้นจึงควรส่งเสริมในคน ไม่ใช่ไอเดีย ดึงคนกลุ่มนี้เข้ามาเพิ่มความรู้ เตรียมความพร้อม ให้เงินทุนสนับสนุน
 
ด้านนายอัครชัย ชัยมณีการเกษ นำเสนอถึงปัญหา แรงงานไทยและผู้ลี้ภัยโดยมองว่าเราไม่ควรมองครกลุ่มนี้เป็นภาระแต่เป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการคัดกรองและการให้สถานะผู้ลี้ภัย ควรกำหนดกรอบระยะเวลาให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้ผู้ลี้ภัยอยู่ในช่องโหว่นานเกินไป อย่างไรก็ตามเมื่อตัดสินไม่ให้ควรจะมีสิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่เด็ดขาดทีเดียวเมื่อตัดสินให้อยู่ก็ควรทำงานได้จะทำให้ความเป็นอยู่ผู้ลี้ภัยดีขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ประเทศไทยจะมีแรงงานมากขึ้นเพราะปัจจุบันประเทศไทยกำลังเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น แรงงานน้อยลงดังนั้นควรให้สิทธิพวกเขาในการทำงาน

ข้อมูล : เพจพรรคกล้า - KLA Party