“สาระ ล่ำซำ”ประเมินครึ่งปีหลังอัตราเติบโตลดลงระหว่าง 2 ถึง 5%

03 ส.ค. 2563 | 21:30 น.

“สาระ ล่ำซำ”นายกสมาคมประกันชีวิตไทยเผยเบี้ยรับรวมครึ่งปีแรกติดลบ 3.25%

“สาระ  ล่ำซำ”นายกสมาคมประกันชีวิตไทยชี้  6ความท้าทายในปี 63 -64 “ อัตราดอกเบี้ยต่ำ-มาตรฐานIFRS-สงครามการค้า-กฎระเบียบใหม่ -การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้งวิถีใหม่-โครงสร้างประชากร-5G”ขณะที่โควิดเป็นทั้งปัจจัยลบและหนุนเร่งให้ธุรกิจพัฒนาบริการ-ผลิตภัณฑ์พร้อมการปรับตัวด้านเทคโนโลยี แพลตฟอร์มและ โมเดลธุรกิจใหม่ตอบโจทย์ความต้องการและเข้าถึงผู้บริโภค     -เผยเบี้ยรับรวมครึ่งปีแรกติดลบ 3.25% -ทั้งช่องทางนายหน้า-โทรศัพท์-ดิจิทัลและอื่นๆเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน    

 “สาระ ล่ำซำ”ประเมินครึ่งปีหลังอัตราเติบโตลดลงระหว่าง 2 ถึง 5%

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึง แนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตไทยในครึ่งหลังของปี 2563 โดยกล่าวว่า สมาคมประกันชีวิตไทยคาดการณ์ว่าเบี้ยประกันภัยรับรวมจะมีการปรับตัวลดลงมากกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเติบโตลดลงอยู่ระหว่าง 2 ถึง 5% คิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 5.8-6แสน ล้านบาท สอดคล้องกับการคาดการณ์อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของประเทศที่มีการปรับลดลงประมาณ  6% (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แต่หากภายหลังรัฐบาลมีการผ่อนคลายมาตรการกำกับในการควบคุมไวรัสโควิด -19  รวมถึงสถานการณ์ระบาด ในหลายประเทศมีอัตราผู้ติดเชื้อลดลงในระดับที่ควบคุมได้ ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ธุรกิจประกันชีวิตก็จะมีโอกาสเติบโตได้ เนื่องจากประชาชนเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตและวางแผนประกันสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 
ส่วนทิศทางผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น ภาคธุรกิจเริ่มทยอยปรับลดผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์ที่มีการการันตีผลตอบแทนออกจากตลาด เหตุเพราะภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาคธุรกิจหาผลตอบแทนให้ลูกค้าได้ยากขึ้น ซึ่งภาคธุรกิจมองว่าแนวโน้มผลิตภัณฑ์นับจากนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ควบการลงทุน Universal Life , Unit Linked , หรือ Participating Policy โดยเน้นการลงทุนตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับได้ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองระยะยาวและประกันสุขภาพ

 “สาระ ล่ำซำ”ประเมินครึ่งปีหลังอัตราเติบโตลดลงระหว่าง 2 ถึง 5%

อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2563 - 2564 ภาคธุรกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย อาทิ สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกหลังไวรัสโควิด – 19 ระบาดยังคงมีความความเปราะบาง ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีแนวโน้มที่เกิดจุดต่ำสุดใหม่ได้อีก (New low-Yield) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตในทุกมิติ ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตต้องเร่งผนึกกำลังสร้างเกาะป้องกัน และจัดทำแนวทางที่จะบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังมีเรื่องมาตรฐานรายงานทางการเงิน IFRS 17 ที่จะถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ปี 2567 ส่งผลให้บริษัทต้องลงทุนเม็ดเงินจำนวนมากทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ฯ กระบวนการทำงานและบุคลากรที่ปรึกษาในการจัดทำ IFRS 17 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสังคม (Environment Change) ทั้งจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนโครงสร้างประชากร (Aging Society) และการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G 6G ทั้งหมดนี้จะเป็นตัวผลักดันให้รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งธุรกิจประกันชีวิตจะต้องเตรียมพร้อมและจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้  
สำหรับปัจจัยส่งเสริมที่เป็นตัวสนับสนุนให้ธุรกิจประกันชีวิตในปี 2563-2564 มีการเติบโต ปัจจัยแรกมาจากภาครัฐ สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมาทำให้ประชาชนหันมาตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพมาใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและบรรเทาผลกระทบให้กับบริษัทประกันชีวิต เช่น การปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การปรับปรุงร่างประกาศเสนอขายให้เป็น Digital face to face เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการเสนอขายให้กับตัวแทนประกันชีวิตมากขึ้น 
ปัจจัยที่สองมาจากภาคธุรกิจ ที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารช่องทางการขายและการบริการให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ปัจจุบัน เช่น การพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบบ Digital และการบริหารผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกทั้งยังมุ่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลาย ให้สามารถตอบสนองความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่เน้นการให้ความคุ้มครอง รวมถึงพัฒนาสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง 
 

 “สาระ ล่ำซำ”ประเมินครึ่งปีหลังอัตราเติบโตลดลงระหว่าง 2 ถึง 5%

นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติม ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด แต่ภาคธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีความแข็งแกร่ง และสามารถแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยมีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ภาคธุรกิจเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งระบบเทคโนโลยี แพลตฟอร์มที่ให้บริการ และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ ถือเป็นผลกระทบในเชิงบวกกับธุรกิจประกันชีวิตที่ทำให้ได้พัฒนาตัวเอง เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง
ที่ผ่านมา ผลดำเนินงาน 6 เดือนแรกปี 2563 (มกราคม – มิถุนายน)ธุรกิจประกันชีวิตมีผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 285,942.47ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตลดลง 3.2% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ จำนวน 76,196.28 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลง 9.29% และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน 209,746.19 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลง0.88% และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิต  81% สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย 
(1) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 49,559.58 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.77%
(2) เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 26,636.70 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลง 24.55%
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับตามช่องทางการจำหน่าย ดังนี้
อันดับ 1    การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 142,246.06 ล้านบาท สัดส่วน 49.75%
หรือเติบโตลดลง 1.10%เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2     การขายผ่านธนาคาร จำนวน 116,580.46 ล้านบาท สัดส่วน 40.77%
หรือเติบโตลดลง7.35% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3    การขายผ่านช่องทางนายหน้า จำนวน 13,446.58 ล้านบาท สัดส่วน  4.70%
    หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 1.40% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4    การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ จำนวน 6,942.73 ล้านบาท สัดส่วน 2.43%
    หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 3.92% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 5     การขายผ่านช่องทางดิจิทัล 328.57 ล้านบาท สัดส่วน  0.11%    
    หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 88.01% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 6     การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ จำนวน 23.26 ล้านบาท สัดส่วน 0.01%
    หรือเติบโตลดลง 8.89% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 7    การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ 6,374.79 ล้านบาท สัดส่วน 2.23%
    หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 9.53% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา

 “สาระ ล่ำซำ”ประเมินครึ่งปีหลังอัตราเติบโตลดลงระหว่าง 2 ถึง 5% ทั้งนี้ อัตราการเติบโตที่ลดลงในช่วงครึ่งแรก ปี 2563 เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เกิดมาตรการป้องกันระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง ๆ ทำให้ขาดสภาพคล่อง หลายธุรกิจปิดตัวลงมีคนจำนวนมากว่างงาน สูญเสียรายได้ ผู้บริโภคต้องปรับตัวโดยการประหยัดรายจ่ายส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นเดียวกับธุรกิจประกันชีวิต โดยเฉพาะช่องทางตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ไม่สามารถออกไปเสนอขายด้วยวิธี face to face ได้ ซึ่งทางสมาคมได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในการแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยการเสนอแนวทางการเสนอขายแบบ Digital face to faceที่ให้ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เสียงและภาพให้ถือเสมือนเป็นการพบลูกค้า ในระหว่างสถานการณ์จำเป็น และได้รับความยินยอมจากลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจที่ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางธนาคารลดลง ภาวะความกดดันจากเรื่องมาตรฐานรายงานทางบัญชีและการเงิน IFRS 17 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการเผชิญกับอัตราความเสียหายจากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย (Fraud & Abuse)สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกทั้งสิ้น

 “สาระ ล่ำซำ”ประเมินครึ่งปีหลังอัตราเติบโตลดลงระหว่าง 2 ถึง 5%